ทำไมสุนัขถึงชอบนอนอาบแดด

ทำไมสุนัขถึงชอบนอนอาบแดด

บทนำ

บทความนี้จะมาช่วยไขข้อข้องใจให้กับคุณผู้อ่านฟังว่า “ทำไมสุนัขถึงชอบนอนอาบแดด” น่าจะมีคนเลี้ยงสุนัขหลายคนรู้สึกว่า ทำไมสุนัขของฉันถึงมีนิสัยชอบนอนอาบแดดกันจังเลยนะ แดดมันมีอะไรดีอย่างนั้นเหรอ

ถ้าเป็นตอนหนาวๆ แล้วไปนอนอาบแดด ก็ยังเข้าใจว่าที่สุนัขทำไปก็เพื่อทำให้ร่างกายของตัวเองมีความอบอุ่น แต่ทำไมในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว สุนัขยังถึงไปนอนตากแดดกันอีกละ พวกมันไม่รู้สึกร้อนบ้างเหรอ

โดยบทความนี้จะมาบอกกับคุณผู้อ่านว่า ทำไมสุนัขถึงชอบอาบแดด แสงแดดมีประโยชน์ต่อร่างกายของสุนัขหรือเปล่า และแสงแดดมีโทษอะไรต่อร่างกายของสุนัขบ้าง

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

สุนัขชอบนอนอาบแดดในตอนเช้า

โดยธรรมชาติของสุนัขพวกมันมักจะชอบแสงแดดในช่วงเช้าๆ หรือช่วงเวลาประมาณ 6 – 8 โมงเช้า ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนั้นแดดจะมีความอบอุ่นกำลังดีไม่ร้อนมากจนเกินไป

ถ้าสุนัขได้นอนอาบแดดในช่วงเวลานี้ จะทำให้สุนัขรู้สึกผ่อนคลายและสบายตัวเป็นอย่างมาก อีกทั้งแสงแดดในช่วง 6 – 8 โมงเช้า ยังมีส่วนช่วยให้เส้นเลือดของสุนัขขยายตัว ซึ่งมันจะส่งผลทำให้เลือดลมในร่างกายของสุนัขไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น

รวมถึงแสงแดดในยามเช้ายังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ระดับเซโรโทนิน (Serotonin) ในร่างกายของสุนัขทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งฮอร์โมนเซโรโทนินจะมีส่วนช่วยให้สุนัขรู้สึกผ่อนคลายคลายความเครียดลงได้

ประโยชน์ของการให้สุนัขนอนอาบแดด

แล้วทำไมสุนัขถึงชอบไปนอนอาบแดดในช่วงเวลาที่แสงแดดร้อนจัดละ

จริงๆ แล้วสุนัขก็สามารถรับรู้ได้ว่า พื้นที่ที่พวกมันนอนอาบแดดอยู่นั้น มีความร้อนมากแค่ไหนกัน ถ้าสุนัขรู้สึกว่าพื้นที่ที่พวกมันนอนอยู่มีแสงแดดที่ร้อนจัด

พวกมันก็จะลุกออกจากที่ตรงนั้น แล้วไปกินน้ำเพื่อเป็นการลดอุณหภูมิในร่างกายของพวกมัน เสร็จแล้วพวกมันก็จะไปหาพื้นที่ร่มๆ เพื่อทำการนอนต่อ

แต่ก็มีเหมือนกันที่สุนัขอาจจะนอนอาบแดดจนลืมตัว พวกมันอาจจะเพลิดเพลินกับการนอนอาบแดด จนลืมไปแล้วว่าพื้นที่ที่มันนอนอยู่มีแสงแดดที่ร้อนจัด

ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มักจะเกิดจากการที่สุนัขนอนอาบแดดแล้ว แสงแดดจะค่อยๆ เพิ่มความร้อนมากขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละนิด จนสุนัขไม่รู้ตัวว่าพื้นที่ที่พวกมันนอนอยู่มีความร้อนที่สูงขึ้น

ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้สุนัขของคุณมีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคลมแดด หรือโรคฮีทสโตรกได้ง่าย ดังนั้นคุณต้องคอยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขของคุณนอนในที่ที่มีแสงแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป

แสงแดดมีประโยชน์ต่อร่างกายของสุนัขหรือเปล่า

จากที่กล่าวไปข้างต้น สุนัขจะได้รับประโยชน์ของแสงแดดต่อเมื่อเป็นแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้า หรือช่วงเวลาประมาณ 6 – 8 โมงเช้า ในช่วงเวลานี้แสงแดดยังเป็นแสงอุ่นๆ ไม่ร้อนจัดจนเกินไป

แสงแดดอ่อนๆ เหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของสุนัขผลิตเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีส่วนช่วยให้สุนัขของคุณรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดลงได้ และยังมีส่วนช่วยบำรุงผิวหนังของสุนัข ทำให้ขนของสุนัขนุ่มลื่นอยู่เสมออีกด้วย

ถ้าเป็นไปได้คุณควรให้สุนัขของคุณได้สัมผัสกับแสงแดดอุ่นในช่วงยามเช้าเดือนละประมาณ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 – 15 นาทีจะกำลังดีเลย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่คุณจะให้สุนัขของคุณไปเดินเล่นนอนตากแสงแดดอ่อนๆ ได้นั้น คุณต้องตรวจสอบดูว่า สุนัขของคุณเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ห้ามคุณพาสุนัขไปเดินตากแดดโดยเด็ดขาด

โทษของการให้สุนัขนอนอาบแดด

อันตรายของการให้สุนัขนอนอาบแดดเป็นเวลานานๆ

การให้สุนัขของคุณนอนตากแดดในที่ที่มีแสงแดดร้อนจัดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผลเสียดังต่อไปนี้

  • ทำให้สุนัขผิวไหม้แดดได้

ในแสงแดดที่ร้อนจัดจะมีรังสีอัลตร้าไอโอเลต ซึ่งรังสีดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อผิวหนังของสุนัข จนทำให้ผิวหนังของสุนัขเกิดการไหม้แดดขึ้นมาได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสุนัขสายพันธุ์ขนสั้น กับสุนัขที่มีขนสีขาวทั่วทั้งตัว สุนัขเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังไหม้ได้ง่าย ถ้านอนตากแดดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมถึงอาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการสุนัขของคุณป่วยเป็นโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นมาได้

  • ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคฮีตสโตรก หรือโรคลมแดดได้

การที่สุนัขได้รับแสงแดดที่แรงจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายของสุนัขไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ซึ่งมันจะส่งผลทำให้สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคลมแดดได้ง่ายกว่าปกติ

สำหรับโรคลมแดด หรือโรคฮีตสโตรกในสุนัขนั้น ถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก สุนัขของคุณอาจจะเสียชีวิตลงได้ทันที ถ้าคุณพาสุนัขของคุณไปรักษาไม่ทัน

  •  เสี่ยงต่อการเป็นภาวะขาดน้ำ

การที่คุณปล่อยให้สุนัขของคุณนอนตากแดดเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของสุนัข ทำให้สุนัขของคุณเกิดเป็นภาวะขาดน้ำขึ้นมาได้

ซึ่งภาวะขาดน้ำจะส่งผลกระทบต่างๆ ต่อร่างกายของสุนัขไม่ว่าจะเป็นจมูกแห้ง ปากแห้ง ผิวหนังแห้งเหี่ยว หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งสภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของสุนัขโดยตรง จนทำให้สุนัขเกิดอาการช็อคและเสียชีวิตลงได้