เมื่อสุนัขมีอาการเดินเซ

อาการเดินเซในสุนัข

บทนำ

อาการเดินเซของสุนัขจะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันได้แก่

แบบที่ 1 sensory (proprioceptive)

เป็นอาการเดินเซที่เกิดจากไขสันหลังของสุนัข ถูกกดทับอย่างช้าๆ อาการดังกล่าวจะทำให้สุนัขวางเท้าผิดไปจากปกติ รวมถึงจะทำให้ขาของสุนัขค่อยๆ อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ

แบบที่ 2 vestibular  

อาการเดินเซรูปแบบนี้จะเกิดจาก เส้นประสาทการทรงตัวหูชั้นในไปสู่สมองของสุนัขถูกทำลายลง ซึ่งมันจะส่งผลทำให้การวางตำแหน่งศีรษะ

และลำคอของสุนัขมีการเปลื่ยนแปลงไปจากปกติ จนทำให้สุนัขมีอาการเดินตัวเอียง หกล้ม หรือกลิ้งตัวเดิน

แบบที่ 3 cerebellar

รูปแบบนี้จะเกิดจากการที่การเคลื่อนไหวของศีรษะ ลำคอ และขาของสุนัขทำงานไม่ประสานกัน จนส่งผลทำให้สุนัขเดินก้าวขากว้างความปกติ รวมถึงสุนัขยังมีอาการสั่นที่บริเวณศีรษะและลำตัวร่วมด้วย

อาการเดินเซในสุนัขมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน

เมื่อสุนัขมีอาการเดินเซจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

นอกจากอาการต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สุนัขยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น

  • สุนัขจะมีอาการขาอ่อนแรง
  • อาการขาอ่อนแรงอาจจะเกิดขึ้นกับขาข้างใดข้างหนึ่งของสุนัข หรือบางทีอาจจะเกิดกับขาทั้งสี่ข้างของสุนัขเลยก็ได้เหมือนกัน
  • ศีรษะของสุนัขจะเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  • สุนัขจะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
  • สุนัขจะมีอาการเดินหกล้มอยู่บ่อยๆ
  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึม รวมถึงมีอาการง่วงนอนร่วมด้วย
  • สุนัขจะมีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อยู่เป็นประจำ
  • สุนัขจะมีอาการวิงเวียนศีรษะอยู่เป็นประจำ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการเดินเซ

  • สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
  • ร่างกายของสุนัขเสื่อมถอยลง
  • สุนัขติดเชื้อไวรัสบางประเภท
  • สุนัขป่วยเป็นโรคมะเร็ง
  • มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันของสุนัข
  • สุนัขได้รับสารพิษบางประเภท
  • หูชั้นในของสุนัขเกิดการติดเชื้อ
  • ไขสันหลังของสุนัขเกิเการเสื่อมถอยลง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะทำการสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขว่าอาการอะไรบ้างแล้ว สุนัขมีอาการเหล่านั้นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของสุนัขบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ควบคู่กับการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ไปที่กระดูกสันหลัง กับกล้ามเนื้อของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ระบบปลายประสาท ไขสันหลัง และสมองของสุนัขยังทำงานเป็นปกติดีอยู่หรือไม่
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่ช่องท้อง ตับและไตของสุนัข เพื่อดูว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นมาหรือเปล่า

วิธีรักษาอาการเดินเซในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจออย่างเช่น

  • ถ้าพบว่าสุนัขได้รับสารพิษบางประเภท ก็จะทำการล้างสารพิษ ให้ออกไปจากร่างกายของสุนัข
  • ถ้าตรวจพบว่าหูชั้นในของสุนัขเกิดการติดเชื้อ ก็จะทำการรักษาหูของสุนัข ด้วยยากำจัดเชื้อชนิดต่างๆ ตามที่ตรวจพบเจอ
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุนัขในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่ให้กับคุณ
  • ถ้าตรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการเดินเซ เกิดจากไขสันหลังของสุนัข เมื่อรักษาเสร็จขาของสุนัขจะอ่อนแรงเป็นอย่างมาก ทางสัตวแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณออกกำลังกายให้กับสุนัขในช่วงนี้ เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อขาของสุนัขในระยะยาวได้
  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่ ให้คุณคอยเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด ถ้าคุณพบว่าอาการต่างๆ ของสุนัขยังไม่ดีขึ้นเลย ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณ กลับเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที