สิ่งที่ควรรู้ในการทำเคมีบำบัดของสุนัข

สิ่งที่ควรรู้ในการทำเคมีบำบัดของสุนัข

บทนำ

สุนัขก็สามารถป่วยเป็นโรคมะเร็งได้เหมือนกับมนุษย์อย่างพวกเราเลย แถมการรักษาโรคมะเร็งในสุนัขก็ยังใช้วิธีเดียวกันอีกด้วย นั้นก็คือ การผ่าตัด กับการทำเคมีบำบัด

โดยการทำเคมีบำบัดก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทางสัตวแพทย์นิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งให้กับสุนัข ในกรณีที่ตรวจพบว่าเนื้องอกมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่าตัดออกมาได้

สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการเคมีบำบัดในสุนัขว่า มีความแตกต่างกันกับวิธีเคมีบำบัดของมนุษย์หรือเปล่า รวมถึงผลข้างเคียงของการเคมีบำบัดในสุนัขมีอะไรบ้าง

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังสนใจเรื่องราวเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

การทำเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงอะไรกับสุนัขหรือเปล่า

การทำเคมีบำบัดของมนุษย์กับสุนัขนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

การเคมีบำบัดของมนุษย์

หลายคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำเคมีบำบัดของมนุษย์นั้น จะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • อาการผมร่วง
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย อ่อนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน

โดยวัตถุประสงค์ของการทำเคมีบำบัดในมนุษย์นั้น ก็เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวมากยิ่งขึ้น

การเคมีบำบัดของสุนัข

ร่างกายของสุนัขจะไม่ได้รับผลกระทบจากการทำเคมีบำบัดเหมือนกับร่างกายของมนุษย์ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ร่างกายของสุนัขจะได้รับผลกระทบจากการทำเคมีบำบัด

แต่ทางสัตวแพทย์ก็สามารถปรับลดตัวยาไม่ให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายของสุนัขได้เหมือนกัน

ซึ่งในกรณีที่คุณพบว่าหลังจากพาสุนัขเข้ารับการเคมีบำบัดแล้ว สุนัขของคุณมีอาการเบื่ออาหาร ในครั้งต่อไปที่คุณพาสุนัขไปเคมีบำบัดกับทางสัตวแพทย์

คุณสามารถแจ้งให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้หลังจากการทำเคมีบำบัด เพื่อให้ทางสัตวแพทย์ได้ทำการปรับขนาดของตัวยาลง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายของสุนัขได้

ในต่างประเทศมีสัตวแพทย์หลายคนกล่าวเอาไว้ว่า “การเคมีบำบัดจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของสุนัขดีขึ้น” เพราะหลังจากการทำเคมีบำบัดแล้ว พบว่ามีสุนัขหลายตัวที่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติดี รวมถึงยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้านได้เหมือนกับตอนที่สุนัขยังมีสุขภาพปกติดีอยู่เลย

การเคมีบำบัดช่วยรักษาโรคมะเร็งในสุนัขได้อย่างไร

การทำเคมีบำบัดจะช่วยลดการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายของสุนัขได้ แถมยังช่วยให้เนื้องอกที่เกิดขึ้นในร่างกายของสุนัขมีขนาดที่เล็กลงอีกด้วย

ทางสัตวแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วิธีการเคมีบำบัด ควบคู่กับวิธีการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออกมา ในกรณีที่โรคมะเร็งชนิดนั้นๆ สามารถใช้วิธีผ่าตัด ควบคู่กับการเคมีบำบัดได้

ดูแลสุนัขอย่างไรหลังเข้ารับการทำเคมีบำบัด

ถ้าไม่มั่นใจว่าควรพาสุนัขไปทำเคมีบำบัดดีไหม

ในกรณีที่คุณพบว่าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งอยู่ แต่คุณยังไม่มั่นใจว่าควรจะพาสุนัขไปรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการทำเคมีบำบัดดีไหม

คุณก็สามารถโทรไปขอคำแนะนำจากทางสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการรักษาโรคมะเร็งในสุนัขดูก็ได้เหมือนกัน

โดยทางสัตวแพทย์จะตอบทุกคำถามที่คุณกำลังสงสัยอยู่ พร้อมทั้งจะช่วยประเมินความเสี่ยงว่าสุนัขของคุณมีอาการแบบนี้ จะรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดดีไหม รวมถึงทางสัตวแพทย์จะชี้แจงถึงผลกระทบที่ตามมา พร้อมทั้งบอกถึงวิธีดูแลสุนัขของคุณในระหว่างที่ทำการรักษาอยู่

วิธีดูแลสุนัขหลังเข้ารับการเคมีบำบัด

หลังจากที่คุณตัดสินใจรักษาโรคมะเร็งให้กับสุนัขของคุณ ด้วยการทำเคมีบำบัดแล้ว หลังจากการรักษาเสร็จ ทางสัตวแพทย์จะแนะนำถึงวิธีดูแลสุนัขของคุณในระหว่างที่ทำการพักฟื้นร่างกายอยู่

ว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องของการให้สุนัขทานยาตามที่สั่ง ทั้งในเรื่องของอาหารการกิน รวมถึงวิธีทำการสะอาดพื้นที่ที่สุนัขอาศัยอยู่

หน้าที่ของคุณก็คือ ให้คุณเชื่อฟังและทำตามคำแนะนำของทางสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สุนัขของคุณจะได้ฟื้นตัวได้ไวมากยิ่งขึ้น

และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณควรรู้ก็คือ หลังจากที่สุนัขเข้ารับการเคมีบำบัดแล้ว ภูมิคุ้มกันต่างๆ ของสุนัขจะลดต่ำลง ในช่วงนี้สุนัขของคุณจะป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

ดังนั้นในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น คุณต้องสวมถุงมืออนามัยที่สะอาดก่อนทุกครั้ง ที่จะป้อนยาให้กับสุนัข รวมถึงคุณต้องล้างมือของคุณให้สะอาดก่อนทุกครั้ง ที่จะหยิบอาหารป้อนให้สุนัขของคุณทาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของสุนัขได้