เยื้อหุ้มสมองของสุนัขเกิดการอักเสบ

เยื้อหุ้มสมองของสุนัขเกิดการอักเสบ

บทนำ

เยื้อหุ้มสมองของสุนัขเกิดการอักเสบ เป็นอาการที่เยื่อหุ้มสมองส่วนกลางกับไขสันหลังของสุนัขมีการอักเสบเกิดขึ้น

ซึ่งถ้าสุนัขของคุณป่วยเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบขึ้นมาแล้ว คุณไม่ยอมพาสุนัขของคุณไปรักษา สิ่งที่จะตามมาก็คือ สุนัขของคุณจะมีอาการน้ำไขสันหลังเกิดการอุดตันขึ้นมาได้

สำหรับน้ำไขสันหลังของสุนัขก็คือ น้ำที่อยู่บริเวณรอบๆ สมองและไขสันหลังของสุนัข และเมื่อมีการอุดตันเกิดขึ้น มันจะทำให้น้ำเข้าไปสะสมอยู่ภายในสมองของสุนัขเป็นจำนวนมาก ซึ่งมันจะส่งผลทำให้สุนัขเกิดอาการชักและเป็นอัมพาตขึ้นมาได้

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ

  • การเดินของสุนัขจะเปลื่ยนแปลงไปจากการเดินแบบปกติ กลายเป็นการเดินแบบวนไปวนมาเป็นวงกลม
  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึม และเบื่ออาหาร
  • สุนัขจะตัวร้อนเป็นไข้ และมีการอาเจียนร่วมด้วย
  • ความดันเลือดของสุนัขจะค่อยๆ ลดต่ำลง จนทำให้สุนัขเกิดอาการชัก และช็อคขึ้นมาได้

อาการของโรคเยื้อหุ้มสมองของสุนัขเกิดการอักเสบ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ

  • สุนัขติดเชื้อแบคทีเรียบางประเภท ที่มีผลกระทบต่อสมองและไขสันหลังของสุนัข
  • สุนัขติดเชื้อที่ดวงตา
  • สุนัขติดเชื้อภายในช่องหู
  • สุนัขติดเชื้อทางโพรงจมูก
  • สุนัขป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า อาการที่สุนัขแสดงออกมานั้นมีอะไรบ้างสุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดของสุนัข เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่ตับและไตของสุนัขหรือเปล่า รวมถึงจะดูว่าจำนวนของเม็ดเลือดขาวในร่างกายของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขมีหนอง หรือเชื้อแบคทีเรียอยู่ภายในระบบเดินทางปัสสาวะของสุนัขหรือเปล่า
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) ที่บริเวณช่องท้องของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับช่องท้องของสุนัขหรือเปล่า
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ ผิวหนัง ดวงตา มีน้ำมูก และมีเสมหะ ก็จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนเพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการอีกทีหนึ่ง
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังของสุนัขบางส่วน เพื่อนำไปตรวจสอบดูว่า ตกลงแล้วสุนัขกำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่กันแน่น

วิธีรักษาโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะทำการรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีรักษาโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบในสุนัข จะใช้วิธีการรักษาโดยการจ่ายยาปฏิชีวนะเข้าทางเส้นเลือดดำ

และในระหว่างการรักษาถ้าพบว่าสุนัขมีอาการชักเกิดขึ้น ก็จะให้ยาลดอาการชักกับสุนัข รวมถึงให้ยากดภูมิ เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา

ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรงขาดสารอาหาร ก็จะทำการให้สารน้ำเข้าไปชดเชยสารอาหารที่ขาดหายไป

ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน จะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้

เพื่อให้ทางสัตวแพทย์คอยเฝ้าดูอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด และเมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ถึงจะอนุญาตให้สุนัขกลับมาพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบในสุนัข ถ้าคุณพาสุนัขมารักษาตั้งแต่ตอนที่สุนัขเป็นระยะแรกเริ่ม สุนัขจะมีโอกาสหายดี และกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้
  • แต่ในทางกลับกันถ้าคุณพาสุนัขของคุณมารักษาโรคนี้ ในตอนที่สุนัขของคุณกำลังป่วยหนัก และมีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลางแล้ว สุนัขของคุณจะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้ได้สูงเป็นอย่างมาก
  • ถ้าการรักษาผ่านไปได้ด้วยดี อาการต่างๆ ของสุนัขก็จะเริ่มค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน ซึ่งในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่นั้น คุณจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทางสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สุนัขของคุณฟื้นตัวได้ไวมากยิ่งขึ้น
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการติดเชื้อที่บริเวณ หู จมูก และตา การรักษาจะทำได้ง่ายกว่าการที่สุนัขติดเชื้อที่สมองแล้ว โดยการรักษานั้นทางสัตวแพทย์จะทำการยับยั้งไม่ให้เชื้อวิ่งเข้าสู่สมองของสุนัขได้