อาการตาฟางในสุนัข

อาการตาฟางในสุนัขรักษาได้ไหม

บทนำ

อาการตาฟางในสุนัข เป็นอาการที่ดวงตาของสุนัขไม่สามารถมองเห็นสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวได้อย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้มักจะเกิดกับสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป

เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้น หรือสุนัขกำลังเข้าสู่วัยชรา ส่วนต่างๆ ของร่างกายก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดวงตาของสุนัข ที่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าอวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายของสุนัข

และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้สุนัขมีอาการตาฟางเกิดขึ้น เมื่อเลนส์ตาของสุนัขเสื่อมสภาพลง อาการตาฟางในสุนัขถ้าเจ้าของสุนัขพาสุนัขไปรักษาตั้งแต่เนินๆ ก็จะมีโอกาสรักษาหายได้เป็นปกติดีดังเดิม

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการตาฟาง

  • เลนส์ตาของสุนัขเสื่อมสภาพลง
  • มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ต้อกระจกตาของสุนัข
  • เป็นโรคทางพันธุกรรมของสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้นอย่างเช่น สุนัขชิสุ (Shih-Tzu)  ,บูลด็อก (Bulldog) ,ปั๊ก (Pug)  เป็นต้นสายพันธุ์อื่นๆ
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเกิดโรคบางอย่างในสุนัขอย่างเช่น โรคเบาหวาน ,โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ,โรคจอประสาทตาเสื่อมเฉียบพลัน รวมถึงโรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการตาฟาง

เมื่อสุนัขมีอาการตาฟางจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะรู้สึกเจ็บตาและเคืองตา
  • สุนัขจะกระพริบตาบ่อยๆ (ข้างเดียว) จนผิดสังเกต
  • สุนัขจะยกขาหน้าขึ้นมาเขี่ยที่ดวงตาอยู่เป็นประจำ
  • เยื่อตาขาวของสุนัขจะเปลื่ยนจากสีปกติกลายเป็นสีแดง
  • กระจกตาของสุนัขจะมีลักษณะคล้ายกับฝ้าขาว
  • สุนัขจะมีอาการตาแห้ง ตาแฉะ และมีขี้ตาเยอะกว่าปกติ
  • สุนัขจะชอบเดินไปชนสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ ภายในบ้าน อาการมันจะคล้ายๆ กับสุนัขตาบอด ที่ไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่า สุนัขของคุณเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขของคุณมีอาการอะไรบ้าง สุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง

ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจดวงตาของสุนัขอย่างละเอียด ด้วยวิธีวัดระดับน้ำตา วิธีนี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์รู้ได้ว่า สุนัขมีภาวะตาแห้งอยู่หรือไม่

รวมถึงวิธีย้อมสีกระจกตา วิธีนี้จะทำให้ทางสัตวแพทย์รู้ได้ว่า กระจกตาของสุนัขมีบาดแผลอะไรเกิดหรือเปล่า รวมถึงจะทำการใช้กล้องส่องตาเพื่อวัดค่าความดันในดวงตาของสุนัข

วิธีรักษาอาการตาฟางในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะทำการรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอตัวอย่างเช่น

  • ถ้าพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคต้อหิน ก็จะหาวิธีทำให้ความดันในดวงตาของสุนัขลดลง  
  • ถ้าตรวจพบว่าดวงตาของสุนัขเกิดการฉีกขาด ก็จะหาวิธีรักษาอาการฉีกขาดในดวงตาของสุนัข
  • ถ้าพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นในดวงตาของสุนัข ก็จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกนั้นออกมา
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการใส่ปลอกคอกันเลียให้กับสุนัข
  • โดยปลอกคอกันเลีย (Elizabethan collar) จะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้สุนัขยกขาหน้าขึ้นมาเกาที่ดวงตา จนเกิดการเป็นแผลได้
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการจ่ายยาหยอดยา กับยาแก้อักเสบ ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ มาให้สุนัขได้ทาน ในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่
  • และนอกจากนี้ ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารสำหรับช่วยบำรุงสายตาของสุนัขโดยเฉพาะ รวมถึงจะให้อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงสายตา มาให้สุนัขทานอีกด้วย