อาการนอนกรนในสุนัข

อาการนอนกรนในสุนัข

บทนำ

น่าจะมีคนเลี้ยงสุนัขหลายคนที่ชอบอุ้มสุนัขของตัวเองมานอนด้วยกันบนเตียง และน่าจะมีหลายครั้งในระหว่างที่คุณกำลังนอนอยู่นั้น คุณก็ได้ยินเสียงกรนออกมาจากสุนัขของคุณเอง

และก็น่าจะมีหลายคนที่สงสัยกันว่า ทำไมสุนัขของฉันถึงมีอาการนอนกรน พวกมันกำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่หรือเปล่า จำเป็นต้องพาไปหาสัตวแพทย์หรือเปล่า

สำหรับบทความนี้จะมาช่วยไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กับคุณผู้อ่านฟังได้เอง ทำไมสุนัขถึงมีอาการนอนกรน สาเหตุเพราะอะไรกันแน่น ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อกันได้เลยครับ

ปัจจัยที่ทำให้สุนัขมีอาการนอนกรน

  • ตำแหน่งท่าการนอนของสุนัขตัวนั้น
  • อาการนอนกรนมักจะเกิดกับสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีโครงหน้าแบน และมีจมูกสั้นอย่างเช่น ปั๊ก ,ชิสุ ซึ่งด้วยโครงสร้างใบหน้าตามธรรมชาติของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ จึงทำให้สุนัขสายพันธุ์เหล่านี้มีการหายใจแบบเฉพาะตัว ซึ่งมันจะทำการเกิดเสียงกรนขึ้นมา ในระหว่างที่สุนัขกำลังหลับนอนได้

วิธีแก้ไขอาการนอนกรนของสุนัขอย่างเบื้องต้น

คุณสามารถแก้ไขอาการนอนกรนของสุนัขได้ด้วย 2 วิธีดังต่อไปนี้

  1. เปลื่ยนท่านอนของสุนัข การเปลื่ยนท่านอนของสุนัขจะช่วยลดอาการนอนกรนของสุนัขลงได้
  2. ในกรณีที่คุณมีงบในการเลี้ยงสุนัข คุณก็อาจจะลงทุนซื้อเครื่องทำความชื้นมาไว้ที่บ้านของคุณ เครื่องทำความชื้นนั้นจะมีส่วนช่วยให้ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ ซึ่งมันจะส่งผลทำให้สุนัขของคุณนอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยให้สุนัขลึกขึ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย ยิ่งสุนัขของคุณหลับลึกและสบายตัวมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็จะช่วยลดเสียงนอนกรนของสุนัขได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้สุนัขนอนกรน

สาเหตุที่ทำให้สุนัขนอนกรน

1. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุตัน

การที่สุนัขของคุณมีอาการนอนกรนนั้น อาจจะเกิดจากมีสิ่งปลอกปลอมบางอย่าง เข้าไปอุดตันอยู่ที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนของสุนัข

2. สุนัขมีโครงสร้างรูปร่างที่ผิดปกติ

อย่างเช่น มีโครงสร้างกระโหลกศีรษะกับกระดูกบนใบหน้า รวมถึงโครงสร้างของหลอดลมมีส่วนยื่นเข้าไปอุดกั้นที่บริเวณส่วนทางเดินหายใจของสุนัข ก็สามารถทำให้สุนัขมีอาการนอนกรนขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะเกิดลมหายใจติดขัดในระหว่างที่สุนัขกำลังนอนอยู่

3. แพ้ควันต่างๆ

และนอกจากนี้อาการแพ้ฝุ่น ควันต่างๆ ก็ยังสามารถทำให้สุนัขของคุณมีอาการนอนกรนขึ้นมาได้เหมือนกัน

4. โรคอ้วน

สุนัขที่กำลังป่วยเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ก็ทำให้มีอาการนอนกรนขึ้นมาได้เหมือนกัน

สาเหตุนั้นก็เพราะว่า เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคอ้วนแล้วเนื้อเยื่อในส่วนของไขมันจะค่อยๆ ขยายตัวไปยังบริเวณรอบๆ ร่างกายของสุนัข

ซึ่งบางทีเนื้อเยื่อไขมันเหล่านี้อาจะเข้าไปปิด หรือไปบังตรงบริเวณส่วนช่องทางเดินหายใจช่วงบนของสุนัขได้เหมือนกัน

สุนัขนอนกรนจำเป็นต้องไปหาหมอหรือเปล่า

5. การนอนหงาย

การนอนหงายของสุนัขก็สามารถทำให้สุนัขมีอาการนอนกรนขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะเมื่อสุนัขนอนหงายแล้ว ลิ้นของสุนัขจะลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจของสุนัข จนเป็นเหตุทำให้สุนัขเกิดเสียงกรนในระหว่างนอนขึ้นมาได้

6. ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

ถ้าสุนัขของคุณป่วยเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism) ก็จะทำให้สุนัขของคุณมีอาการนอนกรนขึ้นมาได้เหมือนกัน

วิธีที่จะรู้ว่าสุนัขของคุณป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ก็คือการพาสุนัขของคุณไปตรวจเลือดกับทางสัตวแพทย์เพื่อดูระดับไทรอยด์ในร่างกายของสุนัข

จำเป็นต้องพาไปหาสัตวแพทย์ไหม

อาการนอนกรนของสุนัขไม่ใช่อาการร้ายแรงใดๆ อาการเหล่านี้เป็นเพียงแค่ความผิดปกติบางอย่างจากโครงสร้างร่างกายของสุนัข รวมถึงลักษณะท่าการนอนของสุนัขที่เกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณไม่มีความจำเป็นต้องกังวลไปเลย

แต่ในทางกลับกันถ้าสุนัขของคุณมีอาการนอนกรนแล้ว มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น สุนัขของคุณมีอาการเซื่องซึม ,ไม่ร่าเริง , เบื่ออาหาร ,ตัวร้อน ,เป็นไข้

อาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่าสุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคอย่างบางอยู่ ทางที่ดีคุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพกับทางสัตวแพทย์ โดยหาสาเหตุต่างๆ