โรคผิวหนังชนิด Seborrhea ในสุนัข

โรคผิวหนังชนิด Seborrhea ในสุนัข

บทนำ

โรคผิวหนังชนิด Seborrhea ในสุนัข เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้ จะทำให้ผิวหนังของสุนัขเกิดการติดเชื้อ จนเป็นเหตุทำให้ผิวหนังของสุนัขเกิดการแตกกับเป็นขุยออกมา

อีกทั้งยังทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อเกิดกลิ่นเหม็นๆ ขึ้นมาได้ ทางการแพทย์ได้แบ่งอาการของโรคผิวหนังชนิด Seborrhea ในสุนัขออกมาได้ 2 แบบได้แก่

1. แบบมัน

2. แบบแห้ง

ซึ่งสุนัขสามารถป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้ได้ทั้งสองแบบเลย

เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิด Seborrhea จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังของสุนัขจะมีการผลิตน้ำมันขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเช่น ตามหู ,ใต้ท้อง ,ข้อพับ ,ข้อศอก และข้อเท้าเป็นต้น 
  • ผิวหนังตรงบริเวณที่มีการติดเชื้อจะแตกเป็นขุยออกมา
  • ผิวหนังของสุนัขจะมีกลิ่นเหม็นๆ ออกมา
  • สุนัขจะรู้สึกคันตรงบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อเป็นอย่างมาก
  • สุนัขจะยกขาขึ้นมาเกาตรงบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อตลอดทั้งวัน จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดเป็นแผลเลือดออกขึ้นมาได้
  • สุนัขจะมีอาการขนร่วงที่บริเวณที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคผิวหนัง seborrhea

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

โรคผิวหนังชนิดนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรมของสุนัข โดยจะมีสุนัขสายพันธุ์ประมาณ 4 สายพันธุ์ที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูง ซึ่งก็ได้แก่สุนัขสายพันธุ์

  • แลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever)
  • เยอรมันเชเพิร์ด (German Shepherd)
  • โกลเดินริทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)
  • โดเบอร์แมน (Dobermann)

และนอกจากสุนัขทั้ง 4 สายพันธุ์นี้แล้ว สุนัขบางตัวที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้ได้เหมือนกันอย่างเช่น

  • สุนัขที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
  • สุนัขที่ขาดสารอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สุนัขติดเชื้อปรสิตบางประเภท
  • ระบบการดูดซึมอาหารของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้น จนเป็นเหตุทำให้สุนัขไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
  • มีความผิดปกติขึ้นที่ต่อมไร้ท่อของสุนัข
  • สุนัขป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันทําลายตัวเอง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า คุณมีวิธีเลี้ยงดูสุนัขของคุณอย่างไรบ้าง โดยปกติแล้วคุณให้สุนัขของคุณทานอะไร สุนัขของคุณมีอาการอะไรบ้าง อาการเหล่านี้เป็นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจสอบผิวหนังของสุนัขอย่างละเอียด โดยอาจจะมีการขูดผิวหนังที่ติดเชื้อไปตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อดูว่าสุนัขติดเชื้อจากปรสิต เชื้อรา หรือติดเชื้อแบคทีเรียบางประเภทอยู่หรือเปล่า
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดของสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อยู่หรือไม่
  • ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจต่อมไร้ท่อ กับระบบทางเดินอาหารของสุนัขอย่างละเอียด
  • ทางสัตวแพทย์จะทำการตัดเอาชิ้นเนื้อบางส่วนจากผิวหนังของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบที่ห้องแล็บอย่างละเอียดอีกทีนึง เพื่อดูว่าสุนัขกำลังติดเชื้อโรคชนิดไหนอยู่กันแน่น

วิธีรักษาโรคผิวหนัง seborrhea ในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • โรคผิวหนังชนิด Seborrhea เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางสัตวแพทย์ทำได้แค่เพียงควบคุมอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา
  • ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคผิวหนังชนิด Seborrhea จะใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ แชมพู กับครีมนวด ที่มีส่วนผสมของ กำมะถัน ,ถ่าน ,กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ,เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดให้กับสุนัขได้
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าร่างกายของสุนัขมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ก็จะให้ยาปฏิชีวนะสำหรับกำจัดเชื้อนั้นๆ ทั้งแบบทาและก็แบบกิน เพื่อให้สุนัขได้กินและทาผิวหนังในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้ เกิดจากสุนัขขาดสารอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการจัดเมนูอาหารให้กับสุนัข โดยจะเน้นไปที่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของสุนัข ย่อยได้ง่าย และยังมีสารอาหารอย่างครบถ้วนอีกด้วย

วิธีป้องกันโรคผิวหนัง Seborrhea ในสุนัข

  • โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคผิวหนังชนิดนี้มักจะเกิดจากการที่สุนัขไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน
  • ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ คุณควรให้สุนัขของคุณทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หรือให้สุนัขของคุณได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคผิวหนังชนิดนี้ได้แล้ว
  • ในกรณีที่คุณไม่รู้ว่าควรจะให้สุนัขของคุณทามอาหารประเภทไหนถึงจะกำลังดี คุณก็สามารถโทรไปขอคำปรึกษาจากทางสัตวแพทย์ก็ได้เหมือนกัน
  • และนอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรทำนั้นก็คือ ให้คุณอาบน้ำให้กับสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำด้วยแชมพูสูตรป้องกันโรคผิวหนังโดยเฉพาะ โดยให้คุณอาบน้ำให้กับสุนัขของคุณประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน ก็ถือว่าเป็นการป้องกันโรคผิวหนังชนิดนี้ไปในตัวแล้ว