การติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus) ในสุนัข

ติดเชื้อไวรัสโรต้า rotavirus ในสุนัข

บทนำ

การติดเชื้อไวรัสโรต้าในสุนัขคืออะไร

อาการติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus) ในสุนัข เป็นอาการที่ลำไส้ของสุนัขมีการอักเสบเกิดขึ้น จนทำให้ผนังของลำไส้สุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นมา จนเป็นเหตุทำให้สุนัขมีอาการท้องเสียขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดกับลูกสุนัขที่มีอายุได้ประมาณ 2 – 3 เดือน

ไวรัสโรต้า (rotavirus) มีผลเสียอะไรต่อร่างกายของสุนัขบ้าง

เมื่อสุนัขเกิดการติดไวรัสโรต้า (rotavirus) ขึ้นมาแล้ว จะทำให้สุนัขตัวนั้นมีอาการขับถ่ายของเสียออกมาเป็นน้ำเพียงอย่างเดียว จะไม่มีเนื้อของอุจจาระออกมาเจือปนเลย

ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ร่างกายของสุนัขสูญเสียน้ำไปเรื่อยๆ จนทำให้สุนัขมีอาการภาวะขาดน้ำขึ้นมา ซึ่งมันอาจจะส่งผลทำให้สุนัขเสียชีวิตลงได้ ถ้าพาสุนัขไปรักษาไม่ทันการณ์

และนอกจากอาการท้องเสียของสุนัขแล้ว สุนัขยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่าง

  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • สุนัขมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  • สุนัขมีอาการเบื่ออาหาร
  • สุนัขจะไม่ค่อยมีแรง

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดเชื้อไวรัสโรต้า rotavirus

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus)

สุนัขได้ไปสัมผัสกับอุจจาระของสุนัขตัวอื่นๆ ที่มีเชื้อไวรัส Rotavirus อาศัยอยู่ในอุจจาระก้อนนั้น ผ่านการเลีย หรือการกิน เป็นต้น

ซึ่งมันจะทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของสุนัขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสุนัขที่มีภูมิต้านทานต่ำ ,ลูกสุนัข ,สุนัขวัยชรา สุนัขเหล่านี้จะมีโอกาสจะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง

การวินิจฉัยโรคจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขอย่างเบื้องต้นอย่างเช่นสุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะสำรวจร่างกายของสุนัขอย่างเบื้องต้นเพื่อดูว่าสุนัขติดเชื้อไวรัสชนิดไหนกันแน่น
  • อย่างเช่น ถ้าสุนัขติดเชื้อไวรัสในกลุ่มของ parvovirus สุนัขมีผื่นขึ้นตามตัว
  • แต่ถ้าสุนัขติดเชื้อไวรัสในกลุ่มของ coronavirus ลำไส้ของสุนัขตัวจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น
  • แต่ถ้าสุนัขติดเชื้อไวรัสในกลุ่มของ astrovirus ก็จะทำให้สุนัขมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • หลังจากการประเมินกลุ่มของไวรัสเสร็จแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องแล็บอีกทีหนึ่งว่า ตกลงแล้วสุนัขกำลังติดเชื้อไวรัสชนิดไหนอยู่กันแน่น
  • และเพื่อให้ผลการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะเก็บเซลล์บางส่วนในผนังลำไส้ของสุนัข เพื่อเอาไปตรวจสอบด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษที่สามารถระบุได้ว่าสุนัขกำลังติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus) อยู่หรือเปล่า
สุนัขติดเชื้อไวรัสโรต้าวิธีรักษา

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • เมื่อทางสัตวแพทย์ตรวจพบจนเป็นที่แน่นชัดแล้วว่าสุนัขติดเชื้อไวรัส rotavirus อย่างแน่นนอนแล้ว
  • ทางสัตวแพทย์ก็จะเริ่มทำการรักษาโดยการทำให้ร่างกายของสุนัขฟื้นฟูโดยเร็วมากที่สุดเท่าที่ทางสัตวแพทย์จะทำได้
  • โดยก่อนอื่นเลยทางสัตวแพทย์จะหาวิธีบรรเทาอาการท้องเสียให้กับสุนัข รวมถึงจะทำการให้สารน้ำและเกลือแร่กับสุนัข เพื่อเป็นการชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากร่างกายของสุนัข สารน้ำกับเกลือแร่จะช่วยบรรเทาไม่ให้ร่างกายของสุนัขเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้
  • หลังจากอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำเมนูอาหารในระหว่างที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่ โดยเมนูอาหารที่ทางสัตวแพทย์จะแนะนำนั้นเป็นเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ของสุนัข แถมยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องให้กับสุนัขอีกด้วย แถมยังเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่ายอีกด้วย
  • โดยส่วนใหญ่โรคที่ติดจากเชื้อไวรัสต่างๆ นั้นทางสัตวแพทย์จะไม่ใช้ยาปฏิชีวนะใดๆ เข้ามาช่วยในการรักษา เพราะยาปฏิชีวะประเภทต่างๆ นั้นไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายของสุนัขได้
  • ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ควบคู่กับการทำให้สุนัขมีสุขภาพที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของสุนัขเป็นตัวเข้าไปกำจัดไวรัสชนิดนั้นเอง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับไวรัสโรต้า (rotavirus)

  • เชื้อไวรัส rotavirus ในสุนัขนั้นสามารถติดต่อมาสู่คนได้ ถ้าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ ในระหว่างที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่
  • คุณควรกักบริเวณสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ ให้อยู่ในพื้นที่ที่คุณกำหนดไว้โดยเฉพาะ และคุณต้องบอกคนในครอบครัวของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเล็กตัวเล็กๆ รวมถึงคนแก่ในบ้านของคุณว่าในช่วงนี้ห้ามเข้าใกล้สุนัขตัวที่ป่วยอยู่โดยเด็ดขาด เพราะจะมีโอกาสสูงที่เด็กกับคนแก่อาจจะติดไวรัส rotavirus ขึ้นมาได้
  • อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องระวังก็คือ เมื่อสุนัขตัวที่ป่วยอยู่เกิดการอุจจาระออกมา ก่อนที่คุณจะอุจจาระของสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ คุณต้องสวมถุงมือก่อนทุกครั้ง
  • รวมถึงหลังจากเก็บอุจจาระของสุนัขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณต้องทำความสะอาดพื้นที่บริเวณเหล่านั้นให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไวรัส rotavirus เข้ามาติดคุณ รวมถึงคนในครอบครัวของคุณได้
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus) ในสุนัข

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า (rotavirus) ในสุนัข

สำหรับวิธีป้องกันนั้นคุณสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการทำให้สุนัขของคุณมีสุขภาพจิตกับสุขภาพกายที่ดีแข็งแรงดีอยู่เสมอ

โดยให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ หรือทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน รวมถึงสุนัขของคุณต้องได้รับการออกกำลังกายอยู่เป็นประจำวันละ 10 -15 นาทีต่อวัน

แล้วอย่าปล่อยให้สุนัขของคุณมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมถึงให้คุณทำความสะอาดพื้นที่ในบ้านของคุณอยู่เป็นประจำ เท่านี้เชื้อไวรัส rotavirus ก็ไม่สามารถทำอะไรสุนัขของคุณได้แล้ว