โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็ก

โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็ก

บทนำ

โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นโรคสุดฮิตที่สุนัขสายพันธุ์เล็กส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน โดยบทความนี้จะมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านฟังว่า

  • โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็กคืออะไร
  • โรคดังกล่าวมีความรุนแรงอยู่กี่ระดับ
  • โรคนี้จำเป็นต้องผ่าตัดไหม
  • รวมถึงวิธีลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ให้กับสุนัขของคุณ

สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็กเกิดจากอะไร

โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็กเกิดจาก การที่กระดูกสะบ้าของสุนัขเคลื่อนที่ผิดรูป จากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดขึ้นลูกสุนัขที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี กับสุนัขสายพันธุ์เล็กต่างๆ อย่างเช่น

  • ชิวาวา
  • ปอมเมอเรเนียน
  • พุดเดิ้ลทอย
  • ยอร์กเชียร์ เทอร์เรีย
  • บอสตันเทอร์เรีย
  • ชิสุ
  • ปักกิ่ง

ระดับความรุนแรงของโรคสะบ้าเคลื่อนจะแบ่งออกมาได้เป็น 4 ระดับด้วยกันได้แก่

ระดับที่ 1

ในระดับนี้ลูกสะบ้าจะยังอยู่ในร่อง แต่จะเลื่อนหลุดออกมาได้ง่ายถ้าคุณใช้มือไปดัน ในระดับนี้สุนัขจะยังไม่แสดงอาการอะไรออกมา

ระดับที่ 2

ในระดับนี้ลูกสะบ้าจะเคลื่อนหลุดออกมาบ่อยมากกว่าปกติ และเมื่อลูกสะบ้าหลุดออกมาก็จะไปค้างอยู่บริเวณนอกร่อง ในระดับนี้จะทำให้สุนัขรู้สึกร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดเป็นบางครั้ง กับมีอาการยกขาหลังขึ้นในเวลาเดิน

ระดับที่ 3

ในระดับนี้ลูกสะบ้าแทบจะเคลื่อนหลุดออกมาแล้ว จึงทำให้สุนัขจะรู้สึกเจ็บปวดช่วงขาที่เกิดสะบ้าเคลื่อนเป็นอย่างมาก ในช่วงนี้สุนัขจะไม่ยอมใช้ขาข้างที่มีปัญหาเดินเลย

ระดับที่ 4

ในระดับนี้ลูกสะบ้าได้เคลื่อนหลุดออกมาอยู่ด้านนอกร่องอย่างถาวรแล้ว เมื่อถึงระดับนี้สุนัขจะส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงจะมีอาการเดินขาลาก กับมีอาการนั่งอยู่กับที่เฉยๆ ไม่ลุกขึ้นเดินเลย

สุนัขสายพันธุ์ไหนมีโอกาสป่วยเป็นโรคสะบ้าเคลื่อนได้บ้าง

วิธีรักษาโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็ก

ระดับที่ 1

สำหรับในระดับที่ 1 ยังไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา การรักษาทำได้โดยการใช้

  • ยาแก้ปวด
  • ยาบำรุงข้อต่อ
  • การทำกายภาพบำบัด
  • คอยควบคุมน้ำหนักของสุนัข

ระดับที่ 2 – 4

สำหรับในระดับนี้ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษาแล้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดก็จะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่สุนัขกำลังเป็นอยู่

สิ่งที่คุณควรรู้หลังจากที่สุนัขเข้ารับการผ่าตัดโรคสะบ้าเคลื่อน

  • หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จ สุนัขจะยังไม่ใช้ขาข้างที่เกิดสะบ้าเคลื่อนเพราะพวกมันยังมีภาพจำอยู่ว่า ถ้าเดินด้วยขาข้างนี้แล้วจะรู้สึกเจ็บเป็นอย่างมาก ซึ่งคุณต้องให้เวลากับสุนัขหน่อย โดยทางสัตวแพทย์จะคอยแนะนำให้กับคุณเองว่า ในช่วงนี้คุณต้องดูแลสุนัขของคุณอย่างไรบ้าง
  • พาสุนัขของคุณกลับเข้ามารับการกายภาพบำบัดกับทางสัตวแพทย์ทุกครั้ง เพราะการกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ข้อต่อของสุนัขให้กลับมาเป็นปกติดีดังเดิม
  • หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จ คุณต้องงดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสะบ้าของสุนัขไม่ว่าจะเป็นการกระโดด วิ่งลงบันได หรือเดินในที่ลื่น ให้คุณงดกิจกรรมเหล่านี้ไปประมาณ 1 – 2 เดือน
  • คุณอาจจะใช้วิธีประคบเย็นจงบริเวณที่เกิดการผ่าตัด เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของสุนัขลงได้ (แต่คุณต้องถามสัตวแพทย์ก่อนนะว่าคุณสามารถใช้วิธีประคบเย็นกับสุนัขของคุณได้ไหม)
  • ให้คุณคอยสังเกตสีผิวของสุนัขที่บริเวณที่เกิดการผ่าตัดอยู่เป็นประจำ ถ้าคุณพบว่าสีผิวตรงบริเวณที่เกิดการผ่าตัดของสุนัขซีดลงหรือเป็นสีม่วง ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบสัตวแพทย์ในทันที

วิธีป้องกันโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขสายพันธุ์เล็ก

วิธีลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสะบ้าเคลื่อนของสุนัขสายพันธุ์เล็ก

  • หลีกเลี่ยงอย่าให้สุนัขเดินบนพื้นที่ที่มีความลื่นสูงอย่างเช่น พื้นกระเบื้อง ,พื้นปาร์เก้ ,พื้นหินอ่อน เป็นต้น
  • อย่าให้สุนัขของคุณกระโดดลงจากที่สูงๆ กับอย่าให้สุนัขของคุณวิ่งขึ้นลงบันไดอย่างรวดเร็ว
  • พยายามตัดขนที่บริเวณฝ่าเท้าของสุนัขให้สั้นอยู่เสมอ เพราะขนตรงบริเวณฝ่ามือจะทำให้ขาของสุนัขต้องลื่นอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เดิน
  • อย่าปล่อยให้สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักตัวที่มากจะส่งผลทำให้ข้อต่อของสุนัขต้องทำงานหนักกว่าปกติถึง 2 – 3 เท่าเลย
  • คุณควรให้สุนัขของคุณทานเนื้อปลาต้มสุก กับผักผลไม้ที่มีวิตามิน C กับ E อย่างเช่น แครอท ,สตรอว์เบอร์รี ,แอปเปิ้ล เนื้อสัตว์กับผักผลไม้เหล่านี้จะมีส่วนช่วยบำรุงข้อต่อ ช่วยลดการเสื่อมสภาพของกระดูกข้อต่อได้