การติดเชื้อไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) ในสุนัข

ไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) ในสุนัขคืออะไร

ไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) ในสุนัขคืออะไร

ไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) นั้นเป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นอย่างมาก

ไวรัสชนิดนี้จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหาร กับลำไส้เล็กของสุนัขเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง รวมถึงยังทำให้สุนัขตัวนั้นมีภาวะเลือดออกอีกด้วย

และนอกจากนี้ไวรัสชนิดนี้ยังมีผลต่อลูกสุนัขอีกด้วย อย่างในกรณีที่แม่สุนัขเกิดติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ขึ้นมา ในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์อยู่

ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกสุนัขในครรภ์มารดาได้ ซึ่งมันจะทำให้ลูกสุนัขที่ออกมามีลักษณะที่ไม่สมประกอบขึ้นมาได้

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเชื้อไวรัสชนิดนี้มักจะพบได้กับลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีมากกว่าสุนัขวัยอื่นๆ ด้วยกัน

เมื่อสุนัขติดเชื้อ parvo จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยมีแรง
  • สุนัขจะมีอาการตัวร้อนเป็นไข้
  • สุนัขจะมีอาการท้องเสียอย่างต่อเนื่องรวมถึงจะมีเลือดปะปนออกมาจากอุจจาระของสุนัข
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • สุนัขจะมีภาวะขาดน้ำ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดเชื้อ parvo

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดเชื้อ parvo

  • สุนัขเผลอไปดม หรือไปสัมผัสกับกับอาเจียนและอุจจาระของสุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่
  • สุนัขเผลอไปสัมผัสกับดินที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน โดยไวรัสชนิดนี้สามารถมีอายุอยู่ในดินได้ยาวนานถึง 1 ปีเลย

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของสุนัขบ้าง โดยทางสัตวแพทย์จะดูค่าของระดับเกลือแร่ในเลือดของสุนัขเป็นหลัก
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจอุจจาระของสุนัขอย่างละเอียด เพื่อดูว่าภายในอุจจาระของสุนัขมีเชื้อ parvo อาศัยอยู่หรือไม่
  • และเพื่อให้ขั้นตอนการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะทำการเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่ปอดของสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขมีอาการปอดบวมอยู่หรือไม่
  • ถ้าพบว่าสุนัขมีอาการปอดบวม นั้นเป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่า สุนัขน่าจะมีโอกาสติดเชื้อ parvo ได้สูงเป็นอย่างมากมาก

วิธีรักษาโรคไวรัสพาร์โวไวรัสในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจออย่างเช่น

  • ถ้าร่างกายของสุนัขสูญเสียน้ำมาก จนทำให้สุนัขมีภาวะขาดน้ำ ทางสัตวแพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้สารน้ำกับสุนัข เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากร่างกายของสุนัข
  • รวมถึงกรณีที่ทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่าระดับเกลือแร่ในเลือดของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้น ทางสัตวแพทย์ก็จะใช้สารน้ำในการรักษาเหมือนกัน สารน้ำจะมีส่วนช่วยให้ ระดับน้ำตาลกับโพแทสเซียมในร่างกายของสุนัขกลับสู่สภาวะปกติได้
  • ถ้าพบว่าสุนัขมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์จะให้ยาลดอาการอาเจียนกับสุนัข
  • ในกรณีที่สุนัขป่วยเป็นโรคนี้หนักๆ จนมีอาการอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีถ่ายเลือด ร่วมกับการใช้ยาฆ่าไวรัสเข้ามาช่วยในการรักษา รวมถึงทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขอยู่พักรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลก่อน จะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้ เพื่อจะได้เฝ้าดูอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้กับเมนูอาหารสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรค parvo โดยเฉพาะ

วิธีดูแลสุนัขในระหว่างพักฟื้นตัว

  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น สุนัขจะยังไม่สามารถทานอาหารในปริมาณมากๆ ได้
  • ดังนั้นคุณควรแบ่งอาหารของสุนัขต่อมื้อให้มีปริมาณที่น้อยลง แต่เพิ่มความถี่ของมื้ออาหารอย่างเช่น ถ้าปกติสุนัขของคุณทานวันละ 2 มื้อ ก็ให้คุณเพิ่มเป็น 4 มื้อต่อวัน แต่ลดปริมาณอาหารต่อมื้อของสุนัขลงมาเหลือครึ่งหนึ่ง
  • คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทางสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัดในเรื่องของการให้สุนัขทานยา
  • ซึ่งโดยหลักๆ แล้วสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีปัญหาในเรื่องของการอาเจียน และท้องเสีย คุณจึงต้องให้สุนัขของคุณทานยาลดอาการอาเจียน กับยาแก้ท้องเสียอยู่เป็นประจำ
  • ถ้าการรักษาผ่านไปได้ด้วยดี รวมถึงคุณรักษาสุนัขของคุณเป็นอย่างดีในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่ อาการต่างๆ ของสุนัขจะเริ่มดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 – 2 สัปดาห์

ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสพาร์โวไวรัสในสุนัข

ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) ในสุนัข

เมื่อสุนัขที่ป่วยเป็นโรคไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) ขับถ่ายอุจจาระออกมา มันจะมีเชื้อไวรัส parvo ปะปนออกมาจากอุจจาระของสุนัขตัวนั้นด้วย

ดังนั้นในกรณีที่คุณเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว คุณต้องนำสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ ไปแยกเลี้ยงไว้ต่างหากก่อน เพราะจะมีโอกาสสูงที่สุนัขตัวอื่นๆ อาจจะติดเชื้อไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) จากการสัมผัส หรือกินอุจจาระสุนัขที่ตัวที่ป่วยอยู่ได้

สำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรค parvo หลังจากที่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว ร่างกายของสุนัขจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสชนิดนี้ขึ้นมาเอง คุณไม่จำเป็นต้องพาสุนัขตัวนี้ ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค parvo อีกเลย

แต่ในกรณีที่คุณรู้สึกไม่มั่นใจ หรือรู้สึกไม่สบายใจกลัวว่า สุนัขของคุณจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้อีกหรือเปล่า

คุณก็สามารถพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสพาร์โวไวรัสก็ได้เหมือนกัน

หรือคุณอาจจะโทรไปขอคำปรึกษาจากทางสัตวแพทย์ว่า สุนัขของคุณเคยป่วยเป็นโรคไวรัสพาร์โวไวรัส แต่รักษาจนหายดีแล้ว จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสพาร์โวไวรัส (parvo) อีกหรือเปล่า ก็ได้เหมือนกันครับ