การติดเชื้อปรสิต Leishmaniasis ในสุนัข

การติดเชื้อปรสิต Leishmaniasis ในสุนัข

บทนำ

การติดเชื้อปรสิตในสุนัข หรือ โรค Leishmaniasis ในสุนัข ทางการแพทย์ถือว่าโรคนี้เป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก ทางการแพทย์ได้แบ่งโรคนี้ออกมาได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

1. โรคปรสิตที่ส่งผลโดยตรงต่อผิวหนังของสุนัข

2. โรคปรสิตที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบอวัยวะภายในร่างกายของสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดโรคนี้

สุนัขสามารถติดโรคนี้ได้จากการถูกแมลงดูดเลือดกัดเอา และเมื่อเชื้อโรคชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายของสุนัข เชื้อมันจะค่อยๆ เข้าไปฟักตัวอยู่ในร่างกายของสุนัขโดยระยะเวลาฟักตัวของเชื้อโรคจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เดือน

หลังจากที่เชื้อโรคฟักตัวเสร็จแล้ว เชื้อโรคก็จะค่อยๆ แพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัข จนส่งผลทำให้สุนัขมีอาการไตวายและเสียชีวิตลงได้ในที่สุด

โดยหลักๆ แล้วสุนัขตัวผู้จะมีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้ได้สูงกว่าสุนัขตัวเมียเป็นอย่างมาก และนอกจากไตของสุนัขแล้ว เชื้อชนิดนี้ยังส่งผลต่ออวัยวะภายในต่างๆ ในร่างกายของสุนัขอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็นในผิวหนัง ตับ ม้าม ดวงตา และข้อต่อ รวมถึงเชื้อชนิดนี้ยังทำให้สุนัขของคุณมีอาการขนร่วง และยังมีเลือดออกตามร่างกายของสุนัขอีกด้วย

ต้นกำเนิดของโรค Leishmania ในสุนัข

ต้นกำเนิดของโรค Leishmania ในสุนัข

โรค Leishmania ในสุนัข มีต้นกำเนิดมาจากประเทศแม็กซิโกทางตอนใต้และค่อยๆ ระบาดเข้ามาในประเทศ โปรตุเกส ,สเปน ,สวิสเซอร์แลนด์ แล้วก็ประเทศสหรัฐอเมริกา

ซึ่งโรคดังกล่าวในปัจจุบันยังไม่มีพบในประเทศไทยมากนัก อีกทั้งโรค Leishmania ยังเป็นโรคที่สุนัขสามารถเป็นพาหะมาติดมนุษย์ได้อีกด้วย

อาการของโรค Leishmania ในสุนัข

อาการของโรค Leishmania จะสามารถแบ่งออกมาได้กัน 2 แบบได้แก่

1. แบบ Viceral (เชื้อปรสิตที่ส่งโดยตรงต่ออวัยวะภายในช่องท้อง) จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • สุนัขมีอาการเบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • สุนัขจะมีการอาเจียน และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
  • จะมีเลือกกำเดาไหลออกมาจากจมูกของสุนัขอยู่เป็นประจำ
  • สุนัขมีอาการหอบ และเหนื่อยง่าย

2. แบบ Cutaneous (เชื้อปรสิตที่ส่งโดยตรงต่อผิวหนังของสุนัข) จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังของสุนัขจะแห้งกร้าน และมีขนร่วงหลุดตามตัวอยู่ตลอดเวลา
  • จะมีตุ่มนูนๆ เกิดขึ้นตามตัวของสุนัข
  • สีผิวหนังของสุนัขจะมีสีที่เปลื่ยนแปลงไปจากปกติ
  • มีแผลบาดเกิดขึ้นตามตัวของสุนัข
  • เล็บของสุนัขจะค่อยๆ ยาวขึ้นอย่างรวดเร็ว และเล็บของสุนัขจะเปราะบางเป็นอย่างมาก
โรค Leishmania ในสุนัขอาการ

ในกรณีขั้นร้ายแรง

ในกรณีขั้นร้ายแรงที่เชื้อปรสิตได้แพร่กระจายตัวเข้าไปในร่างกายของสุนัขเป็นจำนวนมากจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะซูบผอมลงจนเหลือแต่กระดูก
  • สุนัขจะมีอาการกระตุกอยู่ตลอดเวลา
  • สุนัขจะมีอาการไตวายเกิดขึ้น
  • สุนัขจะมีอาการเจ็บปวดร้าวไปทั้งตัว โดยเฉพาะในส่วนของข้อต่อและส่วนของกล้ามเนื้อ ซึ่งมันจะทำให้สุนัขรู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าร่างกายของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ในกรณีที่สุนัขป่วยเป็นโรค Leishmania ขึ้นมา ค่าระดับโปรตีน gammaglobulin กับค่าเอนไซม์ในตับของสุนัข จะมีค่าที่สูงเป็นอย่างมาก
  • หลังจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อบางส่วนจากผิวหนัง ,ม้าม ,ไขกระดูกของสุนัข เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อที่ห้องปฏิบัติการว่าสุนัขติดเชื้อปรสิตประเภทไหนกันแน่น
วิธีรักษาโรค Leishmania ในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการรวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอ
  • ในกรณีที่สุนัขไม่ได้รับเชื้อเข้าไปมากหลังจากรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัขตัวนั้น ให้เป็นเมนูอาหารที่ย่อยง่าย และมีโปรตีนสูงเป็นอาหารสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคไตโดยเฉพาะ
  • และทางสัตวแพทย์ก็จะทำการนัดให้สุนัขกลับเข้ามาพบอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูอาการต่างๆ หล้งจากที่รักษาไป เป็นเวลาประมาณ 2 เดือนได้
  • หน้าที่ของคุณก็คือ การพาสุนัขของคุณกลับเข้ามาพบตามที่ทางสัตวแพทย์ได้นัดไว้อยู่เป็นประจำ ห้ามขาดโดยเด็ดขาด เพราะโรคนี้ถึงแม้ว่าจะรักษาจนสุนัขหายดีแล้ว แต่ก็ยังมีเชื้อโรคบางส่วนยังคงเหลืออยู่ในร่างกายของสุนัขซึ่งมันจะทำให้สุนัขของคุณ มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้อีกในครั้งที่สองได้
  • ถ้าในกรณีที่สุนัขมีอาการหนักมากเป็นอย่างมาก ร่างกายของสุนัขผอมแห้งและเชื้อโรคได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งตัวแล้ว สุนัขมีอาการติดเชื้อติดต่อกันเวลานานแล้ว ทางสัตวแพทย์จะขอให้ทางเจ้าของสุนัขทำการพิจารณาทบทวนการการุณยฆาตสุนัข เพื่อไม่ให้สุนัขต้องได้รับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานอีกต่อไป