อาการตาตกในสุนัข

อาการตาตกในสุนัข

บทนำ

อาการตาตกในสุนัข หรือ Horner’s syndrome ในสุนัข เป็นอาการที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่เส้นประสาทของสุนัข ส่งผลทำให้ดวงตาของสุนัขตกลง  

รวมถึงทำให้มีเปลือกตาบางส่วนยื่นออกมาจากดวงตาของสุนัข หรืออาการม่านตาของสุนัขหดตัวลงอย่างรุนแรง

และนอกจากนี้สุนัขที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บทางสมอง รวมถึงมีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน

อีกทั้งอาการตาตกในสุนัขยังส่งผลโดยตรงต่อระบบหูชั้นกลางของสุนัขอีกด้วย อาการตาตกของสุนัขสามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกเพศทุกวัย รวมถึงสุนัขทุกสายพันธุ์

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขสายพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (golden retriever) ตัวผู้จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกัน

อาการต่างๆ ของโรค horner's syndrome ในสุนัข

เมื่อสุนัขมีอาการตาตกจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ม่านตาของสุนัขจะหดตัวลง
  • หนังตาของสุนัขจะยื่นโผล่ออกมาจากดวงตาของสุนัข
  • หนังตาส่วนบนของสุนัขจะหย่อนตัวลงมา
  • ดวงตาของสุนัขจะบุ๋มลงไปในเบ้าตา
  • มีการอักเสบเกิดขึ้นที่หูของสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคตาตก

  • มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่สมองของสุนัข
  • มีเนื้องอกเกิดขึ้นในสมองของสุนัข
  • สุนัขติดเชื้อบางอย่าง
  • สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง

วิธีรักษาโรค horner's syndrome ในสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านี้หรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรออกมาบ้าง อาการดังกล่าวเป็นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือด กับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัข มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการ x ray ภาพถ่ายทางรังสีไปที่สมอง กับไขสันหลังของสุนัข เพื่อประเมินดูว่าสมองกับไขสันหลังของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการ CT scan ไปที่กระโหลกของสุนัข เพื่อประเมินว่าในตอนนี้ช่องหูของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ในกรณีที่ทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่าไขสันหลังของสุนัขกำลังมีปัญหาอยู่ ก็จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนจากน้ำไขสันหลังของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการอีกทีหนึ่ง

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจออย่างเช่น

  • ถ้าพบว่าช่องหูของสุนัขมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ก็จะหาวิธีลดอาการติดเชื้อในช่องหูของสุนัข รวมถึงจะใช้ยาปฏิชีวนะประเภทต่างๆ เข้ามาช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับช่องหูของสุนัข
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นในสมองของสุนัข ก็จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกก้อนนั้นออกมาจากสมองของสุนัข