ภาวะลำไส้อักเสบในสุนัข (Histiocytic ulcerative colitis)

ภาวะลำไส้อักเสบในสุนัขบ็อกเซอร์

บทนำ

ภาวะลำไส้อักเสบในสุนัข หรือโรค Histiocytic ulcerative colitis ในสุนัข สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้จะทำให้เยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่เกิดการหนาตัวขึ้น

จากการสะสมของเซลล์ชั้นต่างๆ ที่อยู่ภายในลำไส้ของสุนัข อาการดังกล่าวจะทำให้สุนัขมีอาการท้องเสีย และขับถ่ายออกมาเป็นเลือด

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ บ๊อกเซอร์ (Boxer) มากกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ

เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบชนิด Histiocytic ulcerative colitis จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการท้องผูกขับถ่ายบ่อย แต่อุจจาระที่ออกมานั้นมีปริมาณเพียงเล็กน้อย
  • สุนัขจะใช้การเบ่งและขับถ่ายเป็นเวลานาน
  • สุนัขจะมีอาการท้องเสียอย่างเรื้อรังติดต่อกันมากกว่า 2 – 3 วัน รวมถึงอุจจาระที่ขับถ่ายออกมานั้น จะมีลักษณะเป็นมูกกับมีเลือดปะปนออกมา
  • สุนัขจะมีอาการอาเจียน และเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรค Histiocytic ulcerative colitis

  • สุนัขติดเชื้อปรสิต เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อราบางประเภท
  • สุนัขเผลอไปกลืนสิ่งแปลกปลอมบางอย่างเข้าไปในร่างกาย จนทำให้ลำไส้ของสุนัขเกิดการอักเสบขึ้นมา
  • สุนัขป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
  • สุนัขป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

อาการของโรคลำไส้อักเสบในสุนัขบ็อกเซอร์

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของสุนัขบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่ช่องท้องของสุนัข เพื่อดูว่าลำไส้ของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ลำไส้ของสุนัขมีการขยายตัวไปถึงไหนแล้ว
  • สุดท้ายทางสัตวแพทย์จะนำอุจจาระของสุนัข ไปตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อดูว่าสุนัขติดเชื้อจากพยาธิ เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราชนิดไหนกันแน่น

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการ รวมถึงสาเหตุที่ควรพบเจออย่างเช่น

  • ถ้าพบว่าสุนัขติดเชื้อจากพยาธิแส้ม้า หรือพยาธิปากขอ ทางสัตวแพทย์ก็จะใช้ยาสำหรับกำจัดพยาธิชนิดนั้นๆ ให้สุนัขทาน
  • แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักจะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง ทางสัตวแพทย์จึงต้องให้สารน้ำกับสุนัข เพื่อเป็นการชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากร่างกายของสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขเกิดภาวะขาดน้ำขึ้นมาได้
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ทางสัตวแพทย์จะสั่งให้งดอาหารเป็นเวลาประมาณ 1 – 2 วัน เพื่อให้ลำไส้ของสุนัขได้หยุดพัก และทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขได้อยู่เฝ้าดูอาการต่อที่โรงพยาบาลก่อน จะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้
  • ถ้าตรวจพบว่าลำไส้ของสุนัขมีอาการอักเสบจากการติดเชื้อรา ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบโดยเฉพาะ
  • โดยเมนูดังกล่าวจะเน้นไปที่อาหารที่ให้โปรตีนและมีกากใยอาหารที่สูง รวมถึงยังเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่าย และยังช่วยถนอมลำไส้ของสุนัขอีกด้วย ถ้าสุนัขทานอาหารเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จะช่วยให้ลำไส้ของสุนัขฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น

วิธีรักษาโรคลำไส้อักเสบในสุนัขบ็อกเซอร์

วิธีป้องกันโรคลำไส้อักเสบชนิด Histiocytic ulcerative colitis ในสุนัข

  • สำหรับการป้องกันโรคนี้คุณสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ สะอาด และย่อยได้ง่าย
  • อย่าเปลื่ยนสูตรอาหารของสุนัขโดยทันที เพราะจะทำให้ลำไส้ของสุนัขปรับตัวไม่ทัน จนเกิดอาการท้องเสียขึ้นมาได้
  • ปิดฝาถังขยะของคุณให้มิดชิดอยู่เป็นประจำ หลังจากที่คุณใช้เสร็จ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณไปเขี่ยเศษอาหารสกปรก ที่อยู่ภายในถังขยะขึ้นมากินได้
  • หมั่นทำความสะอาดพื้นที่ในบ้าน รวมถึงพื้นที่ที่สุนัขพักอาศัยอยู่เป็นประจำ รวมถึงให้คุณคอยสำรวจดูว่า มีสิ่งแปลกปลอมอะไรตกอยู่ตามพื้นหรือเปล่า ถ้ามีให้คุณรีบเก็บสิ่งของสิ่งไหนโดยทันที เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณเผลอไปกลืนสิ่งของที่ตกอยู่ตามพื้นเหล่านั้นได้