โรคตับอักเสบเรื้อรังในสุนัข

โรคตับอักเสบเรื้อรังในสุนัข

บทนำ

โรคตับอักเสบเรื้อรังในสุนัข หรือ hepatitis ในสุนัข เป็นอาการที่ตับของสุนัขมีอาการอักเสบอย่างเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน

โดยเซลล์ในตับของสุนัขจะค่อยๆ สร้างเนื้อเยื่อไฟบรัสขึ้นมาจากต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนเป็นเหตุทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตับสุนัขมีประสิทธิภาพที่ลดลงกว่าปกติเป็นอย่างมาก

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเกิดกับ สุนัขเบดลิงตัน เทอร์เรียร์ (Bedlington Terrier) มากกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกัน รวมถึงสุนัขตัวเมียจะมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคนี้ได้มากกว่าสุนัขตัวผู้ถึง 2 – 3 เท่าด้วยกัน

เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการเบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
  • เหงือของสุนัขจะเปลื่ยนจากสีปกติกลายเป็นสีเหลือง
  • สุนัขจะดื่มน้ำอยู่ตลอดเวลา และมีการขับถ่ายปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ
  • ช่องท้องของสุนัขจะมีอาการบวมโตเพราะมีน้ำสะสมอยู่ในช่องท้องเป็นจำนวนมาก
  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึมและมีอาการชักอยู่เป็นประจำ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง

  • ผลข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด
  • สุนัขป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
  • สุนัขได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอย่างเช่น ยาเบื่อหนู
  • สุนัขเกิดการติดเชื้อจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียบางประเภท

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหรือเปล่า สุนัขมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง
  • ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข รวมถึงตรวจหาค่าอิเล็คโทรไลท์ต่าง ๆ ในร่างกายของสุนัข
  • การตรวจทั้ง 3 ค่านี้จะทำให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่าตอนนี้การทำงานของไตสุนัขเป็นอย่างไรบ้างมีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือไตได้รับความเสียหายไปเท่าไหร่แล้ว
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอ็กซ์เรย์ และตรวจอัลตราซาวน์ให้กับสุนัข เพื่อดูว่ารูปร่างตับของสุนัขในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
  • ระดับความรุนแรงของโรคนี้จะเปลื่ยนไปตามรูปร่างตับของสุนัข รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนของตับสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการอีกทีหนึ่ง

วิธีรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังของสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการหนักเป็นอย่างมาก ทางสัตวแพทย์จะให้สารน้ำเสริมเข้าไปในร่างกายของสุนัข
  • โดยภายในสารน้ำจะประกอบไปด้วย วิตามินบี , โพแทสเซียม และน้ำตาลเด็กซ์โตรส สารอาหารเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของสุนัขลงได้
  • ทางการแพทย์ถือว่าโรคตับอักเสบเรื้อรังในสุนัข เป็นโรคที่ร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก ทางสัตวแพทย์ต้องคอยดูแลอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด
  • จึงทำให้ในช่วงนี้ทางสัตวแพทย์จะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้ จะให้สุนัขอยู่เฝ้ารักษาตัวที่โรงพยายามก่อน และเมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ถึงจะอนุญาตให้สุนัขกลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าบริเวณช่องท้องของสุนัขมีของเหลวสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ทางสัตวแพทย์จะใช้ยาสำหรับขับของเหลวเหล่านี้ ให้ออกไปจากร่างกายของสุนัข
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีภาวะสมองบวม กับมีอาการชักร่วมด้วย ทางสัตวแพทย์ก็จะให้ยาควบคุมอาการชักกับสุนัข รวมถึงจะทำการดูดซึมแอมโนเมียออกจากร่างกายของสุนัข
  • ทางสัตวแพทย์จะให้ตัวเสริมแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) เข้าไปในร่างกายของสุนัข เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัข
  • หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษาแล้วทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารที่ให้สารอาหารอย่างครบถ้วน ย่อยได้ง่ายและมีโซเดียมต่ำ รวมถึงจะให้อาหารเสริมวิตามินต่างๆ เพื่อนำมาบำรุงร่างกายของสุนัข ในระหว่างสุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่

วิธีดูแลสุนัขที่ป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง

วิธีดูแลสุนัขในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่

  • ในช่วงพักฟื้นร่างกาย คุณควรให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารมื้อเล็กๆ ไปตลอด
  • หลีกเลี่ยงห้ามไม่ให้สุนัขของคุณทานอาหารในปริมาณมากๆ โดยเด็ดขาด รวมถึงอาหารที่สุนัขของคุณสามารถทานได้นั้น ต้องเป็นอาหารที่ทางสัตวแพทย์แนะนำแต่เพียงเท่านั้น ห้ามทานอาหารชนิดอื่นโดยเด็ดขาด
  • ในกรณีที่สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หลังจากที่ทางสัตวแพทย์รักษาจากอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้ว สุนัขของคุณจะมีอาการเบื่ออาหารที่รุนแรงเป็นอย่างมาก
  • ถ้าคุณพบว่าในระหว่างที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่นั้น สุนัขของคุณมีอาการเบื่ออาหารอย่างรุนแรง หรือสุนัขของคุณไม่กินอาหารใดๆ เลยติดต่อกันมากกว่า 5 – 6 วัน
  • ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพราะบางทีอาจจะจำเป็นต้องใช้วิธีการให้อาหารผ่านทางท่อกับสุนัขแล้ว เพื่อให้ร่างกายของสุนัขสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น