มะเร็งหลอดเลือดในสุนัข

มะเร็งหลอดเลือดในสุนัข

บทนำ

มะเร็งหลอดเลือดในสุนัข หรือเนื้องอกชนิด Hemangiopericytoma ในสุนัข เป็นเซลล์มะเร็งที่มีความรุนแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก เซลล์มะเร็งชนิดนี้จะสร้างผลกระทบต่อหลอดเลือดฝอยที่ภายใต้ชั้นผิวหนังของสุนัข

เนื้องอกชนิด Hemangiopericytoma จัดเป็นเนื้องอกที่ไม่สามารถแพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขได้ แต่เป็นเนื้องอกที่ค่อยๆ เจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนมีขนาดใหญ่โต

และเมื่อก้อนเนื้อมีขนาดที่ใหญ่โตมากๆ แล้ว มันจะไปโดนอวัยวะส่วนอื่นๆ ภายในร่างกายของสุนัข จนทำให้อวัยวะเหล่านั้นหยุดทำงานลงได้

ในกรณีขั้นร้ายแรงถ้าเกิดว่าเนื้องอกได้ขยายตัวไปโดนปอดกับหัวใจของสุนัข มันจะส่งผลทำให้สุนัขตัวนั้นเสียชีวิตลงได้เลย

โดยส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกชนิดนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธ์เล็กมากกว่าสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดตัวโต ข้อดีของเนื้องอกชนิดนี้ ถ้าสุนัขของคุณตรวจพบเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็จะสามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัดเอาเนื้อก้อนชิ้นนั้นออกมา

เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรค Hemangiopericytoma จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • จะมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นที่บริเวณขาของสุนัข หรือบางทีก้อนเนื้ออาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณท้องของสุนัขก็ได้เหมือนกัน
  • จะมีบาดแผลเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นมา
  • ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นตรงบริเวณขา หรือตรงบริเวณท้อง จะค่อยๆ มีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

อาการโรคมะเร็งหลอดเลือดในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

ทางการแพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าสาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้เกิดจากสาเหตุใด แต่ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเจอนั้น มักจะพบได้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กอย่างเช่น

  • สุนัขบีเกิล (Beagle)
  • ปั๊ก (Pug) 
  • บูลด็อก(Bulldog)

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะทำการสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขว่าอาการอะไรบ้างแล้ว สุนัขมีอาการเหล่านั้นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของสุนัขบ้าง
  • เสร็จแล้วทางสัตวแพทย์ก็จะทำการตรวจเอ็กซ์เรย์ ที่ช่องท้องกับขาของสุนัข ควบคู่กับการทำ CT scan กับตรวจด้วยเครื่อง MRI ที่ร่างกายของสุนัข เพื่อดูว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นตรงบริเวณส่วนไหนหรือเปล่า
  • ถ้าพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นตรงบริเวณส่วนไหนในร่างกายของสุนัข ก็จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนของเนื้องอกชิ้นนั้น เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดอีกทีหนึ่งว่า ตกลงแล้วเนื้องอกชิ้นนั้น เป็นเนื้องอกประเภทไหนกันแน่น

วิธีรักษาโรคมะเร็งหลอดเลือดในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ในกรณีที่ตรวจพบในระยะแรก

สำหรับโรคนี้ถ้าตรวจพบในระยะแรก โดยที่ก้อนเนื้องอกยังมีขนาดที่เล็กอยู่ ทางสัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกชิ้นนั้นออกมา

รวมถึงจะนัดให้คุณพาสุนัขกลับเข้ามาพบอยู่เป็นประจำ เพื่อทำการฉายรังสีให้กับสุนัข จากกรณีศึกษาพบว่า อาการต่างๆ ของสุนัขจะเริ่มดีขึ้น เมื่อได้ผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกมา และได้ทำการฉายรังสีอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่พบในระยะหลังๆ

ในกรณีที่พบว่าก้อนเนื้องอกชิ้นนั้นมีขนาดที่ใหญ่โตมาก จนไม่สามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาได้ ทางสัตวแพทย์จะเปลื่ยนวิธีไปใช้วิธีการเคมีบำบัด กับการฉายรังสีแทน เพื่อไม่ให้เนื้องอกขยายตัวมากขึ้นอีก

รวมถึงทางสัตวแพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ มาให้สุนัขทานในระหว่างที่ทำการพักฟื้นร่างกายอยู่

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • โรคนี้ถึงแม้ว่าจะรักษาให้หายได้แล้ว สุนัขก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ คุณควรหมั่นพาสุนัของคุณไปตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ เผื่อพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้น จะได้ทำการผ่าตัดในทันที
  • ถ้าเนื้องอกชนิดนี้เกิดขึ้นที่ขาของสุนัข ทางสัตวแพทย์อาจจะจำเป็นต้องตัดขาของสุนัขออกทั้งขาเลย
  • ถ้าเนื้องอกชนิดนี้เกิดขึ้นกับสุนัขวัยชรา ทางสัตวแพทย์จะหลีกเลี่ยงการผ่าตัดให้กับสุนัข เพราะสภาพร่างกายของสุนัขไม่อาจทนต่อการผ่าตัดได้ จะเปลื่ยนไปใช้วิธีเคมีบำบัด กับการฉายแสงแทน