โรคเหงือกในสุนัข

โรคเหงือกในสุนัข

บทนำ

โรคเหงือกในสุนัข หรือ โรคปริทนต์ (periodontal disease) เป็นโรคที่เกี่ยวกับมีการอักเสบเกิดขึ้นกับบริเวณรอบๆ ตัวฟันของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ รากฟัน เนื้อฟัน รวมถึงเหงือกของสุนัข

โดยปกติแล้วสุนัขทุกตัวมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เพราะภายในช่องปากของสุนัขมีเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก

และเมื่อสุนัขได้ทานอาหารเข้าไปในร่างกายจะมีเศษอาหารบางส่วนที่สุนัขเคี้ยวไม่หมดจนเหลือเป็นเศษอาหาร เศษอาหารพวกนี้จะเข้าไปตกค้างอยู่ในซอกฟันของสุนัข

ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้จะไปทำปฏิกิริยาบางอย่างกับเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในช่องปากของสุนัข จนทำให้เกิดเป็น คราบพลัค (plaque) รวมถึงคราบหินปูนขึ้นมาได้

และถ้าคุณไม่ยอมพาสุนัขของคุณไปรักษาอาการเหล่านี้ มันจะส่งผลทำให้สุนัขของคุณมีอาการเหงือกอักเสบขึ้นมาได้

โรคปริทนต์ในสุนัข

อาการของโรคปริทนต์ถูกแบ่งออกมาได้ 4 ระยะได้แก่

  1. เหงือกของสุนัขเกิดการอักเสบ
  2. เหงือกของสุนัขจะร่นลงตามแต่ระยะ โดยระยะที่ 2 สุนัขจะสูญเสียเหงือกไปประมาณ 25% ส่วนระยะที่ 3 สุนัขจะสูญเสียเหงือกไปประมาณ 35% ส่วนระยะที่ 4 สุนัขจะสูญเสียเหงือกไปมากกว่า 50%

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจช่องปากของสุนัขอย่างละเอียด โดยจะดูว่าเหงือกของสุนัขมีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ไหนแล้ว เหงือกของสุนัขร่นเข้าไปในระดับไหนแล้ว
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย (X-ray) ที่ช่องปากของสุนัข เพื่อดูสภาพเหงือกโดยรวมของสุนัขว่าเป็นอย่างไรบ้าง สุนัขสูญเสียเหงือกไปเท่าไหร่แล้ว ฟันของสุนัขเกิดเป็นโรคปริทนต์กี่ซี่แล้ว
  • รวมถึงการ X-ray ยังสามารถทำให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่ารากฟันของสุนัขเกิดการเป็นหนองอยู่หรือไม่

วิธีรักษาโรคเหงือกในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

โรคปริทันต์ในระยะแรก

  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าช่องปากของสุนัขเป็นโรคปริทันต์ในระยะแรก ขั้นตอนการรักษาก็จะทำได้ง่ายกว่าโรคปริทันต์ในระยะอื่นๆ
  • โดยทางสัตวแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากของสุนัขให้สะอาดหมดจด ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟัน การกำจัดคราบหินปูนต่างๆ ที่เกาะอยู่บนฟันของสุนัข เพียงเท่านี้ก็สามารถรักษาโรคปริทันต์ในระยะแรกได้แล้ว

โรคปริทันต์ในระยะที่ 2 – 4

  • ถ้าตรวจพบว่าช่องปากของสุนัขเป็นโรคปริทันต์ในระยะ 2 – 4 ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา
  • โดยทางสัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาฟันบางส่วนออก เพื่อที่จะได้ทำการขูดหินปูน
  • ส่วนในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีฟันผุอย่างรุนแรง ก็จะทำการผ่าตัดเอาฟันซี่นั้นออกมา เพื่อจะเป็นการช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ ในระหว่างที่สุนัขกำลังรับประทานอาหาร

วิธีป้องกันโรคเหงือกในสุนัข

  • สำหรับวิธีป้องกันโรคเหงือกในสุนัขนั้นคุณสามารถทำได้อย่างง่ายๆ โดยการให้คุณหมั่นแปรงฟันให้กับสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำ หรือสัปดาห์ละประมาณ 2  – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะกำลังดีเลย
  • ในกรณีที่คุณไม่แน่นใจว่าควรแปรงฟันให้กับสุนัขของคุณกี่ครั้งดี คุณก็อาจจะพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพช่องปากกับทางสัตวแพทย์ก่อน แล้วให้ทางสัตวแพทย์ประเมินว่า สุนัขของคุณควรแปรงฟันกี่ครั้งต่อสัปดาห์ถึงจะกำลังดี
  • ถ้าเป็นไปได้คุณควรฝึกแปรงฟันให้กับสุนัขของคุณ ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นลูกสุนัขเลย เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้แปรงสีฟัน คุณสามารถเริ่มฝึกให้ลูกสุนัขแปรงฟันครั้งแรกได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุตั้งแต่ 3 – 4 เดือนขึ้นไป