ปัจจัยที่ทำให้สุนัขรู้สึกร้อน หนาวแตกต่างกันไป

ทำอะไรทำให้สุนัขรู้สึกร้อนกับหนาวขึ้นมาได้

บทนำ

น่าจะมีหลายคนที่เลี้ยงสุนัขพวกคุณคงจะเคยสงสัยกันว่าสุนัขของเรานั้นมีความรู้สึกร้อน หรือหนาวเหมือนกับมนุษย์อย่างพวกเราไหม สำหรับคำตอบก็คือ สุนัขก็มีความรู้สึกร้อนกับหนาวได้เหมือนกับมนุษย์อย่างพวกเราเลย

แต่จะแตกต่างกันตรงที่สุนัขจะไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนกันมนุษย์อย่างพวกเรา จึงทำให้ร่างกายของสุนัขไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเหมือนกับมุนษย์อย่างพวกเรา

จึงทำให้สุนัขไม่สามารถกะความร้อน กับความหนาวได้เหมือนกับพวกเราตัวอย่างเช่น พวกเราสามารถสัมผัสความรู้สึกได้ว่าอากาศภายในห้องนี้ อุ่น ร้อน ร้อนจนเกินไป เย็นสบาย หนาว หนาวมากๆ ได้

แต่สำหรับสุนัขพวกมันไม่สามารถกะความร้อน ความหนาวเหล่านี้ได้ สำหรับสุนัขจะเป็นแบบไม่รู้สึกร้อน ก็รู้สึกหนาวไปเลย รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้สุนัขรู้สึกร้อน หนาวแตกต่างกันไป ก็มีได้หลายหลากปัจจัยไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ ,เส้นขน ,ขนาดตัว สำหรับบทความนี้เรามาเรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้สุนัขรู้สึกร้อนกับหนาวกันดีกว่า

สุนัขรู้สึกหนาว

ปัจจัยที่ทำให้สุนัขรู้สึกร้อนและหนาวแตกต่างกันไป

1. ลักษณะของเส้นขน

สำหรับสุนัขที่มีขนหนา หรือมีขนถึงสองชั้นด้วยกันสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้จะมีความทนทานต่อสภาพอากาศหนาวได้เป็นอย่างดีอย่างเช่น สุนัขสายพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ ,ซามอยด์

โดยสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเขตประเทศแดนหนาว จึงทำให้สภาพขนโดยธรรมชาติของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้มีขนที่หนากว่าปกติ แถมรูปร่างของพวกมันก็ยังทนต่อสภาพอากาศที่หนาวจัดและหิมะได้เป็นอย่างดี

แต่สำหรับในประเทศไทยที่มีสภาพอากาศร้อนจัดติดต่อกันเกือบตลอดทั้งปี มันจะทำให้สุนัขสายพันธุ์เหล่านี้รู้สึกร้อนอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นถ้าคุณเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้อยู่ คุณควรเปิดแอร์ให้สุนัขของคุณอยู่เป็นประจำ เพื่อให้สุนัขของคุณรู้สึกเย็นสบายตัวอยู่เป็นประจำ

แต่ในทางกลับกันถ้าเป็นสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นเกรียนอย่างเช่น สุนัขเกรย์ฮาวน์ ,สุนัขพันทาง ,สุนัขสายพันธุ์ไทย สุนัขสายพันธุ์เหล่านี้จะค่อนข้างทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คุณจึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้กับสุนัขของคุณเลย

2. สีขนของสุนัข

โดยปกติแล้วสุนัขที่มีขนสีอ่อนอย่างเช่น สีครีม ,สีขาว สุนัขที่มีขนสีเหล่านี้จะทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าสุนัขที่มีขนสีเข้มอย่างเช่น ขนสีดำ ,สีน้ำตาล

เพราะขนสีเข้มเหล่านี้จะเป็นตัวเก็บความร้อนได้เป็นอย่างดี จีงทำให้สุนัขที่มีขนสีเข้มมักจะรู้สึกร้อนอยู่เป็นประจำเมื่อต้องเจอกับแสงแดดข้างนอก

สุนัขตัวเล็กระบายความร้อนได้ดีกว่าสุนัขตัวใหญ่

3. ขนาดตัวของสุนัข

สุนัขที่มีขนาดตัวเล็ก หรือสุนัขสายพันธุ์เล็กจะมีระบบระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังได้ดีกว่าสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดตัวใหญ่ จึงทำให้สุนัขสายพันธุ์เล็กเหมาะที่จะเลี้ยงในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนจัดตลอดทั้งปี

4. น้ำหนักตัวของสุนัข

สุนัขที่มีน้ำหนักตัวน้อยจะทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักตัวมาก แต่ในทางกลับกันสุนัขที่มีน้ำหนักตัวมากจะทนต่อสภาพอากาศหนาวได้ดีกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักตัวน้อย

เพราะชั้นไขมันที่อยู่ในร่างกายของสุนัขจะทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายของสุนัขในเวลาที่มีอากาศหนาวจัดได้เป็นอย่างดี

5. การปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม

สุนัขที่เกิดหรืออาศัยอยู่ในเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่องนั้น จะทำให้ร่างกายของสุนัขสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่หนาวจัดได้เป็นอย่างดี

รวมถึงสุนัขบางสายพันธุ์ที่เป็นสุนัขเมืองหนาว ถ้าคุณพาสุนัขเหล่านี้มาอยู่ในประเทศไทย ที่มีอากาศร้อนจัดเป็นเวลานานๆ เข้าร่างกายของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อนจัดของประเทศไทยก็ได้เหมือนกัน

สุนัขอายุเยอะรู้สึกหนาวได้ง่ายกว่า

6. สุขภาพกับอายุ

สุขภาพกับอายุก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สุนัขแต่ละตัวทนความร้อน กับความหนาวได้ไม่เหมือนกัน

สำหรับลูกสุนัข ,สุนัขวัยชรา รวมถึงสุนัขที่กำลังป่วยอยู่ สุนัขเหล่านี้จะรู้สึกหนาวได้ง่ายกว่าสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรงดี หรือสุนัขที่เติบโตเต็มวัยเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว

7. ความเปียกและความชื้น

อันนี้จะคล้ายๆ กับของมนุษย์ สุนัขก็รู้สึกหนาวขึ้นมาได้เหมือนกัน เมื่อพวกมันตัวเปียกจากการตากฝนเป็นเวลานานๆ หรือให้แช่น้ำเย็นเป็นเวลานานๆ

8. เมฆหนากับเมฆครื้ม

ถ้าวันไหนมีก้อนเมฆปกคลุมแสงแดดบนท้องฟ้าจนหมด จนวันนั้นแทบจะไม่มีแสงแดดสอดส่องลงมาถึงพื้นเลย วันนั้นก็ทำให้สุนัขรู้สึกหนาวขึ้นมามากกว่าปกติได้เหมือนกัน

รวมถึงถ้าอุณหภูมิในห้องที่สุนัขอาศัยอยู่เปลื่ยนไปเพียงเล็กน้อยไม่ว่าจะร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือเย็นขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้สุนัขรู้สึกร้อนหรือหนาวขึ้นมาได้เหมือนกัน

อย่าให้สุนัขออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศร้อนจัด

9. การออกกำลังกายของสุนัข

การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของสุนัขขึ้นสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งมันจะทำให้ร่างกายของสุนัขทนต่อสภาพอากาศร้อนได้น้อยลง

ดังนั้นถ้าเกิดว่าวันไหนบ้านของคุณมีอากาศที่ร้อนจัดเป็นอย่างมาก คุณควรงดการเล่น หรือการออกกำลังกายของสุนัขลง

เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณเกิดป่วยเป็นโรคลมแดดขึ้นมาในระหว่างออกกำลังกายเพราะในร่างกายของสุนัขระบายความร้อนไม่ทันได้

แต่ถ้าในวันนั้นคุณอยากเล่นกับสุนัขของคุณเป็นอย่างมาก คุณก็อาจจะใช้วิธีเปิดแอร์ให้อากาศในห้องของคุณเย็นก่อน แล้วคุณค่อยเล่นกับสุนัขของคุณ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับอากาศร้อนของสุนัขในประเทศไทย

จากที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นสุนัขแต่ละตัวนั้น จะมีความสามารถในการทนความร้อนได้แตกต่างกันไป ซึ่งสุนัขบางตัวก็สามารถทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี แต่กับสุนัขบางตัวก็มีความสามารถในการทนอากาศร้อนๆ ได้เพียงเล็กน้อย

แต่เกณฑ์โดยรวมแล้วจากงานวิจัยกับกรณีศึกษาต่างๆ พบว่าสุนัขที่วิ่งเล่นในพื้นที่ที่อากาศร้อนจัดๆ กลางแจ้งที่มีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 34 องศาเซลเซียสขึ้นไปติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 15 – 20 นาที จะมีโอกาสทำให้สุนัขตัวนั้นเป็นภาวะขาดน้ำ กับโรคลมแดด (Heatstroke) ขึ้นมาได้

เพราะร่างกายของสุนัขไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

ดังนั้นถ้าวันไหนที่คุณรู้สึกวันนี้เป็นวันที่อากาศร้อนจัดเป็นอย่างมาก คุณควรงดกิจกรรมทุกอย่างที่ทำให้ร่างกายของสุนัขเกิดความร้อนสะสมเข้ามา

คุณควรเปิดแอร์ในห้องของคุณ หรือคุณอาจจะเปิดพัดลมกับเปิดหน้าต่างให้อากาศในบ้านของคุณถ่ายเทได้สะดวก วิธีนี้จะเป็นการช่วยคลายร้อน กับช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคลมแดดของสุนัขได้เป็นอย่างดีเลย