อาการตากระตุกในสุนัข

อาการตากระตุกในสุนัข

บทนำ

อาการตากระตุกในสุนัข เป็นอาการที่ดวงตาของสุนัขเกิดการกระตุกอยู่ตลอดเวลา เป็นอาการที่สุนัขไม่สามารถควบคุมได้ โดยอาการดังกล่าวเป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่า สุนัขกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบประสาทของสุนัข

อาการตากระตุกในสุนัขนั้นจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันได้แก่

  1. เป็นการกระตุกตาแบบช้าๆ ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก่อนที่จะกระตุกกลับมาอย่างรวดเร็ว
  2. เป็นการกระตุกแบบมีอาการสั่นที่ลูกตาเพียงอย่างเดียว 

โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคตากระตุกแบบที่ 1 ได้มากกว่าตากระตุกแบบที่ 2 และนอกจากนี้สุนัขจะยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่าง อาการคอเอียง เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้สุนัขเกิดอาการตากระตุก

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการตากระตุก

  • สุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบประสาทการทรงตัวของสุนัข เป็นได้ทั้งประสาทการทรงตัวส่วนกลาง และก็ส่วนปลาย
  • สุนัขป่วยเป็นโรคภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
  • สุนัขได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรงอย่างเช่น การถูกรถชน เป็นต้น
  • มีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในร่างกายของสุนัข
  • สุนัขขาดวิตามินบีติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สุนัขติดเชื้อไวรัสบางประเภท
  • สุนัขป่วยเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • สุนัขได้รับสารพิษจากสารตะกั่วอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ผ่านการสูดดม ตัวอย่างเช่น สุนัขต้องนั่งดมสีทาบ้านติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีเลือดออกที่หัวใจของสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรอยู่ก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขเคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆ หรือไม่สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการเจาะไขสันหลังของสุนัข เพื่อนำน้ำไขสันหลังบางส่วนของสุนัข ไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติอีกทีหนึ่ง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะใช้วิธี x-ray (รังสีวินิจฉัย) ควบคู่กับการทำ CT-scan (เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์) เพื่อตรวจสอบสมองของสุนัขว่า มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับสมองของสุนัขหรือไม่
  • ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขติดเชื้อแบคทีเรียชนิดไหนอยู่หรือเปล่า

วิธีรักษาอาการตากระตุกในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอ
  • ถ้าทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่าสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบประสาทการทรงตัวส่วนกลางของสุนัข ทางสัตวแพทย์ก็จะดูแลสุนัขเป็นพิเศษ จะคอยเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด ในช่วงนี้ทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลก่อน จะยังไม่อนุญาตให้กลับบ้านได้
  • โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขที่มีอาการตากระตุก จะมีอาการเบื่ออาหาร กับอาเจียนร่วมด้วย ทางสัตวแพทย์จึงจำเป็นต้องให้สารน้ำผ่านทางสายเลือดของสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขมีภาวะขาดน้ำขึ้นมาได้
  • หลังจากรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการต่างๆ มาให้สุนัขของคุณได้ทานในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่
  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่นั้น ทางสัตวแพทย์จะทำการนัดให้สุนัขกลับเข้ามาพบอยู่เป็นประจำ เพื่อดูว่าหลังจากที่รักษาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้วหรือยัง

วิธีป้องกันอาการตากระตุกในสุนัข

ถ้าแม้ว่าทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอาการตากระตุกของสุนัขเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักจะมีประวัติการได้สัมผัสกับสารตะกั่วติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน รวมถึงการได้สัมผัสกับสารพิษประเภทต่างๆ

ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ให้คุณหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขของคุณต้องสัมผัสกับสารพิษเหล่านี้เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ หรือห้ามไม่ให้สุนัขของคุณเข้าใกล้สารตะกั่วประเภทต่างๆ อย่างเช่น สีทาบ้าน ,แบตเตอรี่รถยนต์ ,ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น