บทนำ
สมองอักเสบในสุนัข หรือ encephalitis เป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับสมองของสุนัข
โดยการอักเสบนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบได้แก่
1. การอักเสบที่ไขสันหลังของสุนัข
2. การอักเสบที่เยื้อหุ้มสมองของสุนัข
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการสมองอักเสบในสุนัขมักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เยอรมันพอยน์เตอร์ขนสั้น (German Shorthaired Pointer)
- พ้อยนเตอร์ (Pointer)
- ยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ (Yorkshire Terrier)
เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคสมองอักเสบจะมีอาการดังต่อไปนี้
- สุนัขจะมีอาการตัวร้อนจากไข้ขึ้นสูง
- สุนัขจะมีอาการเซื่องซึม ทำให้การตอบสนองของสุนัขลดลงมา
- ใบหน้าของสุนัขจะเกิดการเป็นอัมพาตทำให้หัวของสุนัขเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอยู่เป็นประจำ
- การเดินของสุนัขจะเปลื่ยนแปลงไปจากการเดินตรงๆ เปลื่ยนเป็นการเดินวนไปวนมาเป็นรูปวงกลม
- สุนัขจะมีอาการชักอยู่เป็นประจำ
- รูม่านตาของสุนัขจะหดตัวลงมากกว่าปกติ
สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคสมองอักเสบ
- มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบภูมิคุ้มกันของสุนัข
- สุนัขมีอาการแพ้วัคซีนที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย
- สุนัขป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสบางประเภทอย่างเช่น โรคหัดสุนัข , โรคพิษสุนัขบ้า
- สุนัขติดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อปรสิตบางประเภทอย่างเช่น เชื้อปรสติ Rocky Mountain spotted fever , ehrlichiosis เป็นต้น
- มีสิ่งแปลกปลอมบางอย่างหลุดเข้าไปในร่างกายของสุนัข
การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์
- ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการที่เกิดขึ้นของสุนัขว่า มีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
- ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
- ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่ช่องอกของสุนัขเพื่อดูว่าสภาพปอดของสุนัขว่าเป็นอย่างไรบ้าง ปอดของสุนัขถูกทำลายไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว
- ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) ที่สมองของสุนัข เพื่อดูว่าสภาพสมองของสุนัขในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
- เพื่อให้ขั้นตอนการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะเก็บตัวอย่างจากน้ำไขสันหลังของสุนัขบางส่วน รวมถึงเนื้อเยื่อบางส่วนในสมองของสุนัข ไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติอีกทีหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้อย่างแน่นชัดแล้วว่า สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้นั้น เกิดจากสาเหตุใดกันแน่น
การรักษาจากทางสัตวแพทย์
ทางสัตวแพทย์จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบเจอ โดยทางสัตวแพทย์จะให้ความสำคัญในเรื่องของการลดอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเช่น
- ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการชัก ก็จะให้ยาลดอาการชักกับสุนัข
- ถ้าตรวจพบว่าสมองของสุนัขมีอาการบวมโต ก็จะให้ยาลดอาการบวมโตของสมองสุนัข
- ถ้าตรวจพบว่าสุนัขติดเชื้อแบคทีเรียบางประเภท ก็จะทำการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับกำจัดเชื้อแบคทีเรียชนิดนั้นๆ ที่มีฤทธิ์สามารถซึมผ่านเข้าไปยังสมอง กับไขสันหลังของสุนัขได้
- แต่ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการสมองอักเสบอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์จะทำการรักษาอย่างใกล้ชิดและจะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้จะให้สุนัขอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน เพื่อจะได้เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด
- การรักษาโรคสมองอักเสบในสุนัขนั้นจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องนัดให้คุณพาสุนัขของคุณ กลับเข้ามาพบอยู่เป็นประจำ
- เพื่อจะได้ประเมินผลการรักษาว่า หลังจากที่รักษาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการประเมินหาวิธีรักษาใในขั้นตอนต่อๆ ไป
- อาการสมองอักเสบในสุนัข ถ้าการรักษาผ่านไปได้ด้วยดี อาการต่างๆ ของสุนัขก็จะค่อยๆ หายดีเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 – 2 เดือน