โรคกระจกตา (ทางพันธุกรรม) ในสุนัข

โรคกระจกตาทางพันธุกรรมของสุนัข

บทนำ

ภาวะกระจกตาเจริญผิดปกติในสุนัข เป็นโรคเกี่ยวกับทางพันธุกรรมของสุนัขที่ส่งผลตรงต่อดวงตาทั้งสองข้าง ทางการแพทย์แบ่งภาวะนี้มาออกได้ 3 ชนิดได้แก่

  1. กระจกตาส่วนนอกสุดเจริญผิดปกติ (epithelial corneal dystrophy)
  2. ผลกระทบ กระจกตาส่วนโครงร่างเจริญผิดปกติ (stromal corneal dystrophy)
  3. กระจกตาส่วนในสุดเจริญผิดปกติ (endothelial corneal dystrophy)

ซึ่งอาการของภาวะทั้ง 3 อย่างนั้นจะแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

แบบที่ 1 สุนัขมีภาวะกระจกตาส่วนนอกสุดเจริญผิดปกติ จะแสดงอาการต่างๆ ออกมาดังนี้

  • ดวงตาของสุนัขจะมีรอยสีขาวขู่น มีรูปร่างเป็นวงกลม
  • มีการหดเกร็งที่บริเวณกระจกตา
  • โดยส่วนใหญ่ภาวะนี้มักจะเกิดกับสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 6 ปี
  • สุนัขสายพันธุ์ที่จะมีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้แก่ เชทแลนด์ ชีพด็อก (Sheltie) ,บีเกิล (beagle) ,รัฟ คอลลี่ (Rough Collie)

แบบที่ 2 สุนัขมีภาวะกระจกตาส่วนในสุดเจริญผิดปกติ จะแสดงอาการต่างๆ ออกมาดังนี้

  • กระจกตาของสุนัขจะมีอาการบวมโต และมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นที่ผิวกระจกตาของสุนัข
  • สุนัขจะมีอาการมองเห็นภาพไม่ชัด
  • โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้มักจะเกิดกับสุนัขสู่วัยชรา รวมถึงสุนัขตัวเมียจะมีโอกาสเป็นภาวะนี้ได้มากกว่าสุนัขตัวผู้ถึง 2 – 3 เท่าด้วยกัน
  • สุนัขบางสายพันธุ์จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้สูงอย่างเช่น สุนัขสายพันธุ์ บอสตันเทร์เรียร์ (Boston Terrier) ,ชิวาวา(chihuahua) ,แด็กซันด์ (Dachshund)

แบบที่ 3 ถ้าสุนัขมีภาวะกระจกตาชั้นนอกสุดเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น จะแสดงอาการต่างๆ ออกมาดังนี้

  • ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ติดตัวมากับสุนัขโดยแต่กำเนิดเลย
  • กระจกตาของสุนัขจะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ รวมถึงเซลล์ที่อยู่รอบๆ กระจกตาของสุนัข ก็จะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงเหมือนกัน

อาการของโรคกระจกตาทางพันธุกรรมในสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้เป็นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือด กับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์ก็จะทำการตรวจดวงตาของสุนัขอย่างละเอียด โดยการใช้ slit lamp ส่องเข้าไปในกระจกตาของสุนัข วิธีนี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่ากระจกตาของสุนัข มีความผิดปกติเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
  • อีกทั้งทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีย้อมสีกระจกตาของสุนัข เพื่อตรวจสอบดูว่าที่กระจกตาของสุนัขมีบาดแผลอะไรเกิดขึ้นมาหรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์แยกได้ว่าสุนัขกำลังป่วยเป็นโรคกระจกตาแบบไหนอยู่
  • และเพื่อให้ขั้นตอนการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจสอบดวงตาของสุนัขด้วยวิธีต่างๆ อย่างเช่น การใช้เครื่องวัดความดันลูกตาของสุนัข ,การตรวจต้อหินในดวงตาของสุนัข เพื่อดูว่ากระจกตาของสุนัขในตอนนี้ เกิดการอักเสบ หรือมีอาการบวมโตเกิดขึ้นมาหรือเปล่า

วิธีรักษาโรคกระจกตาทางพันธุกรรมในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ถ้าตรวจพบว่ากระจกตาของสุนัขมีบาดแผลเกิดขึ้น ทางสัตวแพทย์ก็จะใช้ยาปฏิชีวนะเข้ามาช่วยในการรักษา
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่ากระจกตาชั้นในสุดของสุนัขมีการเสื่อมสภาพเกิดขึ้น ก็จะหาคอนแทคเลนส์มาใส่ให้กับสุนัข
  • วิธีรักษาความผิดปกติในส่วนของกระจกตาชั้นในสุดของสุนัข ยังทำได้อีกวิธีหนึ่งนั้นก็คือ การผ่าตัดเปิดบาดแผลที่บริเวณเยื่อบุตาขาวแล้วปลูกถ่ายกระจกตาเอาไป
  • แต่วิธีนี้อาจจะได้ผลไม่แน่นนอน สุนัขอาจจะหายจากภาวะนี้ได้ แต่ก็มีเหมือนกันหลังจากที่ผ่าตัดไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขก็คงอยู่เหมือนเดิม
  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น ให้คุณคอยเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขให้ดี ถ้าสุนัขของคุณยังมีอาการเจ็บปวดที่ดวงตา รวมถึงมีอาการกระพริบตามากกว่าผิด และมีน้ำตาไหลออกมาจากดวงตาของสุนัขอยู่ตลอดเวลาให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพราะอาจจะมีบาดแผลเกิดขึ้นที่กระจกตาของสุนัขได้อีก
  • สำหรับภาวะความผิดปกติของกระจกตาชั้นนอกสุดกับชั้นในสุด หลังจากรักษาจนอาการต่างๆ หายดีแล้ว สุนัขก็จะกลับมามองเห็นได้เป็นปกติดังเดิม แต่ความผิดปกติของกระจกตายังมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น สีของดวงตาที่ขุ่นลง มีรอยเป็นรูปวงกลมหรือวงรี ที่กระจกตา