อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข

อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข

บทนำ

อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข หรือ chronic obstructive pulmonary disease (COPD) ในสุนัข เป็นอาการที่เยื้อบุหลอดลมของสุนัขมีการอักเสบเกิดขึ้นมา โรคนี้จะทำให้สุนัขมีอาการไออย่างเรื้อรังต่อติดกันประมาณ 2 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น

อาการดังเหล่าเป็นเพียงอาการไออย่างต่อเนื่อง ไม่เกี่ยวกับโรคร้ายแรงใดๆ ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจวาย มะเร็ง รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข เป็นอาการที่ไม่สามารถระบุได้แน่นชัดว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่น

แต่โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็กอย่างสุนัขสายพันธุ์ เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์ (West Highland White Terrier) กับสุนัขค็อกเกอร์ สแปเนียล (Cocker Spaniel) เป็นต้น

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

  • สุนัขจะมีอาการไอแห้งอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป
  • สุนัขจะมีอาการสำลักอยู่เป็นประจำ
  • จะมีรอยฟกช้ำเกิดขึ้นตามตัวของสุนัข
  • สุนัขจะมีอาการหมดสติ และเป็นลมอยู่บ่อยครั้ง
  • สุนัขไม่สามารถทำกิจกรรมหนักๆ ที่ต้องใช้พลังงานสูงอย่างเช่น การออกกำลังกายได้

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการของสุนัขว่า มีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์ก็จะทำการตรวจเลือด กับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัข มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการภาพถ่ายทางรังสีไปที่ช่องอกของสุนัข เพื่อดูว่าในตอนนี้ปอดของสุนัขเป็นอย่างไร มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้นอยู่หรือเปล่า
  • การภาพถ่ายทางรังสีจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า สุนัขกำลังป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังอยู่หรือเปล่า มีความรุนแรงถึงระดับไหนแล้ว
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจของสุนัขบ้าง
  • การส่องกล้องนั้นจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า สุนัขมีเนื้องอก เกิดขึ้น รวมถึงมีอาการอักเสบใดๆ เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจของสุนัขอยู่หรือเปล่า
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บชิ้นเนื้อบางส่วนของปอดสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการอีกทีหนึ่ง
  • สุดท้ายทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการตรวจด้วยวิธี echocardiography (ECHO) กับ electrocardiogram (ECG) เพื่อดูว่าหัวใจของสุนัขเป็นอย่างไร ยังทำงานเป็นปกติดีอยู่หรือไม่ มีภาวะหัวใจวาย รวมถึงสุนัขติดเชื้อจากพยาธิหนอนหัวใจอยู่หรือเปล่า

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอ

แต่โดยหลักๆ แล้วการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข มักจะนิยมใช้ยาขยายหลอดลมให้กับสุนัข ควบคู่กับการใช้ยาในกลุ่มของสเตียรอยด์เข้ามาช่วยในการรักษา

วิธีนี้จะช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงยังช่วยให้สุนัขกลับมาหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

แต่ในกรณีที่ตรวจพบว่าปอดของสุนัขมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ก็จะทำการรักษาปอดของสุนัขให้หายดีกลับมาเป็นปกติดีดังเดิม

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษา ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับช่วยบรรเทาอาการต่างๆ มาให้สุนัขได้กลับไปทานต่อที่บ้าน

วิธีรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข

ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข

  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังในสุนัข เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้แค่เพียงบรรเทาอาการต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้นมาได้ แต่ถ้าคุณไม่ดูแลสุนัขของคุณให้ดีๆ สุนัขของคุณก็อาจจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้อีกเป็นครั้งที่สอง
  • ซึ่งคุณสามารถป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณกลับมาป่วยเป็นโรคนี้ได้อีก โดยการ ให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงคุณต้องคอยควบคุมน้ำหนักของสุนัข ให้ไม่ป่วยเป็นโรคอ้วนขึ้นมาได้
  • และคุณยังต้องให้สุนัขของคุณทานยาที่ทางสัตวแพทย์ให้มาอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็เป็นการช่วยป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคนี้ได้อีกเป็นครั้งที่สองได้แล้ว
  • และอีกสิงหนึ่งที่คุณควรทำอยู่เสมอ นั้นก็คือ การให้สุนัขของคุณออกกำลังกายอยู่เป็นประจำวันละประมาณ 10 – 15 นาที สัปดาห์ละประมาณ 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์
  • การออกกำลังกายอยู่เป็นประจำนั้น จะมีส่วนช่วยให้หลอดลมของสุนัขขยายตัวได้ดี และยังมีส่วนช่วยลดอาการต่างๆ ของสุนัขลงได้อีกด้วย
  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่ ให้คุณคอยหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขให้ดีๆ ถ้าเกิดว่าสุนัขของคุณยังมีอาการผิดปกติอยู่ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพราะนอกจากโรคหลอดลมอักเสบแล้ว สุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคอื่นๆ อยู่ก็เป็นได้