โรค Cervical Spondylomyelopathy ในสุนัข

โรค Cervical Spondylomyelopathy ในสุนัข

บทนำ

Carvical spondylomyelopathy (CSM) หรือ wobbler syndrome ในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการที่กระดูกสันหลังส่วนคอของสุนัข ไปกดทับเส้นประสาทของสุนัข

ซึ่งมันจะทำให้สุนัขรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณคอเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้โรค rvical spondylomyelopathy ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับหมอนรองกระดูกสันหลังของสุนัขอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงจะเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดตัวใหญ่อย่างเช่น

  • สุนัขโดเบอร์แมน (Doberman Pinchers)
  • รอตต์ไวเลอร์ (Rottweilers)
  • เกรตเดน (Great Danes)
  • บาสเซ็ต ฮาวด์ (Basset Hound)

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรค Cervical Spondylomyelopathy

  • สุนัขจะมีอาการคอแข็งและปวดคอ
  • ท่าทางการเดินของสุนัขจะเปลื่ยนแปลงไปจากปกติ
  • สุนัขจะมีอาการอ่อนแรงและอ่อนเพลีย
  • สุนัขจะมีอาการเกร็งที่ลำตัว และขาหน้าของสุนัขจะดูไม่ค่อยมีแรงเดิน
  • สุนัขจะมีอาการเดินๆ นั่งๆ อยู่ตลอดเวลา
  • กล้ามเนื้อตรงบริเวณหัวไหล่ของสุนัขจะมีการฝ่อเกิดขึ้น
  • สุนัขจะมีอาการเกร็งเล็บเท้าในขณะที่เดิน

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรค Cervical Spondylomyelopathy

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรค Cervical Spondylomyelopathy

  • สุนัขทานโปรตีน หรือแคลเซียม ในปริมาณมากจนเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน จนร่างกายของสุนัขรับปริมาณโปรตีน กับแคลเซียมไม่ไหว
  • สุนัขที่มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็วกว่าปกติ จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงเป็นอย่างมาก จึงทำให้โรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ขนาดตัวใหญ่ เพราะร่างกายของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ จะมีการเจริญเติบโตที่เร็วจนเกินไป

วินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงจะสอบถามว่าสุนัขเคยได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อร่างกายของสุนัขหรือไม่
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีอะไรผิดปกติขี้นมาบ้าง
  • หลังจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ไปที่กระดูกสันหลังของสุนัข รวมถึงประสาทสันหลังของสุนัข (Myelography) เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับทั้งสองส่วนนี้หรือเปล่า
  • การตรวจเอกซเรย์ นั้นจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่าไขสันหลังของสุนัขมีการถูกกดทับอยู่หรือเปล่า
  • สำหรับการตรวจระบบประสาทไขสันหลัง (Myelography) นั้นจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ไขสันหลังของสุนัขหรือเปล่า รวมถึงไขสันหลังของสุนัขมีการอักเสบเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
  • ในขั้นตอนสุดท้ายทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนจากน้ำไขสันหลังของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการอีกทีหนึ่ง

โรค Cervical Spondylomyelopathy ในสุนัขวิธีรักษา

วิธีการรักษาสุนัขจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามจุดตำแหน่งที่ไขสันหลังของสุนัขถูกกดทับ
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำให้คุณซื้อที่นอนป้องกันแผลกดทับ เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขกดเป็นแผลกดทับได้ในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่ เพราะในช่วงนี้สุนัขจะยังไม่สามารถเดินได้ เพราะรู้สึกปวดเจ็บที่เส้นประสาทอยู่
  • สำหรับโรค Cervical Spondylomyelopathy ในสุนัข เป็นโรคที่สุนัขต้องใช้เวลาพักฟื้นตัวอย่างยาวนาน อาการต่างๆ ถึงจะเริ่มดีขึ้นมา โดยปกติแล้วหลังจากที่รักษาไป อาการต่างๆ ของสุนัขจะเริ่มดีขึ้นเมื่อเวลาไปผ่านประมาณ 2 – 3
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการกล้ามเนื้อฝ่อกับมีอาการกระดูกยึดติด หลังจากรักษาจนอาการต่างๆ ดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการนัดสุนัขให้กลับมาทำการกายภาพบำบัดอยู่เป็นประจำ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อของสุนัขกลับมาฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
  • เมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารชนิดใหม่ โดยจะเน้นไปที่อาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง แต่มีโปรตีนและแคลเซียมอยู่ในระดับต่ำ ในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่ คุณต้องให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารประเภทนี้ ห้ามทานอาหารชนิดอื่นๆ โดยเด็ดขาด

โรค Cervical Spondylomyelopathy ในสุนัขวิธีดูแล

วิธีดูแลสุนัขในช่วงพักฟื้นร่างกาย

  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น คุณต้องงดกิจกรรมทุกอย่าง ที่สุนัขของคุณต้องทำการขยับตัวอย่างเช่น การกระโดด หรือการวิ่งออกกำลังกาย เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูกสันหลังของสุนัขขึ้นมาได้
  • ในช่วงพักฟื้นตัวอยู่ให้สุนัขของคุณอาศัยอยู่แต่ในบ้าน ห้ามพาออกข้างนอกโดยเด็ดขาด และให้คุณถอดปลอกคอของสุนัขออกด้วย เพราะปลอกคอของสุนัขจะไปกดทับทำให้ไขสันหลังของสุนัขต้องทำงานหนัก และเกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้นได้
  • ในช่วงที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น ให้คุณคอยสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด ถ้าอาการต่างๆ ของสุนัขยังไม่ดีขึ้นเลย ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที เพราะอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทางสัตวแพทย์ยังตรวจไม่พบเจอก็ได้เหมือนกัน