โรคเนื้องอกในสมองของสุนัข

โรคเนื้องอกในสมองของสุนัข

บทนำ

บทความนี้จะมาแนะนำถึงโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมากนั้นก็คือ โรคเนื้องอกในสมองของสุนัข เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับสุนัข 2 กลุ่มสายพันธุ์

ได้แก่สุนัขกลุ่มสายพันธุ์หน้าสั้น กับสุนัขในกลุ่มของสุนัขสายพันธุ์หน้ายาว ถ้าคุณเลี้ยงสุนัขในกลุ่มสองสายพันธุ์นี้อยู่ คุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพกับทางสัตวแพทย์อยู่เป็นประจำ

สำหรับเนื้อหาของบทความนี้จะมาบอกกับคุณผู้อ่านว่า

  • สุนัขทั้งสองกลุ่มสายพันธุ์นั้น มีสุนัขสายพันธุ์อะไรบ้าง
  • วิธีสังเกตอาการต่างๆ ของโรคเนื้องอกในสมองของสุนัข
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์มีวิธีรักษาโรคนี้อย่างไรบ้าง

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังสนใจเรื่องราวเหล่านี้ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

2 สุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเนื้องอกในสมองมากที่สุด

1.สุนัขสายพันธุ์หน้าสั้น

ด้วยสรีระรูปร่างที่แตกต่างจากสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้สุนัขสายพันธุ์ที่มีโครงหน้าสั้นนั้น มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเนื้องอกในสมองได้สูงอย่างเช่น

  • สุนัขบูลด็อก(Bulldog)
  • บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terrier)

สุนัขสองสายพันธุ์นี้จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคเนื้องอกจากต่อมใต้สมองได้ง่ายกว่าปกติ ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังเลี้ยงสุนัขสองสายพันธุ์นี้อยู่ คุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพกับทางสัตวแพทย์อยู่เป็นประจำ

2. สุนัขสายพันธุ์ที่มีจมูกยาว

สุนัขสายพันธุ์ที่มีจมูกยาวๆ อย่างเช่น

  • สุนัขโดเบอร์แมน พินเชอร์ (Doberman pinscher)
  • สุนัขโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (golden retriever)

สุนัขทั้งสองสายพันธุ์นี้ จะมีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคเนื้องอกในเยื่อหุ้มสมองได้ง่ายกว่าปกติเมื่อเทียบกับสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกัน

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ คุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพประจำปีกับทางสัตวแพทย์อยู่เป็นประจำ หรือให้คุณพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพในทุกๆ 6 เดือน

อาการของโรคเนื้องอกในสมองของสุนัข

วิธีสังเกตว่าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมองอยู่หรือเปล่า

คุณสามารถสังเกตได้ว่า สุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมองอยู่หรือเปล่า ให้คุณดูจากอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึม และเบื่ออาหาร
  • จะมีเนื้องอกเกิดขึ้นตรงบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งบนหัวของสุนัข
  • สุนัขจะมีอาการเดินโซเซ ไม่สามารถเดินทรงตัวได้
  • สุนัขจะมีอาการเดินเป็นวงกลม เดินวนไปวนมา
  • สุนัขจะมีอาการเหมือนคนตาบอด ไม่สามารถมองเห็นทางที่อยู่ตรงหน้าได้
  • สุนัขจะมีอาการชักอยู่เป็นประจำ

ถ้าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพกับทางสัตวแพทย์ในทันที เพราะจะมีโอกาสสูงเป็นอย่างมาก ที่สุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมองอยู่ก็เป็นได้

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

เมื่อคุณพาสุนัขของคุณไปหาสัตวแพทย์แล้ว ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขของคุณว่า สุนัขของคุณมีอาการอะไรบ้าง สุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง

ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์ก็จะทำการ CT scan ควบคู่กับการ MRI  ซึ่งวิธีดังกล่าวจะสามารถระบุตำแหน่งได้ว่า มีเนื้องอกเกิดขึ้นตรงส่วนไหนในสมองของสุนัขบ้าง

และเมื่อพบเนื้องอกแล้วทางสัตวแพทย์จะทำการวางแผนหาวิธีการรักษา รวมถึงวิธีผ่าตัดก้อนเนื้องอกในขั้นตอนต่อๆ ไป

วิธีรักษาโรคเนื้องอกในสมองของสุนัข

วิธีรักษาจากทางสัตวแพทย์

สำหรับการรักษาโรคนี้ในสุนัขนั้น ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดนำเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในสมองของสุนัขออกมา ควบคู่กับการฉายรังสีเพื่อควบคุมไม่ให้เนื้องอกในสมองของสุนัขเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

ในกรณีที่ตรวจพบว่าเนื้องอกในสมองของสุนัขมีขนาดที่ใหญ่โตจนเกินไป ทางสัตวแพทย์จะยกเลิกการผ่าตัด เปลื่ยนไปใช้วิธีการฉายรังสีแทน เพราะการผ่าตัดนำเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ออกมานั้น จะมีความเสี่ยงทำให้สุนัขตัวนั้นเสียชีวิตลงได้

หลังจากผ่าตัดไปแล้วเนื้องอกยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

ทางการแพทย์ถือว่าโรคเนื้องอกในสมองของสุนัขนั้น เป็นโรคที่อันตรายต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้ว เนื้องอกก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง

จากกรณีศึกษาต่างๆ พบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากที่สุนัขได้รับการผ่าตัดนำเนื้องอกออกมาแล้ว เนื้องอกจะกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 – 6 เดือน

แถมอาการต่างๆ ของสุนัขก็ยังทรุดตัวลงมากอีกด้วย สุนัขจะยิ่งมีอาการชักและส่งเสียงร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ

ถ้าถึงในขั้นตอนนี้แล้วทางสัตวแพทย์จะแนะนำให้ทางเจ้าของสุนัขทำการุณยฆาต หรือการฉีดยาเพื่อให้สุนัขหลับไปอย่างสงบจะเป็นการดีกว่า เพื่อไม่ให้สุนัขต้องทนทรมารอีกต่อไป