พิษจากแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลในสุนัข

บทนำ

แมงมุมสันโดษสีน้ำตาลคืออะไร

แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล หรือที่เรียกกันในอีกชื่อว่า violin spider เป็นแมงมุมชนิดหนึ่งที่มีสีดำผสมกับสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ถ้าคุณมองดูดีๆ จะพบว่าขาทั้ง 6 ข้างของพวกมันจะดูคล้ายเหมือนกับกับไวโอลินเลย

โดยส่วนมากแมงมุมชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา แมงมุมชนิดนี้มีขนาดตัวอยู่ที่ประมาณ 8-15 มิลลิเมตร ขนาดขาแต่ละข้างมีความยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร

ปกติโดยธรรมชาติแล้ว แมงมุมสายพันธุ์นี้มักจะมีนิสัยที่รักสันโดษและรักสงบเป็นอย่างมาก พวกมันมักจะชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่มืดๆ ห่างไกลจากผู้คน รวมถึงสิ่งชีวิตต่างๆ

แต่ในกรณีที่แมงมุมสันโดษสีน้ำตาลเข้ามาพักอาศัยอยู่ในบ้านของคุณ พวกมันมักจะชอบเข้าไปแฝงตัวอยู่ตามผ้าปูที่นอนของคุณ

จึงทำให้ในเวลาที่สุนัขของคุณโดนแมงมุมชนิดนี้กัดมักจะเกิดจากตอนที่สุนัขของคุณกระโดดขึ้นมานอนบนเตียงของคุณ แล้วเผลอไปนอนทับโดนตัวของแมงมุมเข้าให้ จึงทำให้แมงมุมสีสันโดษน้ำตาลกัดสุนัขของคุณเพื่อป้องกันตัวเอง

อันตรายจากพิษแมลงมุมสัดโดษในสุนัข

พิษของแมงมุมสันโดษ

พิษของแมงมุมชนิดนี้จะทำให้เนื้อของสุนัขตรงส่วนที่ถูกแมลงมุมกัดเกิดเป็นเนื้อตายขึ้นมาได้ รวมถึงบาดแผลที่ถูกแมลงมุมกัดก็จะสมานแผลได้ช้าลงหรือบาดแผลหายช้ากว่าปกติอีกด้วย

รวมถึงแผลที่ถูกกัดจะมีลักษณะเป็นแผลเปิดกว้างซึ่งมันจะทำให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของสุนัขผ่านบาดแผลนี่ได้ง่าย

ส่วนในกรณีขั้นร้ายแรงพิษของแมงมุมสันโดษสีน้ำตาล อาจจะเข้าสู่กระแสเลือดของสุนัขจนส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของสุนัขเกิดการเป็นพิษขึ้นมาได้

ซึ่งมันจะส่งผลทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของสุนัขค่อยๆ ถูกทำลายลง จนทำให้สุนัขของคุณเกิดภาวะไตวายจนเสียชีวิตลงได้

อาการต่างๆ ของพิษแมลงมุมสัดโดษในสุนัข

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขของคุณได้รับพิษจากแมงมุมสีสันโดษน้ำตาล

  • ในช่วงแรกๆ ที่ถูกกัดสุนัขของคุณจะยังไม่แสดงอาการอะไรออกมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วประมาณ 6 – 8 ชั่วโมงสุนัขของคุณจะมีอาการคัน และรู้สึกเจ็บปวดตรงบริเวณที่ถูกแมลงมุมกัดบาด
  • รอยแผลที่ถูกกัดนั้นจะมีลักษณะเป็นสีขาวและสีดำอยู่ตรงส่วนกลาง และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน รอยแดงตรงนั้นจะกลายเป็นคราบขึ้นมา บาดแผลที่ถูกแมงมุมชนิดนี้กัดจะเป็นแผลที่ลึก และค่อนข้างหายได้ช้าเป็นอย่างมาก
  • ในสุนัขบางตัวอาจจะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด กับมีภาวะเลือดจางร่วมเข้ามาด้วย
  • สุนัขตัวร้อนเป็นไข้ และมีอาการหนาวสั่น
  • มีผื่นสีแดงๆ ขึ้นตามตัวของสุนัข
  • สุนัขมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมอีกด้วย

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้หลังจากที่ถูกแมลงมุมกัด ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที

วินิจฉัยโรคพิษแมลงมุมสัดโดษในสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัข
  • พร้อมทั้งขอดูบาดแผลที่ถูกแมงมุมกัด เพื่อดูว่าบาดแผลชนิดนี้ถูกแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัดจริงหรือไม่ เพราะมีหลายครั้งที่เจ้าของสุนัขเข้าใจผิดว่าสุนัขของตนถูกแมงมุมชนิดนี้กัดอยู่
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัขของคุณ เพื่อดูว่าค่าการแข็งตัวของเลือดนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ค่าการแข็งตัวของเลือดจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าสุนัขของคุณได้รับพิษจากแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลหรือไม่
  • ในกรณีฉุกเฉินถ้าสุนัขของคุณถูกแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัดอย่างรุนแรงจนทำให้เนื้อตายได้กระจายตัวไปตามบริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกายสุนัข
  • ทางสัตวแพทย์จำเป็นอาจจะต้องตัดขาของสุนัข แต่ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ต่ำเป็นอย่างมาก ถ้าคุณพาสุนัขของคุณไปหากับทางสัตวแพทย์ได้ทันก่อนที่พิษจะกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย
วิธีรักษาพิษจากแมงมุมสันในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

ในกรณีบาดแผลเล็กๆ

  • ในกรณีบาดแผลที่ถูกกัดนั้น เป็นแผลเล็กๆ เบาๆ ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนัก ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีประคบเย็นเข้ามาช่วยให้การรักษา การประคบเย็นจะมีส่วนช่วยบรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวดของสุนัขลงได้
  • หลังจากอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการล้างบาดแผลที่ถูกกัดให้สะอาด รวมถึงจะให้อุปกรณ์การล้างแผลสุนัขมาให้กับคุณ เพื่อคุณจะได้ทำการล้างแผลในระหว่างที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่

ในกรณีที่บาดแผลเป็นเนื้อตายแล้ว

  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าบาดแผลที่ถูกกัดนั้น เป็นเนื้อที่ตายแล้ว และเริ่มมีการแพร่กระจายตัวไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบๆ ข้างทางสัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายส่วนนั้นออกมา
  • แต่ในกรณีที่บาดแผลของสุนัขเป็นแผลขนาดใหญ่ และเนื้อที่ตายได้แพร่กระจายตัวไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อเป็นวงกว้าง ทางสัตวแพทย์จำเป็นจะต้องใช้วิธีทำการปลูกถ่ายผิวหนังเข้ามาช่วยในการรักษา
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการนัดสุนัขของคุณกลับเข้ามาพบอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าหลังจากที่รักษาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นหรือไม่
  • ในช่วงที่สุนัขของคุณกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่ คุณควรเฝ้าดูอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด ถ้าอาการต่างๆ ของสุนัขยังไม่ดีขึ้น เลยให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที