ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในสุนัขบ็อกเซอร์ กับสุนัขบูลด็อก

หัวใจเต้นผิดจังหวะในสุนัขบ๊อกเซอร์

บทนำ

เมื่อสุนัขมีอาการหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ มันจะส่งผลทำให้สุนัข เกิดอาการเป็นลม และมีอาการหัวใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันตามมาได้

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์บ๊อกเซอร์ กับสุนัขบูลด็อก รวมถึงสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ

  • สุนัขมีอาการไออย่างต่อเนื่อง
  • สุนัขจะหายใจเร็ว และถี่มากขึ้นกว่าปกติ
  • สุนัขจะมีอาการเป็นลมหมดสติอยู่เป็นประจำ
  • ช่องท้องของสุนัขจะมีอาการบวมโต เนื่องจากมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่ในช่องท้องเป็นจำนวนมาก
  • ในช่วงนี้ถ้าให้ทางสัตวแพทย์ตรวจอัตราการเต้นหัวใจของสุนัข จะพบว่าอัตราการเต้นหัวใจของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้น

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ

โรคนี้เป็นโรคทางพันธุ์กรรมของสุนัขสายพันธุ์บ๊อกเซอร์ กับสุนัขบูลด็อก เพราะโดยส่วนใหญ่โรคดังกล่าวมักจะตรวจพบเจอในสุนัขสองสายพันธุ์นี้ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่พบได้ในสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแต่ก็มีโอกาสพบได้น้อยมาก

โรคประจำตัวของสุนัขบ๊อกเซอร์

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง อาการดังกล่าวเป็นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) กับการอัลตราซาวด์ ที่หัวใจและช่องท้องของสุนัข เพื่อดูสุนัขกำลังป่วยเป็นโรคใดอยู่กันแน่น
  • เพราะมีหลายโรคเลยที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้อย่างเช่น โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) ,การอุดตันของหลอดเลือดเอออร์ต้า รวมถึงโรคเกี่ยวกับช่องท้องของสุนัขเป็นต้น
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดของสุนัข เพื่อดูค่าการทำงานต่างๆ ในร่างกายของสุนัขว่า มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • รวมถึงจะทำการเอกซเรย์ (X-Ray) ที่ช่องอกของสุนัข เพื่อดูว่าขนาดหัวใจของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง หัวใจของสุนัขกำลังอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเปล่า
  • ในกรณีที่ทางสัตวแพทย์สงสัยว่า สุนัขกำลังป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่หรือเปล่า ทางสัตวแพทย์จะทำการใช้เครื่องตรวจหัวใจกับสุนัข เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจสุนัข รวมถึงจะดูว่าสุนัขมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่หรือเปล่า

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • โดยหลักๆ แล้วการรักษาโรคนี้ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการรักษา ด้วยวิธีทำให้อัตราการเต้นหัวใจของสุนัขกลับมาเป็นปกติดังเดิมก่อน
  • และเมื่อทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสุนัขกลับมาเป็นปกติแล้ว ก็จะค่อยๆ รักษาตามอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา
  • แต่ในกรณีที่สุนัขไม่ได้แสดงอาการอะไรออกมาชัดเจน ทางสัตวแพทย์จะระมัดระวังในการรักษาเป็นอย่างมาก เพราะตัวยาบางส่วนที่รักษาหัวใจของสุนัข จะยิ่งเข้าไปกระตุ้นให้อัตราการเต้นหัวใจของสุนัขเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ
  • ในกรณีที่สุนัขแทบจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาเลย ทางสัตวแพทย์จะทำการส่งตัวสุนัข ไปหาสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคหัวใจของสุนัขโดยเฉพาะ เพื่อให้ทางสัตวแพทย์คนนั้นประเมินว่าควรจะรักษาโรคหัวใจของสุนัขแบบไหนดี
  • หลังจากรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการประเมินว่า ควรจะให้สุนัขทานยารักษาโรคหัวใจแบบไหนดี เมื่อเลือกได้แล้ว ก็จะทำการจ่ายยามาให้สุนัขทานในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่
  • แต่ยารักษาโรคหัวใจของสุนัข จะค่อนข้างมีผลข้างเคียงต่อสุนัข ดังนั้นในระหว่างที่สุนัขทานยาชนิดนี้อยู่ คุณต้องคอยดูอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด ถ้าสุนัขของคุณมีความปกติเกิดขึ้น ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณ กลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพื่อให้ทางสัตวแพทย์ได้เปลื่ยนตัวยาชนิดใหม่ ให้สุนัขทาน
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการหัวใจบีบตัว ก็จะทำการให้อาหารเสริมแอลคาร์นิทีน (L-carnitine) กับสุนัข เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาอาการหัวใจบีบตัวของสุนัข
  • อีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรรู้ไว้ก็คือ สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณจึงต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสุนัขของคุณ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที

โรคประจำตัวของสุนัขบูลด็อก

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

นอกจากโรคประจำตัวของสุนัขสองสายพันธุ์ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้ได้นั้นก็คือ ถ้าคุณปล่อยให้สุนัขของคุณมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจะทำให้สุนัขของคุณป่วยเป็ฯโรคนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน

ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากให้สุนัขของคุณต้องป่วยเป็นโรคนี้ คุณควรทำให้สุนัขของคุณมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมออย่างเช่น คุณอาจจะเข้ามากอด พูดให้กำลังใจสุนัขของคุณอยู่เสมอ

หรือคุณอาจจะพาสุนัขของคุณออกไปเดินเล่นนอกบ้านอยู่เป็นประจำก็ได้ การทำแบบนี้จะช่วยให้สุนัขของคุณมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอได้

รวมถึงคุณห้ามตะโกนดุด่าสุนัขของคุณรุนแรง เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้สุนัขของคุณตื่นตกใจตก และมีความเครียดสะสมขึ้นมาได้