โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่

สาเหตุที่ทำให้สุนัขสายพันธุ์ใหญ่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่

บทนำ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy in dogs) เป็นโรคหัวใจยอดฮิตที่สุนัขสายพันธุ์ใหญ่มักจะป่วยเป็นกันได้ง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสุนัขสายพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกันถึง 2 – 3 เท่าเลย

ซึ่งบทความนี้จะมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านฟังว่า

  • โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • มีสุนัขสายพันธุ์ไหนบ้างที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูง
  • สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้
  • และเมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคนี้แล้วจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง
  • สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วจะมีวิธีรักษาให้ขาดหายได้หรือไม่

สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่เกิดจากอะไร

สำหรับโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่เกิดจาก การที่โครงสร้างหัวใจของสุนัขสายพันธุ์ใหญ่มีความผิดปกติเกิดขึ้น จนทำให้ห้องหัวใจของสุนัขขยายตัวใหญ่โตมากยิ่งขึ้นกว่าปกติ ซึ่งมันจะส่งผลทำให้เกิดเลือดคั่งในห้องหัวใจของสุนัข จนเป็นเหตุทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

โรคนี้พบได้ในสุนัขสายพันธุ์ไหนบ้าง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (Dilated Cardiomyopathy) เป็นโรคที่พบได้ง่ายในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่อย่างเช่น

  • โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
  • ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
  • เซนต์เบอร์นาร์ด
  • บ็อกเซอร์
  • เกรสไพรีนีส
  • โดเบอร์แมน
  • เยอรมัน เซฟเฟิร์ด

โดยส่วนใหญ่โรคดังกล่าวมักจะพบได้กับสุนัขเพศผู้มากกว่าสุนัขเพศเมีย รวมถึงสุนัขสายพันธุ์ใหญ่สู่วัยชราที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นชัดว่า สาเหตุที่ทำให้สุนัขสายพันธุ์ใหญ่ป่วยเป็นโรคนี้นั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่น

แต่โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเจอพบว่าสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีสาเหตุมาจาก

  • โรคผิดปกติทางพันธุกรรม โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในสุนัขโดเบอร์แมน
  • สุนัขขาดสารอาหารประเภททอร์รีนติดต่อกันเป็นเวลานาน (มักจะพบได้กับสุนัขโกลเด้น รีทรีฟเวอร์)
  • สุนัขขาดสารอาหารประเภทคาร์นิทีน (มักจะพบได้ในสุนัขบ็อกเซอร์)
  • เป็นผลข้างเคียงของการทำเคมีบําบัด
  • สุนัขติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงเชื้อปรสิตบางชนิด

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่

เมื่อสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการไออย่างเรื้อรัง
  • สุนัขจะมีอาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยหอบ กับหายใจลำบาก
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะลดลงอย่างต่อเนื่องโดยที่คุณไม่ทราบสาเหตุ
  • ช่วงท้องของสุนัขจะขยายตัวใหญ่โต หรือเกิดอาการท้องมาน
  • สุนัขมักจะมีอาการเป็นลมล้มทั้งยืน หรืออาการหน้ามืด
  • ในสุนัขบางตัวที่มีอาการอย่างรุนแรงก็อาจจะส่งผลทำให้สุนัขตัวนั้นเสียชีวิตลงได้ในทันที

การวิจัยฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่าสุนัขของคุณมีอาการเป็นอย่างไร มีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์ก็จะใช้หูฟัง Stethoscope ทำการฟังเสียงหัวใจกับปอดของสุนัขดูว่า มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งสองอย่างนี้หรือเปล่า
  • และเพื่อให้ขั้นตอนการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอ็กซเรย์ไปที่ช่องอกกับช่องท้องของสุนัข เพื่อดูว่าหัวใจของสุนัขมีอาการบวมโต กับปอดของสุนัขมีอาการบวมน้ำอยู่หรือเปล่า
  • สำหรับในสุนัขสายพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ก็อาจจะใช้วิธีตรวจค่าทอร์รีนในเลือด ส่วนสุนัขสายพันธุ์บ็อกเซอร์ ก็อาจจะใช้วิธีตรวจวัดปริมาณคาร์เนทีนในเลือดของสุนัขร่วมด้วย

โรคหัวใจที่เป็นอันตรายต่อสุนัขสายพันธุ์ใหญ่

ทางสัตวแพทย์มีวิธีรักษาโรคนี้ให้กับสุนัขสายพันธุ์ใหญ่อย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ สิ่งที่ทางสัตวแพทย์จะทำได้ก็คือการ ประคับประคองอาการต่างๆ ที่เกิดกับสุนัขด้วยการใช้

  • ยา Pimodendan ยาตัวนี้จะมีส่วนช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจสุนัข มันจะทำให้หัวใจบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ยาปรับความดัน ยาตัวนี้จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจล้มเหลวของสุนัขลงได้ แต่ยาตัวนี้จะส่งผลข้างเคียงต่อไตของสุนัข ซึ่งทางสัตวแพทย์ต้องเลือกใช้ในปริมาณที่พอดีพอเหมาะเพื่อไม่ให้กระทบต่อไตของสุนัขมากนัก
  • ยาขับน้ำ ยาตัวนี้จะใช้ต่อเมื่อสุนัขมีอาการหัวใจล้มเหลว หายใจลำบาก มีน้ำท่วมปอด ยาตัวนี้ก็เป็นยาอีกประเภทหนึ่งที่ส่งผลต่อไตของสุนัข ทางสัตวแพทย์จึงต้องคำนวณปริมาณการใช้ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อไตของสุนัข
  • แล้วนอกตัวยาที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ทางสัตวแพทย์ยังเลือกใช้ตัวยาตามอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเช่น ถ้าพบว่าหัวใจของสุนัขเต้นไม่เป็นจังหวะก็จะใช้ตัวยา Digoxin เพื่อทำให้หัวใจของสุนัขเต้นช้าลง
  • สำหรับสุนัขตัวไหนที่ตรวจพบว่ากำลังขาดสารอาหารบางประเภทอยู่ ก็จะให้สุนัขทานอาหารเสริมประเภทที่ขาดหายไปอย่างเช่น ให้สุนัขทานอาหารเสริมคาร์เนทีนปริมาณ 50 มิลลิกรัม วันละ 1 – 2 ครั้งเป็นต้น
  • หลังจากที่รักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะ
  • รวมถึงจะแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยง ไม่ให้สุนัขของคณทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด กับให้สุนัขของคุณทานน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • สุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะไม่สามารถออกกำลังกายอย่างหนักๆ ได้ กิจกรรมการออกกำลังกายจึงเป็นการออกกำลังกายอย่างเบาๆ อย่างเช่น การพาสุนัขไปเดินเล่นรอบบ้านเป็นต้น
  • ทางการแพทย์ถือว่าโรคนี้เป็นโรคที่ร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขสายพันธุ์ใหญ่เป็นอย่างมาก จากผลการศึกษาต่างๆ พบว่าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดก็จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 – 2 ปี ดังนั้นขอให้เจ้าของสุนัขทำใจไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ พยายามดูแลคุณภาพชีวิตของสุนัขที่กำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ให้ดีที่สุด