มะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

มะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

บทนำ

มะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข เป็นเซลล์มะเร็งที่ร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก เพราะเซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขได้อย่างรวดเร็ว

รวมถึงเซลล์มะเร็งชนิดนี้ถึงแม้ว่าจะผ่าตัดเอาเอาเนื้องอกออกไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกเป็นครั้งที่สอง

โดยปกติแล้วโรคมะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma มักจะเกิดกับสุนัขวัยชรา หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป รวมถึงสุนัขบางสายพันธุ์อย่างเช่น สุนัขแอเรเดล เทอร์เรียร์ (Airedale Terrier) เป็นต้น

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma

  • สุนัขจะมีอาการอาหารไม่ย่อย
  • สุนัขจะมีอาการเป็นไข้ตัวร้อน
  • สุนัขจะมีอาการอ่อนแรง
  • สุนัขจะมีอาการตัวเหลือง หรือมีภาวะดีซ่าน
  • สุนัขจะรู้สึกปวดท้องอย่างรุนแรง
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นชัดว่า สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้นั้นเกิดจากสาเหตุ แต่โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเจอมักจะพบในสุนัขวัยชรา หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 8 ปีขึ้นไป

วิธีรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะทำการสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขว่าอาการอะไรบ้างแล้ว สุนัขมีอาการเหล่านั้นมานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของสุนัขบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจหาค่าเอนไซม์ไลเปสในร่างกายของสุนัข โดยค่าเอนไซม์ตัวนี้จะบอกได้ว่าสุนัขกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนอยู่หรือเปล่า
  • และต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอ็กซ์เรย์ ควบคู่กับการตรวจอัลตราซาวน์ ไปที่ช่องท้องของสุนัข เพื่อดูว่าภายในช่องท้องของสุนัขมีเนื้องอกเกิดขึ้นมาหรือเปล่า ตับอ่อนของสุนัขเกิดการอักเสบหรือไม่

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ สิ่งที่ทางสัตวแพทย์จะทำได้นั้นก็คือ การผ่าตัดนำเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในตับอ่อนของสุนัขออกมา ควบคู่กับการให้สุนัขทานยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุนัขในระหว่างพักฟื้นร่างกายอยู่ โดยจะเป็นในเรื่องของอาหารการกิน ว่าควรทานอาหารประเภทไหนบ้าง มีอาหารชนิดไหนที่ห้ามทานโดยเด็ดขาด รวมถึงการจัดสถานที่ให้สุนัขได้พักผ่อน
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะนัดให้คุณพาสุนัขกลับเข้ามาพบอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทำการเคมีบำบัด กับการฉายแสงในเพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัข