มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

บทนำ

ต่อมไทรอยด์ของสุนัขเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก เพราะต่อมไทรอยด์ของสุนัขนั้นจะช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมน รวมถึงระบบเผาพลาญต่างๆ ในร่างกายของสุนัข

ทางการแพทย์ถือว่าเซลล์มะเร็งชนิด Adenocarcinoma นั้นเป็นเซลล์ที่ร้ายแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก เพราะเซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ในร่างกายของสุนัขได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วเซลล์มะเร็งชนิดนี้มักจะพบได้ในอวัยวะส่วนที่ขาดไอโอดีน

สุนัขแบบไหนที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูง

โดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma มักจะพบได้ในสุนัขสายพันธุ์บีเกิล (Beagle) กับสุนัขสายพันธุ์โกลเด้นริทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)

รวมถึงสุนัขที่มีอายุมาก หรือสุนัขที่กำลังเข้าสู่วัยชรา จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงเป็นอย่างมาก

มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัขอาการ

อาการต่างๆ ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัข

  • จะมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณเหนือกล่องเสียงของสุนัข
  • สุนัขจะหายใจลำบาก และมีอาการกลืนอาหารลำบากร่วมด้วย
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • เสียงของสุนัขจะเปลื่ยนไปจากเสียงปกติกลายเป็นเสียงแหบ
  • สุนัขจะรู้สึกกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา รวมถึงสุนัขจะมีอาการปัสสาวะบ่อยจนผิดสังเกต

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้

ทางการแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าทำไมสุนัขถึงป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ขึ้นมาได้

แต่โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ โรคมะเร็งชนิดนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์บีเกิล (Beagle) กับโกลเด้นริทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) รวมถึงสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัขวิธีรักษา

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขอย่างเบื้องต้น ว่าสุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีโรคประจำตัวอะไรหรือเปล่า สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่าในร่างกายของสุนัขมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นมาบ้าง
  • หลังจากนั้นทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการทดสอบค่า T4 หรือ ฮอร์โมน thyroxine การทดสอบดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่าสุนัขตัวนั้นเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma อยู่หรือไม่ ถ้าสุนัขกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ค่าฮอร์โมน thyroxine จะขึ้นสูงกว่าปกติเป็นอย่างมาก
  • สุดท้ายทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอ็กซเรย์ (X-ray ) ควบคู่กับตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) รวมถึงใช้การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • เพื่อดูว่าในร่างกายของสุนัขมีก้อนเนื้อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นตรงส่วนไหนบ้าง รวมถึงทางสัตวแพทย์จะดูว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายลุกลามไปใหญ่โตแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนของเนื้อเยื่อในต่อมไทรอยด์ของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบดูว่าสุนัขกำลังป่วยเป็นเซลล์มะเร็งชนิดไหนกันแน่น

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • สำหรับในยุคปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ของสุนัขได้ สิ่งที่ทางสัตวแพทย์จะทำได้นั้นก็คือ การประคับประคองอาการต่างๆ ของสุนัขให้อยู่ในระดับคงที่ได้เพียงอย่างเดียว
  • แต่โดยส่วนใหญ่ทางสัตวแพทย์จะทำการรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ ด้วยวิธีการผ่าตัดนำก้อนเนื้อร้ายออกจากร่างกายของสุนัข
  • แต่โดยส่วนใหญ่ก้อนเนื้อเซลล์มะเร็งชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเส้นเลือดอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ในระหว่างการผ่าตัด สุนัขจะเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องถ่ายเลือดให้กับสุนัขอยู่ตลอดเวลาในระหว่างที่กำลังทำการผ่าตัดอยู่
  • ในกรณีที่ไม่ใช้วิธีผ่าตัด ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการการรักษาด้วยการฉายรังสีควบคู่กับการทําคีโมเคมีบำบัดตรงบริเวณที่เกิดก้อนเนื้อร้าย รวมถึงทางสัตวแพทย์จะให้สารเสริมไอโอดีนกับสุนัข เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายของสุนัขผลิตฮอร์โมน thyroxine   ออกมา
มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Adenocarcinoma ในสุนัขวิธีดูแล

วิธีการดูแลหลังจากการรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ในช่วงที่พักฟื้นตัวอยู่นั้น คุณจำเป็นต้องให้สุนัขของคุณนอนพักผ่อนอยู่เฉยๆ ห้ามทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายโดยเด็ดขาด เพราะมันอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการหายใจของสุนัขขึ้นมาได้
  • และเพื่อให้สุนัขของคุณฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น คุณต้องทำให้สุนัขของคุณมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ ถ้าคุณปล่อยให้สุนัขของคุณมีความเครียดสะสมในร่างกายมากๆ เข้า มันจะส่งผลกระทบต่อระบบการเต้นของหัวใจสุนัข ซึ่งมันจะทำให้สุนัขของคุณมีอาการเป็นลมอยู่บ่อยๆ
  • คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงให้คุณคอยเฝ้าระวังอาการต่างๆ ของสุนัขเอาไว้ให้ดีๆ ถ้าคุณพบว่าอาการต่างๆ ของสุนัขยังไม่ดีขึ้นเลย ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที