5 สารพิษที่นิยมใส่ไว้ในยาเบื่อหนู ส่วนผลกระทบอะไรต่อสุนัขบ้าง

สารพิษที่ใช้ในยาเบื่อหนู มีผลอะไรกับสุนัขบ้าง

บทนำ

บทความนี้จะมาแนะนำ 5 สารพิษที่ผสมอยู่ในยาเบื่อหนู ว่ามีสารพิษชนิดไหนบ้าง โดยสารพิษแต่ละตัวนั้นส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายของสุนัขบ้าง

สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

5 สารพิษที่นิยมใส่ไว้ในยาเบื่อหนู

1. สตริกนิน

โดยส่วนใหญ่ยาเบื่อหนูที่นิยมใช้กันมักจะใช้สารสกัดของเมล็ดต้นแสลงใจ หรือสตริกนิน (Strychnine) โดยสารพิษดังกล่าวจะส่งผลทำให้สุนัขมีอาการ

  • กล้ามเนื้อหดตัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการชัก ขาเหยียดเกร็ง
  • มีอาการบิดที่หัวและลำคอ
  • รวมถึงสุนัขจะมีอาการหายใจลำบาก จนเสียชีวิตลงได้จากการขาดออกซิเจน

หลังจากที่ทานสารพิษชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายไปได้ไม่นาน รวมถึงการที่สุนัขเผลอไปทานซากหนูที่มีสารพิษชนิดนี้อยู่ ก็ส่งผลทำใหสุนัขมีอาการเหล่านี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน

วิธีรักษาสุนัขที่ได้รับยาเบื่อหนูที่ใช้สารพิษจากสตริกนิน (Strychnine)

การสัตวแพทย์จะหาวิธีควบคุมอาการชักให้กับสุนัข เพราะอาการชักอาจจะทำให้สมองของสุนัขขาดออกซิเจน ซึ่งมันจะทำให้สุนัขมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตลงได้

และเมื่อควบคุมอาการชักได้แล้ว ก็จะทำการให้ออกซิเจน กับน้ำเกลือให้กับสุนัข รวมถึงจะหาวิธีกระตุ้นให้สุนัขเกิดการขับถ่ายปัสสาวะ เพื่อเป็นการระบายสารพิษออกมาจากร่างกาย

2. วอร์ฟาริน

วอร์ฟาริน (warfarin) เป็นสารพิษอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในยาเบื่อหนู โดยสารพิษดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวของเลือดสุนัข ทำให้เลือดของสุนัขไม่แข็งตัว ซึ่งมันจะเป็นเหตุทำให้สุนัขของคุณมี

  • มีอาการซึม อ่อนเพลีย อ่อนแรง
  • เหงือกซีด
  • เลือดไหลตามร่างกาย
  • มีอาการไอ และจามเป็นเลือด
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • มีเลือดปะปนออกมาจากอุจจาระของสุนัข

วิธีรักษาสุนัขที่ได้รับยาเบื่อหนูที่ใช้สารพิษจากวอร์ฟาริน (warfarin)

ทางสัตวแพทย์จะใช้ผงถ่านทำการดูดซับสารพิษที่อยู่ในร่างกายของสุนัข พร้อมทั้งหาวิธีกระตุ้นให้สุนัขเกิดการอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากร่างกายของสุนัข รวมถึงจะทำการล้างท้องให้กับสุนัขร่วมด้วย

3. ซิงก์ ฟอสไฟต์

โดยส่วนใหญ่สารพิษซิงก์ ฟอสไฟต์ (Zinc phosphide) มักจะอยู่ในรูปแบบของยาเบื่อหนูชนิดแบบเป็นผง คนส่วนใหญ่มักนิยมนำยาเบื่อหนูชนิดนี้มาทำเป็นแก๊สเพื่อใช้รมควันกำจัดหนูเป็นจำนวนมากในทีเดียว รวมถึงนำมาผสมในอาหารเพื่อให้หนูกิน

สำหรับสุนัขตัวไหนที่เผลอไปทานอาหารที่มียาเบื่อหนูซิงก์ ฟอสไฟต์ (Zinc phosphide) ผสมอยู่ ก็จะส่งผลทำให้สุนัขมีอาการ

  • เบื่ออาหาร
  • อาเจียน
  • หายใจลำบาก
  • และมีอาการชัก

วิธีรักษาสุนัขที่ได้รับยาเบื่อหนูจากสารพิษซิงก์ ฟอสไฟต์ (Zinc phosphide)

ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการชัก ทางสัตวแพทย์จะใช้ยาระงับอาการชักกับสุนัขก่อน และเมื่ออาการชักของสุนัขสงบลง ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการกระตุ้นให้สุนัขเกิดการอาเจียนเพื่อขับสารพิษออกมา รวมถึงจะทำการล้างตัวให้กับสุนัขร่วมด้วย

4. แทลเลียม

ยาเบื่อหนูที่ใช้แทลเลียมเป็นส่วนประกอบ จะเป็นยาเบื่อหนูแบบไร้ซึงรสและกลิ่น เป็นยาเบื่อหนูที่หลายประเทศสั่งห้ามใช้โดยเด็ดขาด เพราะยาเบื่อหนูชนิดนี้มันส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ รวมถึงสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ

เมื่อสุนัขของคุณเผลอทานสารพิษแทลเลียมจากยาเบื่อหนูเข้าสู่ร่างกาย มันจะส่งผลทำให้สุนัขของคุณมีอาการ

  • ปวดท้อง อาเจียน
  • เป็นไข้ ตัวสั่น
  • หายใจลำบาก
  • มีอาการชักจากเส้นสมองอักเสบ

วิธีรักษาสุนัขที่ได้รับยาเบื่อหนูจากสารพิษแทลเลียม (Thallium)

เมื่อทางสัตวแพทย์ตรวจร่างกายของสุนัขจนทราบแล้วว่าสุนัขได้รับสารพิษจากแทลเลียม ก็จะทำการรักษาด้วย Diphenylthiocarbazone (การรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าคุณพาสุนัขของคุณไปรักษากับทางสัตวแพทย์ หลังจากที่สุนัขของคุณทานยาเบื่อหนูชนิดนี้เข้าไปในระยะเวลาไม่เกิน 3 – 4 ชั่วโมง)

    

5. สารเอเอนทียู

เป็นสารพิษอีกชนิดหนึ่งที่คุณนิยมใช้มาทำเป็นยาเบื่อหนูกัน โดยสารพิษดังกล่าวจะเป็นแบบไร้ซึ่งรสชาติและกลิ่น มันจึงทำให้พิสูจน์ได้ยากเป็นอย่างมากว่า อาหารเหล่านี้ได้ผสมยาเบื่อหนูที่ใช้สารเอเอนทียูลงไปหรือเปล่า

อาการของสุนัขหลังจากที่ทานยาเบื่อหนูที่ใช้สารอเอนทียูเข้าสู่ร่างกาย

  • สุนัขจะมีอาการไอ อาเจียน หายใจลำบาก
  • มีอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย เดินโซซัดโซเซไปมา
  • สุนัขอาจจะเสียชีวิตลงได้ในทันที ถ้าได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก

วิธีรักษาสุนัขที่ได้รับยาเบื่อหนูจากสารพิษเอเอนทียู (Alpha-naphthal thiourea)

ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่โดยหลักๆ แล้วทางสัตวแพทย์จะหาวิธีกระตุ้นให้สุนัขเกิดการอาเจียน เพื่อขับสารพิษที่อยู่ในร่างกายออกมา

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

ในกรณีที่คุณทราบชนิดของยาเบื่อหนู

ทางสัตวแพทย์จะทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณรู้ว่าสุนัขของคุณทานยาเบื่อหนูชนิดไหน ดังนั้นให้คุณนำขวดยาเบื่อหนู หรือฉลากยาที่ติดอยู่บนขวดยาเบื่อหนูติดตัวไปให้สัตวแพทย์ดู (ในกรณีที่บ้านของคุณใช้ยาเบื่อหนู แล้วคุณทราบอย่างแน่นใจแล้วว่า สุนัขของคุณเผลอทานยาเบื่อหนูขวดนี้เข้าไป)

ในกรณีที่คุณไม่ทราบชนิดของยาเบื่อหนู

ส่วนในกรณีที่คุณไม่ทราบว่าสุนัขของคุณทานยาเบื่อชนิดไหนเข้าไป ก็ให้คุณเก็บตัวอย่างบางส่วนที่สุนัขของคุณอาเจียนออกมา หรือคุณอาจจะเก็บซากหนูที่สุนัขพึ่งทานเข้าไปก็ได้เหมือนกัน ตัวอย่างเหล่านี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์วินิจฉัยได้ว่า สุนัขของคุณเผลอไปทานยาเบื่อหนูชนิดไหนกันแน่น