4 สาเหตุที่ทำให้เสียงเห่าของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป

4 สาเหตุที่ทำให้เสียงเห่าของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป

บทนำ

โดยปกติแล้วเสียงเห่าของสุนัขจะมีได้อยู่หลายโทนเสียง ตามแต่ที่พวกมันแสดงอารมณ์ออกมาให้คุณรู้ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงตอนดีใจ ,ตอนสำนักผิด ,ตอนเห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ ซึ่งน้ำเสียงแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียงบางครั้ง แล้วสุนัขก็จะกลับไปใช้น้ำเสียงแบบปกติ

แต่ในทางกลับถ้าคุณพบว่าโทนเสียงของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป ทุกครั้งที่สุนัขของคุณเห่าอยู่ตลอดเวลา อาการดังกล่าวเป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่าสุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคบางอย่างอยู่

โดยบทความนี้จะมาบอกให้คุณผู้อ่านฟังว่า ถ้าสุนัขของคุณมีเสียงเห่าที่เปลื่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคอะไรได้บ้าง สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่กำลังสนใจเรื่องราวนี้อยู่ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้ครับ

4 สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีเสียงเห่าที่เปลื่ยนแปลงไป

1. โรคกล่องเสียงตีบแคบ (Laryngeal collapse)

โรคนี้เกิดจากกระดูกอ่อนที่กล้องเสียงของสุนัขอ่อนตัวลง จึงทำให้รูปร่างกล่องเสียงของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป ซึ่งมันจะส่งผลทำให้เสียงที่สุนัขเห่าออกมาผิดเพี้ยนไปจากเดิม โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้นอย่างเช่น

  • บ๊อกเซอร์
  • ปั๊ก
  • บูลด็อก
  • เฟรนช์ บูลด็อก

สำหรับวิธีนี้รักษาโรคนี้ในสุนัขสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด ควบคู่กับการดูแลสุขภาพของสุนัขไม่ให้ป่วยเป็นโรคอ้วน

เสียงเห่าของสุนัขเปลื่ยนไปเพราะอะไร

2. โรคกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)

โรคกล่องเสียงอักเสบในสุนัข เป็นโรคที่กล่องเสียงของสุนัขเกิดการอักเสบ จนทำให้เส้นเสียงของสุนัขเกิดการบวมโต ซึ่งมันจะส่งผลทำให้เสียงที่สุนัขเห่าออกมามีเสียงที่เปลื่ยนแปลงไป รวมถึงสุนัขยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น

  • มีอาการไออย่างเรื้อรัง
  • สุนัขหายใจติดขัด หายใจลำบาก
  • สุนัขจะหายใจเสียงดังกว่าปกติ
  • สุนัขจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณลำคอเป็นอย่างมาก
  • จะมีน้ำลายไหลออกมาจากปากของสุนัขอยู่เป็นประจำ

วิธีรักษาโรคกล่องเสียงอักเสบในสุนัข

ทางสัตวแพทย์จะใช้ยาแก้อักเสบ ร่วมกับยาฆ่าเชื้อประเภทต่างๆ เข้ามาช่วยในการรักษา สำหรับสุนัขตัวไหนที่มีอาการกล่องเสียงอักเสบอย่างรุนแรง ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาแก้อักเสบในกลุ่มของสเตียรอยด์เข้ามาช่วยในการรักษา

รวมถึงทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุขภาพของสุนัขในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่อย่างเช่น เรื่องอาหารการกินควรให้สุนัขทานอาหารประเภทไหน ,วิธีจัดสถานที่ให้สุนัขได้รับการพักผ่อนโดยเฉพาะ

    

3. โรคมะเร็งกล่องเสียง (Tumors of the Larynx)

โรคมะเร็งกล่องเสียงในสุนัขเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ถ้าสุนัขได้รับสารที่ทำให้ก่อเกิดมะเร็งติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างเช่น

  • ควันธูน
  • ควันบุหรี่
  • สารเคมีบางประเภท
  • เขม่ารถยนต์
  • ควันจากท่อไอเสีย

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะทำให้สุนัขของคุณมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงขึ้นมาได้ และเมื่อสุนัขของคุณป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงขึ้นมาแล้ว มันจะทำให้เสียงที่สุนัขเห่าออกมานั้นมีเสียงที่เปลื่ยนแปลงไป ประกอบกับสุนัขจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น

  • อาการเสียงแหบ
  • ไออย่างเรื้อรัง
  • เหนื่อยหอบได้ง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง
  • มีกลิ่นปาก
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ต่อมน้ำเหลืองของสุนัขจะบวมโต
  • มีเลือดไหลออกมาจากจมูกและปากของสุนัขอยู่เป็นประจำ

วิธีรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงในสุนัข

สำหรับวิธีรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงในสุนัขทำได้ด้วยการผ่าตัด (การผ่าตัดจะได้ผลดีมากยิ่งขึ้นถ้าพบเจอโรคนี้ในระยะแรกๆ ในตอนที่เซลล์มะเร็งยังไม่มีขนาดก้อนที่ใหญ่โตมากนัก)

ส่วนในกรณีที่พบว่าก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดที่ใหญ่โตจนไม่สามารถผ่าตัดออกได้แล้ว ทางสัตวแพทย์จะเปลื่ยนไปใช้วิธีการฉายรังสีควบคู่กับการทำเคมีบำบัดแทน

สุนัขเสียงแหบเกิดจากอะไร

4. โรคกล่องเสียงเป็นอัมพาต (Laryngeal Paralysis)

โรคกล่องเสียงเป็นอัมพาตในสุนัขเกิดการจากที่ เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานในกล่องเสียงของสุนัขได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนเป็นเหตุทำให้เสียงร้อง กับเสียงเห่าของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป รวมถึงสุนัขยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น

  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก
  • หายใจเสียงดังในลำคอ
  • มีอาการไออย่างเรื้อรัง
  • ในสุนัขบางรายที่มีอาการอย่างรุนแรง ก็อาจจะทำให้สุนัขตัวนั้นเกิดภาวะขาดออกซิเจน จนเป็นลมขึ้นมาได้

โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น

  • แลบราดอร์ ริทรีฟเวอร์
  • โกลเดิน ริทรีฟเวอร์
  • เกรท ไพรีนีส
  • เซนต์เบอร์นาร์ด

รวมถึงสุนัขที่กำลังป่วยเป็นโรคต่างๆ อยู่ก่อนหน้านั้นอย่างเช่น

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคทางระบบประสาท
  • โรคมะเร็ง
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

สุนัขที่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้จะมีโอกาสสูงเป็นอย่างมาก ที่จะป่วยเป็นโรคกล่องเสียงเป็นอัมพาตร่วมด้วย

วิธีรักษาโรคกล่องเสียงเป็นอัมพาตในสุนัข

ทางสัตวแพทย์จะมีวิธีรักษาโรคกล่องเสียงเป็นอัมพาตในสุนัขด้วยการ

  • ใช้ยาประเภทต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้สุนัขสามารถหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • ใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้ในระยะเรื้อรังอย่างรุนแรง
  • ในกรณีที่สุนัขป่วยเป็นโรคนี้ร่วมกับโรคอื่น ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการรักษาทั้งสองโรคร่วมกันไปเลย

บทส่งท้าย

เสียงเห่าที่เปลื่ยนแปลงไปของสุนัข เป็นสัญญาณเตือนว่าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคบางอย่างอยู่ ดังนั้นถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีเสียงเห่าที่เปลื่ยนแปลงไป ร่วมกับอาการต่างอย่างเช่น

  • ไออย่างเรื้อรั้ง
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก
  • มีน้ำลายไหลออกมาจากปากอยู่เป็นประจำ
  • น้ำหนักตัวลงลงอย่างต่อเนื่อง

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันมากกว่า 2 – 3 วัน คุณควรพาสุนัขของคุณไปหาสัตวแพทย์ในทันที