บทนำ
บทความนี้จะมาบอกถึง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาการติดสัดของสุนัขตัวเมีย ว่าอาการติดสัดมีกี่ระยะ วิธีดูแลสุนัขในระหว่างติดสัด กับประโยชน์ของการทำหมันให้กับสุนัข
สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาการติดสัดของสุนัขตัวเมีย
1. สุนัขติดสัดได้ปีละ 1 – 2 ครั้งเท่านั้น
ระยะเวลาในการติดสัดของสุนัขจะเกิดขึ้นในทุก 6 เดือน ทางการแพทย์แบ่งระยะเวลาในการติดสัดของสุนัขออกมาได้ 4 ช่วงได้แก่
1.ระยะก่อนติดสัด (Proestrus)
ระยะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อน 1 สัปดาห์ ที่สุนัขตัวเมียจะมีอาการติดสัด อวัยวะเพศของสุนัขตัวเมียจะมีสารคัดหลั่งใสๆ ไหลออกมาจากอวัยวะเพศอยู่ตลอดเวลา
และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 – 5 วัน สารคัดหลั่งก็จะเปลื่ยนจากน้ำใสๆ กลายเป็นน้ำสีขาวขุ่นที่มีความเหนียวข้นมากยิ่งขึ้น
1.2 ระยะติดสัด (Estrus)
ในระยะนี้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวเมียก็จะเริ่มขยายใหญ่และมีอาการบวมโต สุนัขตัวเมียจะเริ่มมีการตกไข่ จึงทำให้มีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดของสุนัขตัวเมีย
ในระยะเวลานี้สุนัขตัวเมียจะพร้อมให้สุนัขตัวผู้ผสมพันธุ์แล้ว ระยะเวลาดังกล่าวจะกินเวลาอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์
1.3 ระยะหลังติดสัด (Diestrus)
เมื่อเข้าสู่ระยะหลังติดสัด อวัยวะเพศของสุนัขตัวเมียจะค่อยๆ บวมลดลง และไม่ค่อยมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดของแล้ว ในช่วงนี้สุนัขตัวเมียจะไม่ยอมให้สุนัขตัวผู้ผสมพันธุ์ได้เลย ระยะเวลาดังกล่าวจะกินเวลาอยู่ประมาณ 3 เดือนได้
1.4 ระยะสัดเงียบ (Anestrus)
เป็นระยะสุดท้ายที่ร่างกายของสุนัขตัวเมียกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
สุนัขที่มีอายุ 6 เดือนก็มีอาการติดสัดได้แล้วนะ
อาการติดสัดของสุนัขตัวเมียจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คุณคิดไว้เป็นอย่างมาก คุณรู้หรือไม่ว่าลูกสุนัขตัวเมียที่มีอายุครบ 6 เดือนก็มีอาการติดสัดขึ้นมาได้แล้วนะ
แต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมนำลูกสุนัขตัวเมียที่มีอายุได้ 6 เดือนไปผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้นั้นก็เพราะว่า ร่างกายของลูกสุนัขตัวเมียยังไม่แข็งแรงพอ อาจจะทำให้ลูกสุนัขที่คลอดออกมามีปัญหาขึ้นมาได้
รวมถึงตัวแม่สุนัขอาจจะเสียชีวิตในระหว่างคลอด เพราะร่างกายยังไม่แข็งแรงต่อการคลอดลูกสุนัข
ควรทำอย่างไรเมื่อสุนัขตัวเมียมีอาการติดสัด
ถ้าคุณพบว่าสุนัขตัวเมียของคุณมีอาการติดสัด คุณไม่ควรพาสุนัขตัวเมียของคุณออกนอกบ้านเลย รวมถึงห้ามสุนัขตัวเมียของคุณเจอกับสุนัขตัวผู้โดยเด็ดขาด
เพราะจะมีโอกาสสูงเป็นอย่างมากที่สุนัขตัวเมียของคุณไปผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ได้ ในกรณีที่บ้านของคุณเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว แล้วคุณมีทั้งสุนัขตัวเมียกับสุนัขตัวผู้
ให้คุณจับสุนัขตัวเมียที่มีอาการติดสัดไปแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก หรือแยกไปเลี้ยงไว้ในห้องใดห้องหนึ่งในบ้านของคุณเลย เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน คุณถึงค่อยนำสุนัขตัวเมียกลับเข้ามาเลี้ยงรวมกันได้ (แต่ก่อนที่จะเลี้ยงรวมกันได้ คุณต้องดูว่าอาการติดสัดของสุนัขตัวเมียลดลงแล้วหรือยัง)
วิธีดูแลสุนัขตัวเมียในระหว่างที่กำลังติดสัดอยู่
หมั่นทำความสะอาดอวัยวะเพศของสุนัขตัวเมียอยู่เป็นประจำ
สำหรับวิธีดูแลสุนัขตัวเมียที่กำลังมีอาการติดสัดอยู่ก็คือ ให้คุณหาผ้าที่สะอาดมาหนึ่งผื่น แล้วนำผ้าผืนนั้นไปชุบน้ำเปล่า แล้วให้คุณหมั่นเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศของสุนัขตัวเมียอยู่เป็นประจำ
แต่ในช่วงที่สุนัขตัวเมียมีอาการติดสัด จะทำให้มีเลือดไหลออกมาจากที่อวัยวะเพศอย่างต่อเนื่อง คุณควรเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้บ้านของคุณเกิดความสกปรก
กับช่วยไม่ให้อวัยวะเพศของสุนัขมีกลิ่นเหม็นออกมาได้ ให้คุณเช็คทำความสะอาดอวัยวะเพศของสุนัขอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ อาการติดสัดของสุนัขตัวเมียก็จะหายไปเอง
เลี้ยงสุนัขตัวเมียให้อยู่แต่ละบ้าน กับห้ามเจอสุนัขตัวผู้โดยเด็ดขาด
ในช่วงที่สุนัขตัวเมียมีอาการติดสัด สุนัขตัวเมียจะมีความต้องการทางเพศที่สูงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สุนัขตัวเมียจะมีโอกาสผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ได้ง่ายเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในช่วงเวลาที่สุนัขตัวเมียมีอาการติดสัด คุณควรเลี้ยงสุนัขตัวเมียให้อยู่ในแต่บ้าน พยายามอย่าให้สุนัขตัวเมียออกนอกบ้าน กับเข้าใกล้สุนัขตัวผู้โดยเด็ดขาด
ควรพาสุนัขไปทำหมันไหม
สำหรับคุณผู้อ่านท่านไหนที่ไม่อยากมีลูกสุนัขเพิ่ม และคุณก็ไม่อยากให้สุนัขตัวเมียของคุณไปผสมพันธุ์กับสุนัขตัวใดก็ตามที คุณก็สามารถมาสุนัขของคุณไปทำหมันกับทางสัตวแพทย์ก็ได้เหมือนกัน เมื่อลูกสุนัขของคุณมีอายุได้ประมาณ 6 – 8 เดือน โดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1500 – 3000 บาทต่อสุนัขหนึ่งตัว
ประโยชน์ของการทำหมันในสุนัขตัวเมีย
ประโยชน์ของการทำหมันในสุนัข นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้สุนัขตัวเมียของคุณ ไปผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ตัวไหนก็ไม่รู้ ยังมีส่วนช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุนัขตัวเมียก็ได้เหมือนกันอย่างเช่น
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งรังไข่
- ภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง
โดยโรคดังกล่าวมักจะเกิดกับสุนัขตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งการทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ของสุนัขตัวเมียลงได้
รวมถึงการทำหมันยังช่วยให้สุนัขตัวเมียของคุณมีนิสัยที่เรียบร้อย และเชื่อฟังคำสั่งต่างๆ ของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย