โรคหัวใจในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ

บทนำ

โรคหัวใจในสุนัขคืออะไร มีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาโรคนี้อย่างไรบ้าง และมีวิธีดูแลสุนัขอย่างไรบ้าง

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนกำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

โรคหัวใจในสุนัขคืออะไร

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจในสุนัขมักจะเกิดกับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคอ้วนมากกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ทางการแพทย์ได้แบ่งโรคหัวใจของสุนัขออกมาเป็น 2 ประเภทได้แก่

1.โรคหัวใจมาแต่โดยกำเนิด

อย่างเช่น โรคผนังกั้นห้องหัวใจของสุนัขเป็นรู กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติเป็นต้น

2. โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง

อย่างเช่น โรคหัวใจโต , ลิ้นหัวใจรั่ว ,เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นต้น โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับสุนัขวัยชรา กับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคอ้วน

ในกรณีที่สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคหัวใจแล้ว คุณไม่ยอมพาสุนัขไปรักษา อาการต่างๆ จะค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนทำให้สุนัขของคุณเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตลงได้

การตรวจหาโรคหัวใจในสุนัข

การตรวจหาโรคหัวใจในสุนัขสามารถทำได้โดยการตรวจเอ็กซ์เรย์ กับตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ รวมถึงวิธีการตรวจหาต่างๆ อย่างเช่น

  • การฟังอัตราการเต้นของหัวใจสุนัข
  • การวัดคลื่นหัวใจของสุนัข (ECG)
  • รวมถึงการวัดค่าความดันของสุนัขเป็นต้น

อาการต่างๆ ของโรคหัวใจในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ

  • เป็นโรคทางพันธุกรรมของสุนัขมาโดยแต่กำเนิด
  • สุนัขป่วยเป็นโรคอ้วน
  • สุนัขที่เข้าสู่วัยชรา หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป
  • สุนัขออกกำลังกายอย่างหักโหมอยู่เป็นประจำ
  • สุนัขถูกใช้แรงงานอย่างหนักจนสภาพร่างกายรับไม่ไหว
  • เชื้อแบคทีเรียบางประเภทก็ส่งผลทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจได้เหมือนกัน
  • สุนัขเพศผู้จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ง่ายกว่าสุนัขเพศเมีย
  • โดยส่วนใหญ่แล้วโรคสิ้นหัวใจรั่วมักจะเกิดกับสุนัขสาพพันธุ์เล็กๆ อย่างเช่น สุนัขพูเดิล กับสุนัขมินิเอเจอร์ พินช์เชอร์ เป็นต้น
  • ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้นมักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่อย่างเช่น สุนัขโดเบอร์แมน กับสุนัขแลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจในสุนัข

  • สุนัขจะมีอาการเหนื่อยได้ง่ายกว่าปกติ แค่เดินนิดหน่อยก็เหนื่อยหอบแล้ว
  • เหงือกของสุนัขเปลื่ยนจากสีปกติกลายเป็นสีเขียว
  • สุนัขมีอาการไอแห้งอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
  • สุนัขมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจติดขัด
  • ท้องของสุนัขจะบวมโตจนผิดสังเกต
  • อุ้มเท้าทั้งสี่ข้างของสุนัขจะบวมโตขึ้นมากกว่าปกติ
  • ถ้าคุณลองเอามือของคุณไปแตะที่หัวใจของสุนัข หรือตรงบริเวณหน้าอกของสุนัข คุณจะรู้สึกว่าหัวใจของสุนัขนั้นเต้นแรงและเร็วเป็นอย่างมาก

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบสัตวแพทย์โดยทันที เพราะสุนัขของคุณอาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้

วิธีรักษาโรคหัวใจในสุนัข  

วิธีรักษาโรคหัวใจในสุนัขมักจะใช้วิธีการผ่าตัดคู่ควบกับการให้ยาบรรเทาอาการต่างๆ  โดยหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการผ่าตัด ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุนัขดังต่อไปนี้

  • ให้สุนัขของคุณทานยาที่ทางสัตวแพทย์ให้มา ให้ครบตามที่ทางสัตวแพทย์ได้กำหนดไว้ทุกครั้ง
  • ให้สุนัขของคุณทานแต่เมนูอาหารที่ทางสัตวแพทย์แนะนำ ห้ามทานอาหารประเภทอื่นโดยเด็ดขาด
  • สำหรับการออกกำลังกายต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ อย่างเช่น การพาสุนัขของคุณไปเดินเล่นบริเวณรอบๆ ตัวบ้านของคุณ ห้ามสุนัขของคุณออกกำลังกายอย่างหักโหมโดยเด็ดขาด
  • คุณต้องคอยควบคุมน้ำหนักของสุนัข อย่าปล่อยให้สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคอ้วนโดยเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้โรคหัวใจของสุนัขกลับมากําเริบได้อีก
  • คุณต้องพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบตามที่ทางสัตวแพทย์ได้นัดไว้ เพื่อจะได้ติดตามผลของอาการต่างๆ ว่าหลังจากที่ทำการผ่าตัดไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นแล้วหรือยัง