12 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อเริ่มเลี้ยงลูกสุนัข

12 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อเริ่มเลี้ยงลูกสุนัข

บทนำ

บทความนี้จะมาแนะนำถึง 12 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อเริ่มเลี้ยงลูกสุนัข ว่าในเบื้องต้นคุณต้องเตรียมตัวอย่างไร ลูกสุนัขของคุณถึงจะใช้ขีวิตได้อย่างมีความสุข

โดยตัวบทความจะกล่าวถึง ส่วนที่คุณควรทำเมื่อคุณพาลูกสุนัขเข้ามาพักอาศัยอยู่ในบ้าน ว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง คุณต้องฝึกอะไรให้กับลูกสุนัขบ้าง มีสิ่งไหนที่คุณไม่ควรทำกับลูกสุนัขของคุณ

บทความนี้เขียนขึ้นมาสำหรับคุณผู้อ่านท่านไหน ที่กำลังพึ่งเริ่มเลี้ยงลูกสุนัข แต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี ถึงจะทำให้คุณภาพชีวิตของลูกสุนัขดีอยู่เสมอ

ให้คุณลองอ่านบทความนี้เป็นไกด์นำทางให้กับคุณดู เอาละเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

12 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อเริ่มเลี้ยงลูกสุนัข

1. ให้ลูกสุนัขทานแต่อาหารที่มีประโยชน์

ในช่วงที่ลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 2 – 6 เดือน ในช่วงนี้ร่างกายของลูกสุนัขจะพัฒนาเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายของลูกสุนัขเจริญเติบโตสมวัย คุณควรให้ลูกสุนัขของคุณทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน

โดยอาหารที่ลูกสุนัขทานได้และมีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกสุนัขในช่วงนี้ก็จะมี

  • นมแพะสำหรับลูกสุนัข
  • อาหารเม็ดสำหรับลูกสุนัข
  • อาหารเปียกสำหรับลูกสุนัข
  • เนื้อไก่กับเนื้อปลาต้มสุก ที่คุณต้องแกะกระดูกออกจนหมดแล้ว กับคุณต้องฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ลูกสุนัขของคุณทานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ฝึกให้ลูกสุนัขรู้จักเข้าสังคม

2. ฝึกให้ลูกสุนัขรู้จักเข้าสังคม

สิ่งแรกที่คุณควรฝึกให้ลูกสุนัขของคุณ หลังจากที่พาลูกสุนัขเข้ามาพักอาศัยอยู่ในบ้านก็คือ การทำให้ลูกสุนัขรู้จักกับความรัก และความอบอุ่นในบ้านของคุณ

โดยคุณอาจจะแสดงความรักให้กับลูกสุนัขของคุณด้วยลูบหัว ลูบตัว กอด บอกรัก พูดให้กำลังใจลูกสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำ

เมื่อลูกสุนัขของคุณได้รับความรักจากคุณอย่างเพียงพอแล้ว พวกมันก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีสุขภาพจิตดี อยู่ในโอวาทของคุณพร้อมทั้งเชื่อฟังคำสั่งต่างๆ ของคุณ เป็นสุนัขที่ไม่ก้าวร้าวใจดีกับผู้อื่น

3. ฝึกให้ลูกสุนัขรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งของต่างๆ ในบ้านของคุณ

ในช่วงแรกๆ ที่คุณพึ่งพาลูกสุนัขเข้าบ้าน คุณควรปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณได้เดินสำรวจพื้นที่ต่างๆ ในบ้านของคุณได้อย่างเต็มที่ โดยมีคุณคอยระวังลูกสุนัขอยู่ห่างๆ

อย่าให้ลูกสุนัขเดินเข้าไปในพื้นที่อันตราย หรือเดินขึ้นไปในที่สูงๆ จนตกลงมาโดยเด็ดขาด

การปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณได้เดินสำรวจพื้นที่ภายในบ้านอย่างเต็มที่นั้น จะช่วยให้ลูกสุนัขรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่ที่พวกมันมาอยู่ใหม่ การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้านของคุณ

4. หมั่นแปรงขนให้กับลูกสุนัขอยู่เป็นประจำ

สิ่งที่คุณควรทำอยู่เป็นประจำนั้นก็คือ การหมั่นแปรงขนให้กับลูกสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำสัปดาห์ละประมาณ 2 – 3 ครั้ง

การแปรงขนให้กับลูกสุนัขอยู่เป็นประจำนั้น จะช่วยให้ลูกสุนัขมีสุขภาพขนและผิวหนังที่ดีอยู่เสมอ แถมมันยังช่วยให้ขนคลายตัว ไม่พันกันจนกลายเป็นสังกะตังอีกด้วย

หลีกเลี่ยงไม่อาบน้ำให้กับลูกสุนัข

5. หลีกเลี่ยงไม่อาบน้ำให้กับลูกสุนัข

ในช่วงแรกๆ ที่ลูกสุนัขของคุณมีอายุได้ประมาณ 2 – 3 เดือน คุณไม่ควรจับลูกสุนัขของคุณอาบน้ำ เพราะการได้สัมผัสกับน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะทำให้ลูกสุนัขของคุณป่วยขึ้นมาได้

ในช่วงแรกๆ คุณอาจจะใช้ผ้าเช็คตัวชุบน้ำทำความสะอาดร่างกายของลูกสุนัขไปก่อน และเมื่อลูกสุนัขของคุณมีอายุได้ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป คุณถึงจะสามารถอาบน้ำให้กับลูกสุนัขได้

6. ฝึกให้ลูกสุนัขรู้จักกับการเคี้ยว

โดยธรรมชาติแล้วการเรียนรู้ของลูกสุนัขคือ การได้ลองเคี้ยวสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวของมันว่า สิ่งเหล่านั้นมีรสสัมผัส มีรสชาติยังงไง สิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อพวกมันหรือไม่

ดังนั้นเพื่อพัฒนาการทางสมองที่ดีของลูกสุนัข คุณควรปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณเรียนรู้สิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่ โดยที่คุณคอยระวังอยู่ห่างๆ อย่าให้ลูกสุนัขของคุณทานสิ่งของที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของพวกมันก็พอ

หรือในกรณีที่คุณไม่อยากให้ลูกสุนัขของคุณไปกัดหรือเคี้ยวสิ่งของต่างๆ คุณก็สามารถหาของเล่นสุนัขสำหรับเคี้ยว หรือพวกขนมช่วยขัดฟันของลูกสุนัข มาให้ลูกสุนัขของคุณได้ลองกัดหรือเคี้ยวก็ได้เหมือนกัน

7. ระวังอย่าให้ลูกสุนัขกินอุจจาระ

การที่คุณปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณกินอุจจาระของตัวเองตั้งแต่เด็กๆ นิสัยเหล่านี้มันจะติดตัวมากับลูกสุนัขในตอนที่พวกมันโตแล้ว

ดังนั้นคุณควรฝึกนิสัยไม่ให้ลูกสุนัขกินอุจจาระตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นลูกสุนัข โดยคุณอาจจะป้องกันเรื่องเหล่านี้ได้โดยการ ทุกครั้งที่ลูกสุนัขของคุณขับถ่ายอุจจาระออกมา ให้คุณรีบเก็บอุจจาระกองนั้นทิ้งโดยทันที

สร้างที่กั้นคอกให้กับลูกสุนัข

8. สร้างที่กั้นคอกให้กับลูกสุนัข

ในช่วงที่ลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 2 – 6 เดือน ลูกสุนัขจะมีนิสัยที่ซุกซนเป็นอย่างมา คุณควรทำที่กั้นคอกเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสุนัขไปเล่นซุกซนจนได้รับอุบัติเหตุทางร่างกายได้

แต่ถ้าคุณไม่อยากทำที่กั้นคอกให้กับลูกสุนัขคุณต้องคอยจับตาดูลูกสุนัขของคุณอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีโอกาสสูงที่ลูกสุนัขจะได้รับอุบัติเหตุการจากเล่นซุกซนได้

9. ไม่ควรพาลูกสุนัขออกไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะ

ในช่วงที่ลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 2 – 6 เดือน ร่างกายของพวกมันจะยังไม่เจริญเติบโตดีพอ ในช่วงนี้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของลูกสุนัขจะน้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับสุนัขที่โตจนเต็มวัยแล้ว

การที่คุณพาลูกสุนัขของคุณออกไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะที่ต่างๆ อาจจะทำให้ลูกสุนัขของคุณได้สัมผัสถูกกับเชื้อโรคต่างๆ ที่อยู่ภายนอกบ้าน

จนทำให้ลูกสุนัขของคุณล้มป่วยลงได้ ทางที่ดีคุณควรรอให้ลูกสุนัขของคุณมีอายุครบ 1 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกสุนัขโตจนเต็มวัยแล้ว คุณถึงคอยพาลูกสุนัขของคุณออกไปเดินเล่นนอกบ้านได้

10. อย่าแกล้งให้ลูกสุนัขกลัว

การที่คุณชอบแอบแกล้งให้ลูกสุนัขกลัวบ่อยๆ มันจะส่งผลทำให้ลูกสุนัขของคุณเกิดความเครียดสะสมขึ้นมาได้

และเมื่อลูกสุนัขมีความเครียดสะสมในร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แล้ว มันจะส่งต่อพฤติกรรมต่างๆ ของลูกสุนัข

มันจะทำให้ลูกสุนัขของคุณกลายเป็นสุนัขที่ขี้กลัว ชอบขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง และมีนิสัยที่ก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นได้

อย่าลงโทษลูกสุนัข หรือตามใจลูกสุนัขจนเกินไป

11. อย่าลงโทษลูกสุนัข หรือตามใจลูกสุนัขจนเกินไป

ผลเสียการลงโทษลูกสุนัข

การลงโทษลูกสุนัขมากจนเกินไปอย่างเช่น การตีลูกสุนัข หรือการตะโกนดุด่าลูกสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำ

มันจะส่งผลทำให้ลูกสุนัขของคุณเกิดความเครียด และหวาดระแวงขึ้นมาได้ ซึ่งมันจะส่งผลต่อนิสัยในอนาคตของลูกสุนัข มันจะทำให้ลูกสุนัขของคุณมีนิสัยที่ดุร้ายขึ้นมาได้

ผลเสียของการตามใจลูกสุนัข

รวมถึงการตามใจลูกสุนัขของคุณมากจนเกินไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีเหมือนกัน เพราะมันจะทำให้ลูกสุนัขของคุณกลายเป็นสุนัขที่มีนิสัยเอาแต่ใจ

ไม่เชื่อฟังคำสั่งต่างๆ ของคุณ รวมถึงพวกมันยังมีนิสัยถ้าไม่พอใจกับสิ่งไหน พวกมันก็จะส่งเสียงเห่ารบกวนคุณ หรือพุ่งเข้ากัดคุณเลยก็ได้เหมือนกัน

12. พาลูกสุนัขของคุณเข้ารับวัคซีนตามที่กำหนด

โดยหลักๆ แล้วลูกสุนัขของคุณจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนดังต่อไปนี้

ฉีดเข็มแรก

เมื่อลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 2 – 3 เดือน คุณต้องพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกัน

  • โรคหวัด
  • โรคไข้หัด
  • ลำไส้อักเสบ
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคทางเดินหายใจ

ฉีดเข็มที่สอง

เมื่อลูกสุนัขของคุณมีอายุได้ประมาณ 4 เดือนขึ้นไป ให้คุณพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกัน

  • โรคไข้หัด
  • ลำไส้อักเสบ
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคทางเดินหายใจ

ฉีดเข็มที่สาม

เมื่อลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 5 – 6 เดือนขึ้นไป ให้คุณพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกัน

  • โรคตับอักเสบ
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคพยาธิหนอนหัวใจ

วัคซีนที่ต้องฉีดซ้ำเป็นประจำทุกปี

และในทุกๆ 1 ปีคุณต้องพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคเหล่านี้ปีละ 1 เข็มได้แก่ วัคซีนป้องกัน

  • โรคหัด
  • โรคไข้ฉี่หนู
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคทางเดินหายใจ

แต่คุณไม่ต้องกังวลเรื่องอะไรเหล่านี้มากนักเพราะในปัจจุบันทางโรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงตามคลินิกสัตว์ต่างๆ ได้มีการใช้โปรแกรมฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้กับลูกสุนัขอยู่แล้ว

เพียงแค่คุณเลือกหาโรงพยาบาลสัตว์ที่คุณสะดวกเดินทาง รวมถึงแพ็คเก็จราคาวัคซีนที่คุณต้องจ่าย

แล้วทางสัตวแพทย์จะทำการนัดให้คุณพาลูกสุนัขเข้ามาฉีดวัคซีนตามที่กำหนดไว้ หน้าที่ของคุณก็แค่พาลูกสุนัขของคุณ ไปฉีดวัคซีนตามวันเวลาที่ทางโรงพยาบาลสัตว์ได้นัดไว้