อาการสั่นของสุนัข

อาการสั่นของสุนัขเกิดจากสาเหตุใด

บทนำ

บทความนี้จะมาพูดถึง อาการสั่นของสุนัข เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดบ้าง ทางสัตวแพทย์มีวิธีรักษาอาการสั่นของสุนัขอย่างไร รวมถึงวิธีดูแลสุนัขในระหว่างช่วงพักฟื้นตัว

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนที่กำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

อาการสั่นของสุนัขเกิดขึ้นจากสาเหตุใด

อาการสั่นของสุนัขสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกายของสุนัขไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของศรีษะ ลำคอ ขาหน้า ขาหลัง รวมถึงบางทีอาการสั่นของสุนัข อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างที่พวกมันกำลังนอนพักผ่อนอยู่ก็ได้เหมือนกัน

สำหรับอาการสั่นของสุนัขสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น

  • สุนัขรู้สึกตื่นเต้นจนเกินไป
  • ผลข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด
  • สุนัขอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  • สุนัขได้รับสารพิษบางประเภทอย่างเช่น ยาเบื่อหนู เป็นต้น
  • สุนัขป่วยเป็นโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการสั่นอย่างเช่น โรคหัวใจ ,โรคไตวาย ,โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ,ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ,โรคไข้หัดสุนัข และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทของสุนัข เป็นต้น
  • โรคทางพันธุกรรมของสุนัขบางสายพันธุ์อย่างเช่น สุนัขเชาเชา , ดัลเมเชียน และสุนัขโดเบอร์แมน พินเชอร์ เป็นต้น
  • สุนัขเจอกับเหตุการณ์แย่ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจของสุนัขอย่างรุนแรง ก็ทำให้สุนัขเกิดอาการสั่นขึ้นมาได้เหมือนกัน
  • สุนัขสายพันธุ์ขนาดเล็กที่มีขนสีขาว จะมีโอกาสเกิดอาการสั่น ได้ง่ายกว่าสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการสั่นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 2 – 3 วัน ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบกับทางสัตวแพทย์ในทันที เพราะอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสุนัขของคุณได้

ทางสัตวแพทย์มีวิธีรักษาอาการสั่นของสุนัขอย่างไรบ้าง

วิธีรักษาอาการสั่นของสุนัขจากทางสัตวแพทย์

  • เมื่อคุณพาสุนัขของคุณเข้าพบกับทางสัตวแพทย์แล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ ที่ทำให้สุนัขเกิดอาการสั่นขึ้นมา
  • ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีรักษาอาการสั่นในสุนัขโดยการให้ยาบรรเทาอาการปวดต่างๆ อย่างเช่น ยาช่วยคลายเส้นกล้ามเนื้อ กับยาระงับประสาท
  • ถ้าสุนัขของคุณไม่ได้ป่วยเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงมากนัก หลังจากที่ได้รับตัวยาเหล่านี้แล้ว อาการสั่นของสุนัขก็จะค่อยๆ ลดลงจนหายดี
  • แต่ถ้าหลังจากที่ได้รับยาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขยังไม่ดีขึ้นเลย ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติม อย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง
  • ในกรณีที่พบว่าสาเหตุนั้น เกิดจากผลข้างเคียงของตัวยาบางชนิด ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการเปลื่ยนตัวยาชนิดใหม่ให้กับสุนัข หรืออาจจะลดปริมาณของตัวยาชนิดเก่าลง
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขได้รับสารพิษบางอย่าง ทางสัตวแพทย์ก็จะหาทางกระตุ้นให้สุนัขอาเจียนเอาขับสารพิษเหล่านั้นออกมาจากร่างกาย รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการล้างท้องให้กับสุนัขอีกทีหนึ่ง
  • หลังจากที่รักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุนัขในระหว่างพักฟื้นร่างกายให้กับคุณ

วิธีดูแลสุนัขในระหว่างพักฟื้นร่างกาย

  • ให้สุนัขของคุณทานแต่อาหาร ที่ทางสัตวแพทย์แนะนำแต่เพียงเท่านั้น
  • งดกิจกรรมการออกกำลังกายทุกอย่างของสุนัข
  • พยายามอย่าทำให้สุนัขของคุณรู้สึกตื่นเต้นจนเกินไป ในระหว่างช่วงพักฟื้นตัว
  • จัดสถานให้สุนัขของคุณได้รับการพักผ่อน โดยห้องที่สุนัขได้รับการพักผ่อน ต้องเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกตลอดทั้งวัน และต้องเป็นห้องที่เงียบๆ ไม่มีเสียงรบกวนใดๆ เลย
  • ถ้าการรักษาผ่านไปได้ด้วยดี อาการสั่นของสุนัขจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 – 3 สัปดาห์
  • แต่ในกรณีที่คุณพบว่าหลังจากที่เวลาผ่านไป 2 – 3 สัปดาห์แล้ว สุนัขยังมีอาการสั่นอยู่ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพราะอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทางสัตวแพทย์ยังตรวจไม่พบเจอ ก็ได้เหมือนกัน