เมื่อสุนัขไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้

เมื่อสุนัขไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ อาการ

บทนำ

สุนัขไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้อย่างปกติ หรือ อาการ Urinary retention ในสุนัข เป็นอาการที่สุนัขไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะออกมาได้

อาการนี้ไม่ใช่อาการที่เกิดจากมีสิ่งอุดตันเข้าไปอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัข แต่อาการดังกล่าวเป็นอาการที่อวัยวะของสุนัขเกิดการติดเชื้ออย่างเช่น

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัข
  • การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะของสุนัข
  • การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะของสุนัข เป็นต้น

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรค Urinary retention

  • สุนัขจะมีอาการขับถ่ายปัสสาวะแบบกะปิดกะปอย หรือปัสสาวะออกมาได้เพียงเล็กน้อย
  • สุนัขจะมีอาการอยากขับถ่ายปัสสาวะตลอดทั้งวัน
  • สุนัขจะมีอาการปวดท้อง
  • ท้องของสุนัขจะมีอาการบวมโต

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

  • มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะของสุนัข
  • ระดับโพแทสเซียม กับระดับแคลเซียมในเลือดของสุนัขอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ
  • มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสะโพก และกระดูกสันหลังของสุนัข
  • เป็นผลเคียงข้างจากตัวยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทของสุนัข
  • ท่อปัสสาวะของสุนัขเกิดการฉีดขาด
  • สุนัขติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจระบบขับถ่ายของสุนัขอย่างละเอียด โดยจะดูว่าเส้นประสาทที่อยู่รอบๆ ระบบขับถ่ายของสุนัขยังทำงานเป็นปกติดีอยู่หรือไม่ ท่อปัสสาวะของสุนัขเป็นอย่างไร มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) ควบคู่กับการใช้ ซีทีสแกน Computed Tomography (CT scans) ไปที่ไต และกระดูกสันหลังของสุนัข รวมถึงระบบเดินทางปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาหรือเปล่า

วิธีรักษาอาการสุนัขไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะเองได้

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

สัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอตัวอย่างเช่น

  • ถ้าพบว่าในร่างกายของสุนัขมีความสมดุลกันของค่าอิเล็คโทรไลท์ กับค่ากรดด่าง ทางสัตวแพทย์ก็จะหาวิธีทำให้ค่าทั้งสองตัวนี้กลับสู่ภาวะสมดุลดังเดิม
  • ในกรณีที่พบว่าสุนัขมีอาการอย่างรุนแรงรวมถึงมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย ทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขอยู่พักรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลก่อน จะยังไม่อนุญาตให้สุนัขกลับบ้านได้ เพื่อจะได้เฝ้าระวังอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด
  • ในสุนัขบางตัวที่มีอาการเป็นหนักๆ หลังจากที่รักษาเสร็จ สุนัขก็ยังไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะเองได้ ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีทำให้สุนัขสามารถขับถ่ายปัสสาวะออกมาได้อย่างเช่น การบีบ หรือกระตุ้นให้สุนัขขับถ่าย รวมถึงการการสวนปัสสาวะของสุนัขให้กับคุณ