บทนำ
เนื้องอก Sertoli Cell ในสุนัข เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในอัณฑะของสุนัข ซึ่งมันจะทำให้อัณฑะของสุนัขไม่เคลื่อนตัวลงไปในถุงหุ้มอัณฑะ
เนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกที่รุนแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก อีกทั้งเนื้องอกชนิดนี้ยังสามารถแพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ใน ร่างกายของสุนัข ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคเนื้องอกลูกอัณฑะชนิด Sertoli cell
- สีผิวหนังของสุนัขจะเปลื่ยนแปลงไปจากปกติ
- ลูกอัณฑะของสุนัขจะมีขนาดใหญ่โต กว่าข้างใดข้างหนึ่ง
- เต้านมของสุนัขตัวผู้จะมีความผิดปกติเกิดขึ้น
- ท่าปัสสาวะของสุนัขตัวผู้จะเปลื่ยนแปลงไปจากปกติ กลายเป็นท่าปัสสาวะที่ดูเหมือนกับสุนัขตัวเมีย
- ถ้าคุณลองคลำไปที่อัณฑะของสุนัข คุณจะพบว่ามีก้อนเนื้อที่ไม่ได้เคลื่อนลงไปในถุงหุ้มอัณฑะของสุนัข
สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้เกิดจาก มีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในถุงอัณฑะของสุนัข รวมถึงสุนัขตัวผู้ที่กำลังป่วยเป็นภาวะทองแดงอยู่
การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์
- ทางสัตวแพทย์จะสอบถามกับคุณว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
- ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดของสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขกำลังป่วยเป็นภาวะโลหิตจางอยู่หรือไม่ ปริมาณเม็ดเลือดขาวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติหรือเปล่า เกร็ดเลือดของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ระดับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน กับ โปรเจสเตอโรน ในร่างกายของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ค่าเหล่านี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกได้ว่าสุนัขกำลังป่วยเป็นโรค Sertoli cell อยู่หรือไม่
- ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่ถุงอัณฑะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับถุงอัณฑะของสุนัขหรือเปล่า มีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในถุงอัณฑะของสุนัขหรือไม่
- ถ้าตรวจพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในถุงอัณฑะของสุนัข ก็จะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนจากเนื้องอกภายในถุงอัณฑะของสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบดูว่าตกลงแล้วเนื้องอกชิ้นนั้น เป็นเนื้องอกชนิดไหนกันแน่น
การรักษาจากทางสัตวแพทย์
ในกรณีที่อาการของโรค Sertoli cell ในสุนัขยังไม่รุนแรงมากนัก รวมถึงเซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัข
ทางสัตวแพทย์จะทำการรักษาโรคนี้โดยการทำหมันให้กับสุนัข หรืออาจจะทำการผ่าตัดเอาอัณฑะออกจากร่างกายของสุนัข
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากทำหมันให้กับสุนัข หรือใช้วิธีผ่าตัดเอาอัณฑะออกมา อาการต่างๆ ของสุนัขก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 – 2 เดือน
แต่ในกรณีที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขแล้ว การรักษาด้วยการทำหมัน กับการผ่าตัดอาจจะไม่ได้ผล ทางสัตวแพทย์จะเลือกใช้การทำคีโม กับการทำเคมีบําบัดเข้ามาช่วยในการรักษาแทน
โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขตัวผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีพฤติกรรมคล้ายๆ กับสุนัขเพศเมียอย่างเช่น การชอบเลียนมของตัวเอง รวมถึงการถ่ายปัสสาวะในท่าของสุนัขเพศเมีย ซึ่งทางสัตวแพทย์จะหาวิธีปรับเปลื่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ในขั้นตอนต่อไปเอง