โรคต้อหินในสุนัข

โรคต้อหินในสุนัข

บทนำ

โรคต้อหินในสุนัข เป็นอาการที่ภายในลูกตาของสุนัขมีความดันเกิดขึ้น รวมถึงดวงตาของสุนัขยังไม่สามารถระบายของเหลวต่างๆ ออกมาได้อย่างเช่น น้ำตา

สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วทางเจ้าของไม่ยอมพาสุนัขไปรักษา อาการที่จะตามมาต่อไปก็คือ อาการเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทตาของสุนัข ซึ่งมันอาจจะส่งผลกระทบทำให้สุนัขเกิดอาการตาบอดขึ้นมาได้เลย

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคต้อหินในสุนัขมักจะเกิดกับสุนัขสายพันธุ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขซามอยด์ (Samoyed)
  • พุดเดิ้ล (Poodle)
  • เชาเชา (chow chow)
  • ไซบีเรียน ฮัสกี้ (siberian husky)

มากกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกัน รวมถึงโรคต้อหินในสุนัขถึงแม้ว่าจะรักษาจนสุนัขหายดีแล้ว สุนัขก็ยังมีโอกาสที่จะตาบอดได้ถึง 40 % เลย

โรคต้อหินในสุนัขแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

1.โรคต้อหินชนิดปฐมภูมิ (primary glaucoma) สุนัขจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการกระพริบตาอยู่เป็นประจำ
  • มีความดันเกิดขึ้นภายในดวงตาของสุนัข
  • ลูกตาของสุนัขจะจมเข้าไปในเบ้าตา
  • ดวงตาของสุนัขจะมีสีขุ่น หรือเป็นดวงตาขุ่น
  • ลูกตาของสุนัขจะขยายตัวมากขึ้นกว่าปกติ
  • สุนัขจะค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นลงไปเรื่อยๆ
  • ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้ดวงตาของสุนัขเกิดการบอดขึ้นมาได้

2. โรคต้อหินชนิดทุติยภูมิ  (secondary glaucoma)

โรคต้อหินชนิดนี้เกิดจาก การที่ดวงตาของสุนัขเกิดการติดเชื้อขึ้นมา เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ดวงตาด้านหน้าของสุนัขจะมีสีขาวขุ่นหรือมีดวงตาข่น
  • มีความดันเกิดขึ้นภายในดวงตาของสุนัข
  • ม่านตาของสุนัขจะค่อยๆ หดตัวลง
  • จะมีเส้นเลือดสีแดงเกิดขึ้นบนตาขาวของสุนัข
  • จะมีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นตรงบริเวณตาหน้าของสุนัข

และนอกจากอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สุนัขยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่น

  • สุนัขจะมีอาการเบื่ออาหารไม่อยากทานอะไรทั้งนั้น
  • สุนัขจะมีอาการปวดหัวอยู่เป็นประจำ
  • สุนัขจะมีอาการเซียงซึม ไม่อยากเล่นกับใครทั้งนั้น

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการต้อหินในดวงตา

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้

  • แก้วตาของสุนัขเคลื่อนที่ไปอยู่ผิดจุด
  • เยื่อตาของสุนัขเกิดการอักเสบ
  • มีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในดวงตาของสุนัข
  • สุนัขได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุทำให้มีการสะสมของเลือดภายในดวงตาของสุนัข

การวินิฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขว่ามีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจดวงตาของสุนัขอย่างละเอียด โดยจะใช้อุปกรณ์สำหรับวัดความดันลูกตาของสุนัขโดยเฉพาะ (tonometer) ไปที่บริเวณกระจกตาของสุนัข อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์รู้ได้ว่า สุนัขรู้สึกเจ็บปวดที่ดวงตาอยู่ในระดับไหนกัน
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีวัดคลื่นไฟฟ้าที่จอประสาทตาของสุนัข (electroretinography) วิธีนี้จะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า การมองเห็นของสุนัขเป็นอย่างไร สุนัขยังมองเห็นได้เป็นปกติดีอยู่หรือไม่
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) กับตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ไปที่ดวงตาของสุนัข เพื่อดูว่าดวงตาของสุนัขเป็นอย่างไร มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับดวงตาของสุนัขหรือไม่

วิธีรักษาโรคต้อหินในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • เมื่อทางสัตวแพทย์ทราบแล้วว่าสุนัขป่วยเป็นโรคต้อหิน ก็จะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้ความดันในลูกตาของสุนัขลดลงมา
  • เมื่อความดันภายในลูกตาของสุนัขกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ก็จะทำให้สุนัขกลับมามองเห็นได้เป็นปกติดีดังเดิม
  • ถ้าตรวจพบว่าเส้นประสาทตาของสุนัขได้รับความเสียหายอย่างหนัก เกินกว่าที่จะทำการซ่อมแซมได้ ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา
  • ถ้าตรวจพบว่ามีของเหลวสะสมอยู่ภายในลูกตาของสุนัข ก็จะทำการรักษาโดยการใช้วิธี cyclocryotherapy ซึ่งวิธีดังกล่าว เป็นการใช้อุณหภูมิที่เย็นจัดเข้าไปทำลายเซลล์ที่ผลิตของเหลวภายในลูกตาของสุนัข
  • ถ้าพบว่าลูกตาของสุนัขได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์อาจจะจำเป็นต้องควักลูกตาของสุนัขออกมาทั้งลูกเลย

ในกรณีที่สุนัขต้องควักลูกตาออกมา

  • ในกรณีที่สุนัขต้องควักลูกตาออกมา ทางสัตวแพทย์จะแนะนำถึงวิธีดูแลสุนัขในระหว่างที่กำลังพักฟื้นร่างกายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ชีวิตในบ้าน การกิน การนอน
  • สุนัขที่สูญเสียการมองเห็นจะค่อยๆ ปรับตัวได้ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 – 2 เดือน
  • สิ่งที่คุณต้องระวังก็คือ ให้คุณดูแลสุนัขของคุณอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้สุนัขของคุณออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น เพราะอาจจะเสี่ยงถูกรถชน หรือถูกสุนัขจรจัดตัวอื่นๆ กัดเอาได้

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

สุนัขที่ป่วยเป็นโรคต้อหิน ในตาข้างใดข้างหนึ่งหลังจากที่รักษาจนหายดีแล้ว จะมีโอกาสถึงประมาณ 50% ที่ดวงตาอีกข้างหนึ่ง อาจจะเกิดเป็นต้อหินขึ้นมาได้

ดังนั้นในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นร่างกายอยู่ ให้คุณคอยสังเกตดวงตาอีกข้างหนึ่งของสุนัขให้ดีๆ ถ้าคุณพบว่าดวงตาอีกข้างหนึ่งของสุนัขมีต้อหินเกิดขึ้น ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที