โรคไตวายเรื้อรังในสุนัข

อาการไตวายเรื้อรังในสุนัข

บทนำ

โรคไตวายเรื้อรังในสุนัข เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือสุนัขวัยชรา เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้นอวัยวะภายในต่างๆ ของสุนัขก็จะเริ่มทำงานเสื่อมถอย

รวมถึงไตของสุนัขก็จะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงมาเรื่อยๆ เพราะเมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้นท่อไตของสุนัขจะไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุ และสารอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้

รวมถึงร่างกายของสุนัขยังไม่สามารถกักเก็บโปรตีนไว้ในร่างกายได้อีกด้วย จนเป็นเหตุทำให้ไตของสุนัขค่อยๆ เสื่อมโทรมลงมาเรื่อยๆ

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการไตวายเรื้อรัง

  • สุนัขติดเชื้อบางประเภทอย่างเช่น โรคฉี่หนู (leptospirosis) เป็นต้น
  • เป็นผลข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด ที่ทำให้ไตของสุนัขทำงานหนัก อย่างเช่น ตัวยาในกลุ่มของการขับถ่ายปัสาวะอย่าง diuretic drugs เป็นต้น
  • สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะอย่างเช่น โรคนิ่วหรือโรคต่อมลูกหมากโตเป็นต้น
  • สุนัขป่วยเป็นโรคเบาหวาน รวมถึงโรคหัวใจ ก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้สูง
  • โรคประจำตัวของสุนัขสายพันธุ์ เยอรมันเชเพิร์ด (German Shepherd)  ,บลู เทอร์เรียร์ (Bull Terrier) ,ซามอยด์ (Samoyed)

เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการชักอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากเซลล์สมองของสุนัขค่อยๆ ถูกทำลายลงไป
  • สุนัขจะมีอาการตาบอด
  • สุนัขจะมีอาการท้องเสีย และอาเจียนอย่างต่อเนื่อง
  • สุนัขจะมีอาการกินน้ำตลอดทั้งวัน รวมถึงมีอาการขับถ่ายปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา
  • สุนัขจะมีอาการซึม และเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • ในช่วงนี้ถ้าตรวจเลือดของสุนัขดู จะพบว่าเลือดของสุนัขมีภาวะเป็นกรด ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกายของสุนัขอย่างเช่น  ลิ้น ลำไส้ กระเพาะอาหาร ถูกเลือดที่เป็นภาวะกรดกัดเอาได้
  • สุนัขจะป่วยเป็นโรคโลหิตจาง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการเบื้องต้นของสุนัข ว่ามีอาการอะไรบ้างสุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับสุนัขบ้าง
  • การตรวจเลือดนั้นจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า สุนัขกำลังป่วยเป็นโรคไตอยู่หรือไม่ โดยการดูจากค่าทั้งสองตัวได้แก่ 1. ค่าปริมาณยูเรียในเลือด กับ 2. ค่าครีเอทีนีนในร่างกายของสุนัข
  • ส่วนการตรวจปัสสาวะจะช่วยให้ทางสัตวแพทย์ทราบได้ว่า ระบบความเข้นข้นในไตของสุนัขอยู่ในระดับใด กับมีโปรตีนหลุดเข้ามาในปัสสาวะของสุนัขมากน้อยแค่ไหนกัน
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ไปที่ไตของสุนัข เพื่อดูว่าไตของสุนัขเป็นอย่างไร ได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหนกัน มีเนื้องอก หรือก้อนนิ่วเกิดขึ้นที่ไตของสุนัขหรือไม่

วิธีรักษาอาการไตวายเรื้อรังในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • โรคไตวายเรื้อรังในสุนัข เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้แค่เพียงแต่บรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา
  • ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วทางสัตวแพทย์จะใช้สารน้ำเข้าไปรักษาอาการเลือดเป็นกรดของสุนัข ให้กลับสู่ภาวะปกติ
  • รวมถึงจะใช้อาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุชนิดต่างๆ มาบำรุงร่างกายของสุนัข เพื่อเป็นการช่วยชดเชยสารอาหารประเภทต่างๆ ที่ร่างกายของสุนัขสูญเสียไป
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการท้องเสียกับอาเจียนอย่างรุนแรง ก็จะให้ยาลดอาการอาเจียน กับยาลดการขับถ่าย
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีอาการสูญเสียโปรตีนจากการขับปัสสาวะ ก็จะใช้ยาลดความดันในกลุ่มของ angiotensin converting enzyme inhibitors เข้ามาช่วยในการรักษา
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขมีภาวะโลหิตจาง ก็จะทำการฉีดฮอร์โมน erythro poietin เข้าสู่ร่างกายของสุนัข
  • เมื่อรักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัข ให้เป็นเมนูอาหารสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคไตโดยเฉพาะ
  • โดยเมนูอาหารเหล่านั้นจะเน้นไปที่สารอาหารประเภทโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมถึงเป็นอาหารที่มีรสชาติจืดๆ ไม่เค็มจัดจนเกินไป เพื่อไม่ให้ไตของสุนัขต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น

วิธีดูแลสุนัขหลังเข้ารับการรักษา

  • คุณต้องให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารที่ทางสัตวแพทย์แนะนำแต่เพียงเท่านั้น ห้ามทานอาหารชนิดอื่นโดยเด็ดขาด
  • รวมถึงในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่ คุณต้องให้สุนัขของคุณทานน้ำอยู่เป็นประจำ
  • เพราะสุนัขที่ป่วยเป็นโรคไตอยู่นั้น จะมีอาการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ถ้าคุณไม่ได้ให้สุนัขของคุณทานน้ำอย่างเพียงพอก็ละ มันอาจจะส่งผลทำให้สุนัขของคุณมีภาวะขาดน้ำขึ้นมาได้