โรคตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ในสุนัข

โรคตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ในสุนัข

บทนำ

โรคติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่บริเวณเดินหายใจตอนต้นของสุนัข โดยส่วนใหญ่แล้วไวรัสชนิดนี้มักจะชอบไปอาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขอย่างเช่นตับ ไต ดวงตา รวมถึงเยื้อบุภายในหลอดเลือดของสุนัข

ในกรณีของสุนัขที่ร่างกายแข็งแรง

ถ้าร่างกายของสุนัขแข็งแรงสมบูรณ์ดี ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของสุนัขก็จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้ไปได้เอง ภายใน 2 สัปดาห์

แต่ก็ยังมีไวรัสอยู่บางจำนวนที่ยังหลงเหลืออยู่ในไตของสุนัข ซึ่งสุนัขต้องใช้เวลาถึง 6 – 9 เดือน ถึงจะสามารถขับไวรัสชนิดนี้ ออกจากไตของสุนัขได้จนหมด

ในกรณีที่สุนัขมีร่างกายที่อ่อนแอ

แต่ในทางกลับกันถ้าไวรัสชนิดนี้เกิดขึ้นกับสุนัขที่มีร่างกายไม่แข็งแรง รวมถึงสุนัขที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีพอ ก็จะทำให้สุนัขตัวนั้นมีอาการตับอักเสบเรื้อรัง

รวมถึงไวรัสชนิดนี้จะค่อยๆ เข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ที่อยู่ภายในดวงตาของสุนัข จนทำให้สุนัขเกิดอาการเจ็บตา และดวงตาของสุนัขได้รับความเสียหายอย่างหนักขึ้นมาได้

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเกิดได้กับสุนัขทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงกับสุนัขทุกสายพันธุ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วโรคดังกล่าวมักจะเกิดกับสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี

เมื่อสุนัขติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 จะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สุนัขจะมีอาการเป็นไข้ตัวร้อน
  • สุนัขจะมีอาการเซื่องซึมและเบื่ออาหาร
  • สุนัขจะมีอาการอาเจียนและท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
  • สุนัขจะมีอาการปวดท้อง รวมถึงจะมีเลือดไหลออกมาจากผิวหนังของสุนัข
  • ต่อมน้ำเหลืองของสุนัขจะบวมโต
  • จะมีการอักเสบเกิดขึ้นที่ดวงตาของสุนัข จนทำให้สุนัขรู้สึกเจ็บปวดที่ดวงตา และในกรณีที่เป็นหนักๆ เข้า จะเกิดแผลหลุมหรือบาดแผลที่ดวงตาของสุนัขได้
  • ในกรณีที่สุนัขเป็นหนัก อาจจะทำให้ เส้นเลือดของสุนัขเกิดการฟีบ และมีการอุดตันเกิดขึ้นภายในเส้นเลือดของสุนัขได้ ซึ่งถ้าสุนัขมีอาการเหล่านี้ จะมีโอกาสทำให้สุนัขเสียชีวิตได้สูงเป็นอย่างมาก

อาการของโรคตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1

  • สุนัขได้สัมผัสกับเชื้อไวรัส CAV-1 adenovirus ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่สุนัขได้สัมผัส หรือคลุกคลีกับสุนัขตัวอื่นๆ ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อาศัยอยู่ในร่างกาย รวมถึงสุนัขได้ไปสัมผัสกับอุจจจาระของสุนัขตัวอื่นๆ ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ปะปนอยู่ในอุจจาระ
  • สุนัขที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัส Adenovirus 1 จะมีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงเป็นอย่างมาก

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขว่า ก่อนหน้านั้นสุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาหรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะของสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีอะไรผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
  • ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจตับของสุนัข เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นกับตับของสุนัขหรือไม่ ถ้ามีทางสัตวแพทย์จะตรวจดูต่อไปว่า ตับของสุนัขติดเชื้อชนิดไหนกันแน่น
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) กับการตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ที่บริเวณช่องท้องของสุนัข เพื่อดูว่าการทำงานของตับสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ตับของสุนัขมีการขยายตัว หรือมีอาการบวมโตเกิดขึ้นหรือไม่ รวมถึงมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่ภายในช่องท้องของสุนัขหรือไม่
  • สุดท้ายทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่างบางส่วนจากตับของสุนัขเพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติ เพื่อดูว่าตกลงแล้วสุนัขกำลังป่วยจากการติดเชื้อชนิดใดกันแน่น

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะรักษาไปตามอาการต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ตรวจพบเจอ
  • แต่โดยหลักๆ แล้วจะใช้วิธีการรักษา โดยการให้สารน้ำกับสุนัข ลดเพื่อภาวะขาดน้ำของสุนัขลง อยากอาการท้องเสียและอาเจียน
  • ถ้าตรวจพบว่าสุนัขกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ก็จะทำการถ่ายเลือดให้กับสุนัข
  • หลังจากที่รักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการปรับเปลื่ยนเมนูอาหารของสุนัขให้เมนูสำหรับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่ให้โปรตีน และยังมีส่วนช่วยบำรุงตับของสุนัขได้เป็นอย่างดี

วิธีรักษาโรคตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ในสุนัข

วิธีดูแลสุนัขในระหว่างที่กำลังพักฟื้นตัวอยู่

  • คุณต้องให้สุนัขทานแต่เมนูอาหารที่ทางสัตวแพทย์แนะนำแต่เพียงเท่านั้น ห้ามทานเมนูอื่นโดยเด็ดขาด
  • รวมถึงคุณต้องจัดสถานที่สำหรับให้สุนัขได้พักผ่อน โดยสถานที่เหล่านั้นต้องมีบรรยายที่เงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ ทั้งจากภายในบ้านและก็นอกบ้าน
  • พาสุนัขของคุณกลับเข้าพบ ตามที่ทางสัตวแพทย์ได้นัดไว้ เพื่อให้ทางสัตวแพทย์ติดตามผลดูว่า หลังจากที่รักษาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นหรือไม่
  • ในกรณีที่บ้านของคุณเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ให้คุณจับสุนัขตัวที่ป่วยอยู่แยกไว้ต่างหาก เพราะโรคนี้สามารถติดต่อไปสู่สุนัขตัวอื่นๆ ได้
  • รวมถึงถ้าสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ขับถ่ายะออกมา ให้คุณรีบเก็บอุจจาระของสุนัขโดยทันที เพราะเชื้อไวรัส Adenovirus 1 ยัง หลงเหลืออยู่ในอุจจาระของสุนัข มันจะมีโอกาสที่สูงมาก ถ้าสุนัขตัวอื่นๆ สัมผัสกับอุจจาระแล้วเกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้

วิธีป้องกันโรค Adenovirus 1 ในสุนัข

สำหรับวิธีป้องกันนั้นคุณสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการ พาสุนัขของคุณเข้ารับไวรัสป้องกันโรค Adenovirus 1 ในสุนัข

เมื่อสุนัขของคุณมีอายุได้ประมาณ 2 เดือนไปต้นไป แล้วฉีดต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในเดือนถัดไป ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าคุณพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค Adenovirus 1 เข็มแรกในเดือน มกราคม
  • เมื่อเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ก็ให้คุณพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนซ้ำอีก 1 เข็ม
  • และให้คุณพาสุนัขไปฉีดซ้ำอีกหนึ่งเข็มเมื่อเข้าสู่เดือนมีนาคม
  • และในทุกๆ 1 ปีคุณต้องพาสุนัขของคุณไปซ้ำวัคซีนชนิดนี้ซ้ำอีก 1 เข็มต่อปี

แต่คุณไม่ต้องกังวลเรื่องตารางเวลาฉีดมากนัก เพราะเมื่อคุณพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนกับทางสัตวแพทย์ ทางสัตวแพทย์จะทำการลงตารางเวลาทำใบนัดให้คุณพาสุนัขของคุณกลับไปฉีดวัคซีนชนิดนี้ให้เอง