บทนำ
ช่องทางการติดเชื้อ Babesiosis ของสุนัขมีอยู่ 2 ช่องทางด้วยกันได้แก่
- สุนัขถูกเห็บที่มีเชื้อ Babesiosis อาศัยอยู่ในร่างกายกัดเอา
- สุนัขได้รับเลือดจากสุนัขที่ติดเชื้อ Babesiosis อยู่ก่อนหน้านี้ เหตุการณ์เหล่านี้มักจะเกิดกับ การที่สุนัขได้ไปกัดกับสุนัขตัวอื่นๆ ที่มีเชื้อ Babesiosis อาศัยอยู่ในร่างกาย อีกทั้งโรคนี้แม่สุนัขยังเป็นพาหะนำพาโรคนี้มาติดลูกสุนัขได้อีกด้วย ผ่านทางรกหรือครรภ์มารดา
ระยะการฟักตัวของเชื้อโรค
ระยะการฟักตัวของเชื้อ Babesiosis จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ด้วยกัน โดยในช่วงแรกๆ ที่มีการติดเชื้อ สุนัขจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้คุณเห็นเลย
แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 – 4 เดือน เม็ดเลือดแดงของสุนัขค่อยๆ แตกตัวออกมา จนทำให้ฮีโมลโกลบินในเม็ดเลือดแดงของสุนัขเกิดหลุดลอยออกมา
จงส่งผลทำให้ลำตัวและดวงตาของสุนัขกลายเป็นสีเหลือง รวมถึงสุนัขจะเริ่มแสดงอาการต่างๆ ออกมาให้คุณเห็น
อาการต่างๆ ของโรค Babesiosis ในสุนัข
- สุนัขจะมีอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย รวมถึงมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
- สุนัขจะมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ขึ้นสูง
- เหงือกของสุนัขจะซีดลงอย่างเห็นได้ชัด
- น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปัสสาวะกับอุจจาระของสุนัขจะมีสีเปลื่ยนไปจากสีปกติ
- สุนัขจะมีอาการตาเหลืองและตัวเหลือง
- ช่วงท้องของสุนัขจะมีอาการะบวมโต
สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้
- สุนัขถูกเห็บที่มีเชื้อ Babesiosis อาศัยอยู่ในร่างกายกัดเอา
- สุนัขได้รับการถ่ายเลือดจากสุนัขที่มีเชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในร่างกาย
- การที่สุนัขของคุณได้ไปกัดกับสุนัขตัวอื่นๆ ที่มีเชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในร่างกายจนทำให้เลือดของสุนัขตัวนั้น เข้าสู่ร่างกายสุนัขของคุณได้
การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์
- ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุนัขของคุณว่า สุนัขของคุณมีอาการอะไรบ้าง ,สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง ,สุนัขเคยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเห็บและหมัดหรือเปล่า ,สุนัขของคุณเคยไปกัดกับสุนัขจรจัดมาหรือเปล่า
- ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดกับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่าภายในร่างกายของสุนัขมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง
- ต่อมาทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการย้อนสีชนิดพิเศษกับเลือดของสุนัข เพื่อไว้ตรวจหาเชื้อผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ว่าสุนัขติดเชื้อจากเชื้อ Babesiosis อยู่หรือเปล่า
- รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันของสุนัขว่า ภายในร่างกายของสุนัข ได้มีการผลิตแอนตี้ไวรัสสำหรับต่อสู้กับเชื้อ Babesiosis อยู่หรือเปล่า
การรักษาจากทางสัตวแพทย์
- การรักษาโรคนี้ในสุนัข จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้สารน้ำ ควบคู่กับการถ่ายเลือดให้กับสุนัข
- และเมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะใช้ยาสำหรับกำจัดเชื้อ Babesiosis โดยเฉพาะให้กับสุนัข
- ในกรณีที่อาการต่างๆ ไม่ได้รุนแรงมากนัก หลังจากสิ้นเสร็จขั้นตอนการรักษาทางสัตวแพทย์ก็จะให้สุนัขกลับมาพักฟื้นร่างกายต่อที่บ้านได้
- แต่ในทางกลับกันถ้าสุนัขมีอาการป่วยอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์จะให้สุนัขอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อ เพื่อจะได้เฝ้าดูอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างใกล้ชิด
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
- หลังจากที่รักษาจนอาการต่างๆ เริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการนัดให้สุนัขกลับเข้ามาพบอีกประมาณ 2 – 3 ครั้ง เพื่อดูว่าหลังจากที่รักษาไปแล้วอาการต่างๆ ของสุนัขดีขึ้นหรือไม่
- ถ้าการรักษาผ่านไปได้ด้วยดี สุนัขจะหายดีเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือน
- ในกรณีที่คุณเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ให้คุณจับสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ แยกเลี้ยงไว้ต่างหาก เพราะโรคนี้สุนัขสามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่สุนัขตัวอื่นๆ ได้
- รวมถึงให้คุณพาสุนัขตัวอื่นๆ ที่อยู่ในบ้านของคุณ ไปตรวจดูว่าสุนัขพวกนี้ได้รับเชื้อ Babesiosis ด้วยหรือไม่
วิธีป้องกันโรค Babesiosis ในสุนัข
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้ก็คือ การถูกเห็บที่มีเชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในร่างกายกัดเอา ดังนั้นคุณต้องหาทางกำจัดเห็บเหล่านี้โดยการ
ให้คุณหมั่นทำความสะอาดบ้าน รวมถึงพื้นที่ที่สุนัขใช้พักอาศัยอยู่เป็นประจำ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่สุนัขชอบใช้อยู่เป็นประจำอย่างเช่น ของเล่น ,ที่นอนสุนัข เพียงเท่านี้ก็เป็นการป้องกันเห็บหมัดในสุนัขได้อย่างเบื้องต้นแล้ว
สิ่งต่อมาที่คุณต้องทำก็คือ ให้คุณใช้ยาหยอดกำจัดเห็บหมัดกับสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำหรือประมาณ 3 – 4 เดือนต่อครั้ง หรือคุณอาจจะพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนป้องกันเห็บหมัดกับทางสัตวแพทย์ก็ได้เหมือนกัน เพียงเท่านี้ก็เป็นการป้องกันโรคเห็บหมัดในสุนัขไปได้เยอะเลย
แต่ในกรณีที่คุณไม่แน่นใจว่า ควรจะใช้ยาหยอดกำจัดเห็บหมัด หรือพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนป้องกันเห็บและหมัดในช่วงเวลาไหนดี คุณก็สามารถโทรไปขอคำแนะนำจากทางสัตวแพทย์ได้เหมือนกัน