ผลข้างเคียงจากยาลดอาการซึมเศร้าในสุนัข

ผลข้างเคียงจากยาลดอาการซึมเศร้าในสุนัข

บทนำ

สุนัขก็สามารถป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้เหมือนกับมนุษย์อย่างพวกเรา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สุนัขเกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมานั้น มีได้หลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ

  • อาการเจ็บปวดเรื้อรัง
  • การถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงตัวคนเดียวอยู่เป็นประจำ
  • การให้สุนัขทำสิ่งซ้ำๆ กันอยู่เป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้ระดับสารซีโรโทนิน (serotonin) ในร่างกายของสุนัขเปลื่ยนแปลงไป ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของสุนัขโดยตรง จนเป็นเหตุทำให้สุนัขมีอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้

และเมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว สุนัขจำเป็นต้องทานยาลดอาการซึมเศร้า เพื่อปรับสมดุลในร่างกายของสุนัข ทำให้ระดับซีโรโทนินอยู่ในสภาวะปกติ ถึงจะลดอาการซึมเศร้าของสุนัขลงได้

แต่ในกรณีที่สุนัขได้รับยาลดอาการซึมเศร้ามากจนเกินไป มันจะส่งผลข้างเคียงทำให้สุนัขป่วยเป็นโรค serotonin syndrome (SS) ขึ้นมาได้ ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าโรคนี้ เป็นโรคที่รุนแรงต่อร่างกายของสุนัขเป็นอย่างมาก ถ้าสุนัขตัวไหนป่วยเป็นโรคนี้แล้ว ไม่ยอมพาไปรักษาก็อาจจะทำให้สุนัขตัวนั้นเสียชีวิตลงได้

อาการต่างๆ เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรค serotonin syndrome

  • สุนัขจะมีอาการท้องเสีย และอาเจียน
  • สุนัขจะเป็นไข้ ตัวร้อน
  • สุนัขจะมีอาการหายใจที่เร็วและแรง ซึ่งในช่วงนี้ถ้าตรวจชีพจรหัวใจของสุนัข จะพบว่าอัตราการเต้นหัวใจของสุนัขจะสูงขึ้นมากกว่าปกติ
  • ตัวของสุนัขจะมีอาการสั่น และจะมีอาการชักตามมา

อาการของโรค serotonin syndrome ในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรค serotonin syndrome

  • เป็นผลข้างเคียงจากการที่สุนัขได้รับยาลดอาการซึมเศร้ามากจนเกินไป
  • เป็นผลข้างเคียงของตัวยาประเภทอื่นๆ ที่ทำให้ระดับซีโรโทนินในร่างกายสุนัขสูงขึ้นอย่างเช่น ตัวยา chlorpheniramine, fentanyl, lithium เป็นต้น
  • ในระหว่างที่กำลังทานยาอยู่ สุนัขได้ทานอาหารที่มีผลต่อตัวยาอย่างเช่น ชีส ,ไข่ไก่ ,นมถั่วเหลือง ,ถั่วลิสง ,ไก่งวง , เนื้อแดง ,กล้วย เป็นต้น
  • สุนัขมีอาการแพ้ยาลดอาการซึมเศร้าหลังจากที่ทานยาไปประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงประวัติสุขภาพของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขได้ทานยาลดอาการซึมเศร้าอยู่เป็นประจำหรือไม่ สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดให้กับสุนัข เพื่อดูว่าสุนัขมีอาการแพ้ตัวยาลดอาการซึมเศร้าหรือไม่
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจระบบประสาทของสุนัข เพื่อดูว่าในตอนระบบประสาทของสุนัขทำงานเป็นอย่างไร มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมอง หรือไขสันหลังของสุนัขหรือเปล่า

อันตรายจากยาลดอาการซึมเศร้าในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • สิ่งแรกที่ทางสัตวแพทย์จะทำก็คือ ถ้าสุนัขมีอาการสั่น ก็จะทำให้สุนัขหายสั่นหรือทำให้อยู่ในสภาวะคงที่ก่อน
  • เสร็จแล้วต่อมาทางสัตวแพทย์จะใช้ผงถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ที่มีส่วนช่วยดูดซับสารจากตัวยาที่สุนัขทานเข้าไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สารจากตัวยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดของสุนัขได้
  • และเมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ต่อมาทางสัตวแพทย์จะตรวจดูว่า ภายในร่างกายของสุนัขยังหลงเหลือยาลดอาการซึมเศร้าอยู่หรือไม่
  • ถ้าพบว่ามี ทางสัตวแพทย์จะหาทางกระตุ้นให้สุนัขอาเจียนเอายาที่อยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัขออกมา หรือบางทีทางสัตวแพทย์อาจจะเลือกใช้วิธีล้างกระเพาะอาหารของสุนัข เพื่อเอาตัวยาออกมาก็ได้เหมือนกัน
  • หลังจากที่รักษาจนอาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะหาต่อว่าสุนัขมีแพ้อาหาร หรือตัวยาชนิดไหนหรือเปล่า เมื่อรู้แล้วว่าสุนัขแพ้ยาหรืออาหารประเภทไหน ก็จะสั่งห้ามไม่ให้สุนัขทานยาหรืออาหารชนิดนั้นโดยเด็ดขาด
  • โรค serotonin syndrome (SS) ในสุนัขถ้าคุณรู้ตัวได้ไว และพาสุนัขของคุณไปรักษากับทางสัตวแพทย์ในทันที สุนัขของคุณจะมีโอกาสรอดชีวิตได้สูงเป็นอย่างมาก