มะเร็งปอดในสุนัข

มะเร็งปอดในสุนัข

บทนำ

มะเร็งปอดในสุนัข (Adenocarcinoma)  เป็นเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตได้ง่ายกว่ามะเร็งชนิดอื่นเป็นอย่างมาก แถมเซลล์มะเร็งปอด ยังสามารถแพร่กระจายตัวไปยัง ลูกตา ,กระดูก ,ต่อมน้ำเหลือง และสมองของสุนัข ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปอดมักจะพบได้ในสุนัขวัยชรา หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป รวมถึงสุนัขบ็อกเซอร์ (Boxers) ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกันเอง

อาการของโรคมะเร็งปอดในสุนัข

  • สุนัขจะมีอาการเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา
  • สุนัขจะมีอาการหายใจติดขัด และหายใจเร็วมากกว่าปกติ
  • สุนัขจะมีอาการเหนื่อยง่าย และมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • น้ำหนักตัวของสุนัขจะค่อยๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • สุนัขจะมีอาการไออยู่ตลอดเวลา รวมถึงจะมีอาการไอเป็นเลือดร่วมด้วย
  • ท้องของสุนัขจะมีอาการบวมโต จากการที่มีสารน้ำเข้าไปสะสมอยู่ภายในช่องท้องเป็นจำนวนมาก
  • ในกรณีที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายตัวไปยังกระดูกของสุนัขแล้ว จะทำให้สุนัขมีอาการเดินกะเผลก เพราะทุกครั้งที่ลุกขึ้นเดินสุนัขจะรู้สึกปวดเจ็บที่กระดูกเป็นอย่างมาก

อาการของมะเร็งปอดในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นชัดว่า สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่น

แต่ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเจอมักจะพบกับสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป กับสุนัขสายพันธุ์บ็อกเซอร์ (Boxers) รวมถึงสุนัขที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้าของที่มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่จัด

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดของสุนัข เพื่อหาค่าของเม็ดเลือดขาวในร่างกายของสุนัข ค่าของเม็ดเลือดขาวจะเป็นตัวบ่งบอกว่า สุนัขกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งอยู่หรือไม่
  • ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) กับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Ultrasound) ไปที่ปอดของสุนัข เพื่อตรวจหาว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ปอดของสุนัขหรือไม่
  • ในกรณีที่พบเนื้องอกในปอดของสุนัข ทางสัตวแพทย์จะตรวจไปต่อว่า เนื้องอกได้แพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขแล้วหรือยัง
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะทำการเก็บชิ้นเนื้อบางส่วนของปอดสุนัข เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการว่าชิ้นเนื้อก้อนนั้นเป็นเซลล์มะเร็งชนิดไหนกันแน่น

วิธีรักษามะเร็งปอดในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • โดยส่วนใหญ่การรักษาโรคมะเร็งปอดในสุนัข จะใช้วิธีการรักษาอยู่ 2 วิธีได้แก่ 1. การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมา กับ 2. ใช้เคมีบำบัด ควบคู่กับการฉายรังสี
  • ส่วนจะใช้วิธีรักษาแบบไหนนั้น ทางสัตวแพทย์จะประเมินจากขนาดของก้อนเนื้อ ว่ามีขนาดใหญ่เล็กเท่าไหน ก้อนเนื้องอกได้แพร่กระจายตัวไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายสุนัขมากน้อยแค่ไหนแล้ว
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก และยังไม่ได้กระจายตัวไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกก้อนนั้นออกมา
  • แต่ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดที่ใหญ่มามาก รวมถึงเนื้องอกได้แพร่กระจายตัวไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายสุนัขแล้ว ทางสัตวแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดเอาปอดของสุนัขออกมาทั้งปอดเลย เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของสุนัขไว้
  • การฉายแสงกับการเคมีบำบัดนั้น จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุนัขและยังช่วยให้เนื้องอกไม่เจริญเติบโตไปมากกว่านี้
  • หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษา ทางสัตวแพทย์จะนัดให้คุณพาสุนัขของคุณกลับเข้ามาพบอยู่เป็นประจำ เพื่อทำการฉายแสง ควบคู่กับการทำเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่อง
  • แต่การฉายแสงกับเคมีบำบัดนั้น จะทำให้ร่างกายของสุนัขอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก ซึ่งทางสัตวแพทย์จะแนะนำถึงวิธีดูแลสุนัข หลังจากการทำเคมีบำบัด คุณต้องทำตามคำแนะนำของทางสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด

ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดในสุนัข

ในกรณีที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายตัวไปแล้ว

ในกรณีที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายตัวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัขแล้วหลังจากการรักษา สุนัขจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี

ในกรณีระยะแรกเริ่ม

ในกรณีที่ตรวจพบโรคมะเร็งปอดของสุนัขตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัข หลังจากผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกมาแล้ว

ถ้าคุณดูแลสุนัขของคุณเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการให้สุนัขของคุณทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ทำให้สุนัขของคุณมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขของคุณได้รับควันบุหรี่ ก็จะทำให้สุนัขของคุณมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกยาวนาน