โรคเหงือกอักเสบในสุนัข

โรคเหงือกอักเสบในสุนัข

บทนำ

โรคเหงือกอักเสบในสุนัข เป็นโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของเหงือกสุนัขระยะเริ่มต้น หรือเป็นโรคปริทันต์ในขั้นแรก ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้

โรคเหงือกอักเสบในสุนัขสามารถแบ่งออกเป็นระยะได้ดังต่อไปนี้

1. โรคเหงือกอักเสบในระยะแรกๆ

จะมีคราบแบคทีเรียเกิดขึ้นที่บริเวณผิวฟันของสุนัข ในช่วงนี้เหงือกของสุนัขจะเปลื่ยนจากสีชมพูอ่อน กลายเป็นสีแดงอ่อนๆ ผิวเหงือกของสุนัขจะเรียบลงเล็กน้อย

2. โรคเหงือกอักเสบขั้นรุนแรง

ถ้าสุนัขเกิดป่วยเป็นโรคเหงือกอักเสบข้้นรุนแรง มันจะทำให้มีคราบแบคทีเรียกับหินน้ำลายเกิดขึ้นที่ใต้เหงือกของสุนัข และเหงือกของสุนัขก็จะเปลื่ยนจากสีปกติกลายเป็นสีแดงก่ำๆ จนถึงสีแดงเข้ม

ในช่วงนี้เหงือกของสุนัขจะมีอาการบวมโตขึ้นมา รวมถึงฟันของสุนัขจะมีคราบหินปูนก่อตัวขึ้นมา จนเป็นเหตุทำให้สุนัขของคุณมีกลิ่นปาก กับมีลมหายใจที่เหม็นเป็นอย่างมาก

อาการของโรคเหงือกอักเสบในสุนัข

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการเหงือกอักเสบ

  • สุนัขไม่ได้รับการแปรงฟันติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเป็นเหตุทำให้เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน เกิดทำปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องปากของสุนัข จนทำให้เกิดคราบพลัคขึ้นมาได้
  • สุนัขวัยชราจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าสุนัขวัยอื่นๆ ด้วยกัน
  • สุนัขที่มีนิสัยไม่ค่อยชอบเคี้ยวอาหาร ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคเหงือกอักเสบได้เหมือนกัน
  • สุนัขที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
  • สุนัขเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่า

  • สุนัขของคุณเริ่มมีกลิ่นปากเกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง  
  • โดยปกติแล้วคุณชอบให้สุนัขของคุณทานอะไรบ้าง
  • สุนัขของคุณมีนิสัยชอบกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยวหรือเปล่า
  • โดยปกติแล้วคุณแปรงฟันให้กับสุนัขของคุณบ้างหรือไม่

ถ้าคุณสามารถต่อคำถามเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ทางสัตวแพทย์ได้ทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

ต่อมาทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจช่องปากของสุนัขอย่างละเอียด โดยทางสัตวแพทย์จะดูว่า

  • สภาพเหงือกของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง
  • เหงือกของสุนัขมีสีที่เปลื่ยนไปจากปกติมากน้อยแค่ไหนกัน
  • เหงือกของสุนัขร่นไปขนาดไหนแล้ว
  • สุนัขมีฟันผุอยู่หรือไม่
  • มีคราบหินปูนเข้าไปสะสมอยู่ที่ฟันของสุนัขมากน้อยแค่ไหนกัน

วิธีรักษาโรคเหงือกอักเสบในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • ทางสัตวแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากของสุนัข โดยการขูดคราบหินปูนที่เกิดขึ้นตามฟันของสุนัข ด้วยเครื่องมือสำหรับขูดหินปูนของสุนัขโดยเฉพาะ
  • หลังจากขูดคราบหินปูนให้กับสุนัขจนหมดแล้ว ทางสัตวแพทย์จะตรวจสอบดูต่อว่า มีฟันซี่ไหนของสุนัขที่เกิดเป็นฟันผุขึ้นมาบ้าง เมื่อพบแล้วก็จะทำการอุดฟันให้กับสุนัข
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะดูต่อว่ารากฟันของสุนัขเป็นอย่างไร มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ถ้าพบว่ารากฟันของสุนัขมีการเสียหายเกิดขึ้น ก็จะทำการรักษารากฟันให้กับสุนัข
  • มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ทางสัตวแพทย์จะทำการขัดพื้นผิวฟันให้กับสุนัข รวมถึงจะทำความสะอาดช่องปากให้กับสุนัขอีกทีหนึ่ง
  • และหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลสุขภาพช่องปากของสุนัขอย่างเบื้องต้นโดยจะสอนวิธีแปรงฟันสุนัขให้กับคุณ
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์จะขอนัดให้คุณพาสุนัขกลับเข้ามาพบอีกครั้ง เพื่อดูว่าหลังจากที่รักษาไปแล้ว เหงือกของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือแย่ลง

วิธีดูแลสุนัขในช่วงพักฟื้นร่างกาย

  • หลังจากรักษาเสร็จทางสัตวแพทย์จะให้ยาสีฟัน กับแปรงสีฟันสำหรับสุนัขมาให้คุณใช้ หน้าที่ของคุณก็คือ ให้คุณหมั่นแปรงฟันให้กับสุนัขของคุณอยู่เป็นประจำ สัปดาห์ละประมาณ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • รวมถึงทางสัตวแพทย์ให้น้ำยาสำหรับต้านเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปากของสุนัขมาให้กับคุณ คุณต้องคอยบีบน้ำยาชนิดนี้ใส่ที่ฟันของสุนัขอยู่เป็นประจำเพื่อเป็นการช่วยลดคราบแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในฟันของสุนัข
  • ในช่วงที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่นั้น คุณควรให้สุนัขทานขนมขัดฟันอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยทำความสะอาดขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันของสุนัขลง
  • ในกรณีที่คุณไม่แน่นใจว่าควรจะให้สุนัขของคุณทานขนมขัดฟันแบบไหนดี คุณก็สามารถโทรไปขอคำปรึกษาจากทางสัตวแพทย์ก็ได้เหมือนกัน