บทนำ
โรคเบ้าตาในสุนัข หรือ ภาวะตาโปน ตาจมลึก และตาเหล่ในสุนัข (exophthalmos) เป็นภาวะที่ตาของสุนัขหลุดออกมาจากเบ้าตา
สาเหตุที่ทำให้สุนัขเป็นโรคเบ้าตาเนั้นเกิดจาก ก้อนเนื้อที่อยู่หลังลูกตาของสุนัขจมลึกเข้าหากะโหลกของสุนัข ทำให้ตาของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นมา
เป็นเหตุทำให้การมองเห็นของสุนัขไม่ดีเหมือนแต่ก่อน รวมถึงทำให้สุนัขไม่สามารถโฟกัสไปยังจุดใดจุดหนึ่งได้อีกด้วย โรคเบ้าตาในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้กับตาข้างเดียว หรืออาจจะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้างเลยก็ได้เหมือนกันได้
ทางการแพทย์ได้แบ่งโรคเบ้าตาของสุนัขออกมาเป็น 6 ประเภทได้แก่
1.ภาวะตาโปน
- หนังตาของสุนัขจะมีอาการบวมโต
- สุนัขตัวร้อนเป็นไข้
- ดวงตาของสุนัขจะมีสีแดงก่ำ พร้อมทั้งมีน้ำหนองไหลออกมาจากดวงตาของสุนัขอีกด้วย
- มีบาดแผลเกิดขึ้นที่กระจกตาของสุนัข
- สุนัขจะไม่สามารถหลับตาให้สนิทได้
- สุนัขจะรู้สึกเจ็บปวดในเวลาทานข้าว
2. ภาวะตาจมลึก
- ดวงตาของสุนัขจะเป็นสีแดง
- หนังตาของสุนัขจะม้วนเข้าหาดวงตา
- กล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตาของสุนัขจะเกิดการหดตัว หรือลีบฝ่อลงมา
3. ภาวะตาเหล่
- ดวงตาของสุนัขจะอยู่ในตำแหน่งผิดไปจากปกติ
- การมองเห็นของสุนัขจะลดลงกว่าปกติ
4. ภาวะตาโปน
- มีเลือดและน้ำหนองออกจากดวงตาของสุนัข
- มีการอักเสบขึ้นเกิดที่บริเวณรอบเนื้อเยื่อในดวงตาของสุนัข
- ดวงตาของสุนัขจะมีอาการบวมโต
- จะมีเส้นเลือดแดงเกิดขึ้นที่ดวงตาของสุนัขเป็นจำนวนมาก
5. ภาวะตาจมลึก
- หนังตาของสุนัขจะตกลง
- ดวงตาของสุนัขมีภาวะแห้งน้ำ
- ม่านตาของสุนัขจะหดตัวลง
- ลูกตาของสุนัขจะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
6. ภาวะตาเหล่
- โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะตาเหล่ในสุนัข มักจะเกิดจากโรคทางพันธุกรรมของสุนัขตัวนั้นๆ
- กล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตาของสุนัขจะหดตัวลง
- มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่เส้นประสาทรอบๆ ดวงตาของสุนัข
โรคเบ้าตาของสุนัขเกิดจาก
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคเบ้าตานั้นเกิดจาก การมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณด้านหลังลูกตาของสุนัข
ส่วนภาวะตาเหล่นั้นเกิดจาก กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ดวงตาของสุนัขมีการเสียสมดุลเกิดขึ้น จนเป็นเหตุทำให้สุนัขเกิดป่วยเป็นภาวะตาเหล่ขึ้นมาได้
รวมถึงสุนัขบางพันธุ์อย่างเช่น สุนัขชาเป่ย (Sharpei) จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคตาเหล่ได้ง่ายกว่าปกติ เมื่อเทียบกับสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยกัน
การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์
- ทางสัตวแพทย์จะสอบถามถึงอาการต่างๆ ของสุนัขอย่างเบื้องต้นว่า สุนัขเคยป่วยเป็นโรคอะไรมาก่อนหน้านั้นหรือเปล่า สุนัขมีอาการอะไรบ้าง สุนัขมีอาการเหล่านี้มานานแล้วหรือยัง
- ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจดวงตาของสุนัขอย่างละเอียด โดยจุดที่ทางสัตวแพทย์จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษก็คือ กล้ามเนื้อกับกระดูกรอบๆ ดวงตาของสุนัข
- และนอกจากนี้ทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจช่องปากของสุนัขอย่างละเอียด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วถ้าสุนัขป่วยเป็นโรคเบ้าตา สุนัขก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคเกี่ยวช่องปากขึ้นมาได้เหมือนกัน
- เสร็จแล้วทางสัตวแพทย์ก็จะทำการเอกซเรย์ (X-Ray) ไปที่บริเวณกะโหลกของสุนัข เพื่อดูว่าดวงตาของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับดวงตาของสุนัขอยู่หรือเปล่า
- มาถึงขั้นตอนสุดท้ายทางสัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือด กับตรวจปัสสาวะให้กับสุนัข เพื่อดูว่ามีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเบ้าตาขึ้นมาด้วยหรือไม่
การรักษาจากทางสัตวแพทย์
การรักษาจะแตกต่างกันไปตามภาวะที่ทางสัตวแพทย์ตรวจพบอย่างเช่น
1. ลูกตาหลุดออกจากเบ้าตาของสุนัข
ทางสัตวแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษา แต่การผ่าตัดนั้นจะส่งผลข้างเคียงต่อสุนัข ทำให้สุนัขมีภาวะตาแห้งอยู่เป็นประจำ หลังจากที่ได้รับการผ่าตัด
2. สุนัขเป็นฝีหนองในลูกตา
สัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อระบายเอาน้ำหนองออกมาจากดวงตาของสุนัข และหลังจากระบายเอาน้ำหนองออกมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะทำการประคบร้อนให้กับสุนัขเพื่อเป็นการบรรเทาการอาการเจ็บปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตาของสุนัข
3. มีมะเร็งเกิดขึ้นที่ลูกตาของสุนัข
เซลล์มะเร็งระยะเริ่มแรก
ในกรณีที่ตรวจพบว่าเซลล์มะเร็งในดวงตาของสุนัขเป็นแค่ระยะเริ่มต้น และไม่มีอาการรุนแรงใดๆ มากนัก ทางสัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกชิ้นนั้นออกมาทั้งก้อน หรือในกรณีที่ก้อนเนื้องอกชิ้นนั้นมีขนาดที่ใหญ่โตจนเกินไป ทางสัตวแพทย์อาจจะจำเป็นต้องผ่าตัดเอาลูกตาออกมาทั้งลูกเลย
เซลล์มะเร็งระยะสุดท้าย
แต่ในกรณีที่ทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่า เซลล์มะเร็งที่อยู่ภายในดวงตาของสุนัข เป็นเซลล์มะเร็งชนิดร้ายแรง และเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้แพร่กระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายขของสุนัขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางสัตวแพทย์จะแนะนำ รวมถึงขออนุญาตกับทางเจ้าของสุนัข ให้ทำการการุญฆาตกับสุนัขของตัวเอง เพื่อไม่ให้สุนัขของตัวเองต้องทนทุกข์ทรมานอีกต่อไป
4. อาการตาเหล่ในสุนัข
ทางสัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตาของสุนัข หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้นทางสัตวแพทย์ก็จะให้ยาบำรุงกล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตาของสุนัขมาให้สุนัขทาน เพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบๆ ดวงตาของสุนัข
สิ่งที่คุณควรทำหลังจากพาสุนัขไปรักษากับทางสัตวแพทย์แล้ว
- หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษาทางสัตวแพทย์จะทำการนัดให้สุนัขกลับเข้ามาพบอยู่เป็นประจำ เพื่อดูว่าหลังจากที่รักษาไปแล้ว อาการต่างๆ ของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือแย่ลง
- ให้คุณคอยเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัขเอาไว้ให้ดีๆ ถ้าสุนัขของคุณยังมีความผิดปกติอยู่ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที เพราะอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทางสัตวแพทย์อาจจะยังไม่ตรวจพบเจอก็ได้ เหมือนกัน
- ถ้าคุณปล่อยปละละเลยไม่ยอมพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบสัตวแพทย์ ก็อาจจะทำให้สุนัขของคุณสูญเสียลูกตาอย่างถาวรเลยก็ได้เหมือนกัน