โรคหัดในสุนัข

โรคหัดในสุนัข

บทนำ

โรคหัดในสุนัข เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายเป็นอย่างมาก จึงทำให้คนที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัวในบ้านต้องคอยระวังโรคนี้เอาไว้ให้ดีๆ

เพราะถ้าเกิดว่าสุนัขตัวใดตัวหนึ่งที่คุณเลี้ยงไว้เกิดป่วยเป็นโรคหัดสุนัขขึ้นมา สุนัขตัวอื่นๆ ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ด้วย

เพราะสุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคหัดอยู่จะเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคหัดไปให้กับสุนัขตัวอื่นๆ ผ่านการจาม หรือไอใส่สุนัขตัวที่อยู่ใกล้ๆ

รวมถึงการที่สุนัขใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกันอย่างเช่น การนอนเตียงเดียวกัน ,การทานข้าวในจานเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้สุนัขตัวอื่นๆ ติดโรคหัด จากสุนัขตัวที่ป่วยอยู่ได้

โรคหัดในสุนัขอาการ

อาการของโรคหัดในสุนัข

อาการของโรคหัดในสุนัขนั้น เป็นอาการที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทของสุนัข เชื้อไวรัสจะค่อยๆ เข้าไปทำลายระบบประสาทของสุนัข ถึงจนขั้นสุดท้ายเชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายเนื้อสมองของสุนัขในที่สุด

  • ในช่วงแรกๆ ที่ไวรัสเข้าไปทำลายระบบประสาทของสุนัข สุนัขจะมีอาการชักและมีอาการก้าวขาเดินไม่สัมพันธ์กัน
  • ซึ่งสาแหตุนั้นเกิดจากเซลล์บางส่วนในสมองของสุนัขได้ถูกเชื้อไวรัสทำลายไปบ้างแล้ว จึงทำให้การเดินของสุนัขเป็นการเดินแบบไม่ต่อเนื่องคือ เดินๆ อยู่แล้วก็ล้มลง รวมถึงสุนัขจะมีอาการตัวร้อนไข้ขึ้นสูงอยุ่ตลอดเวลา
  • ต่อมาเมื่อเชื้อไวรัสค่อยๆ เข้าไปทำลายระบบประสาทมากๆ เข้า ระบบต่อมาที่จะถูกทำลายก็คือ ระบบทางเดินหายใจของสุนัข
  • ในช่วงนี้สุนัขของคุณจะมีอาการน้ำมูก น้ำตา ไหลออกมาอยู่เป็นประจำ รวมถึงในช่วงนี้สุนัขของคุณจะมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย
  • และสิ่งที่จะตามต่อมาหลังจากนั้นก็คือสุนัขจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินอาหารของสุนัข
  • มันจะทำให้สุนัขมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง ในช่วงนี้สุนัขของคุณจะซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว
ตรวจหาโรคหัดในสุนัข

การวินิจฉัยจากทางสัตวแพทย์

  • สำหรับโรคติดเชื้อหัดในสุนัขนั้น ทางสัตวแพทย์จะดูหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางระบบประสาท , ระบบทางเดินอาหาร , ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งถ้าทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่าระบบทั้งสามอย่างนี้ มีความผิดปกติเกิดขึ้นพร้อมกัน นั้นมีโอกาสสูงที่สุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคหัดอยู่ก็เป็นได้
  • และเพื่อให้ขั้นตอนการวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทางสัตวแพทย์จะใช้ชุดตรวจโรคหัดสุนัขโดยเฉพาะตรวจ ตรวจให้กับสุนัขของคุณ เพื่อดูว่าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคหัดอยู่จริงหรือไม่
  • รวมถึงจะทำการเก็บตัวอย่างบางส่วนจากน้ำมูก กับของเหลวต่างๆ นำไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง
  • ในกรณีที่ทางสัตวแพทย์ตรวจพบว่าสุนัขของคุณกำลังป่วยเป็นโรคหัดอยู่ ก็จะทำการรักษาในทันที
  • แต่ถ้าไม่พบเชื้อหัดในร่างกายของสุนัขทางสัตวแพทย์จะทำการวินิจฉัยไปต่อว่าสุนัขอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคอื่นอยู่ก็เป็นได้ เพราะอาการของโรคหัดจะคล้ายๆ กับอาการของโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคพิษสุนัขบ้า ,ลำไส้อักเสบ หรือหวัดสุนัข เป็นต้น
  • ก่อนจะทำการรักษาทางสัตวแพทย์จะใช้การภาพถ่ายรังสีวิทยา เพื่อดูว่าปอดของสุนัขเป็นอย่างไรบ้าง ได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน มีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินหายใจของสุนัขหรือไม่
  • เมื่อทางสัตวแพทย์ประเมินสุขภาพโดยรวมของสุนัขได้แล้ว ก็จะเริ่มทำการรักษาให้กับสุนัขเลย
วิธีรักษาโรคหัดในสุนัข

การรักษาจากทางสัตวแพทย์

  • สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้น ไม่สามารถใช้ยารักษาได้โดยตรงการรักษาเชื้อไวรัสให้ออกไปจากร่างกายของสุนัข ต้องอาศัยภูมิคุ้มกันในร่างกายของสุนัขเป็นตัวกำจัดไวรัสออกไปจากร่างกายเอง ตัวยาจะแค่ทำหน้าที่ให้เชื้อไวรัสอ่อนลงเพียงเท่านั้นเอง
  • ดังนั้นทางสัตวแพทย์จะหาวิธีประคับประคองอาการต่างๆ ของสุนัข ให้อาการต่างๆ ของสุนัขบรรเทาลงอย่างเช่น การใช้ยาดมเพื่อให้สุนัขหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • หรือในกรณีที่สุนัขมีน้ำมูกไหล กับมีอาการอาเจียน ทางสัตวแพทย์ก็จะทำการให้ยาลดน้ำมูก กับยาลดการอาเจียนเป็นสุนัข เพื่อทำให้อาการเหล่านี้ลดลง
  • ในกรณีที่ตรวจพบว่าสุนัขมีอาการชักอย่างรุนแรง ทางสัตวแพทย์ก็จะให้ยาระงับอาการชักกับสุนัขตัวนั้นเป็นต้น
  • และเมื่ออาการต่างๆ ของสุนัขเริ่มดีขึ้นมาแล้ว ทางสัตวแพทย์จะให้สารน้ำทดแทนกับสุนัขตัวนั้น เพื่อเป็นการชดเชยสารอาหารที่สุนัขสูญเสียไปอย่างการท้องเสีย และอาเจียน
  • ต่อจากนั้นทางสัตวแพทย์ก็จะให้ยาเสริมภูมิคุ้มกันไปสุนัข เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของสุนัขแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จนสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้
วิธีดูแลโรคหัดในสนัข

วิธีดูแลในระหว่างที่สุนัขกำลังพักฟื้นตัวอยู่

  • โรคหัดสุนัขเป็นโรคที่ต้องใช้เวลารักษาอย่างต่อเนื่อง สุนัขของคุณถึงจะกลับมาหายเป็นปกติดีดังเดิม ดังนั้นคุณต้องพาสุนัขของคุณกลับเข้าพบ ตามที่ทางสัตวแพทย์ได้นัดไว้อยู่เป็นประจำ
  • ในกรณีที่คุณเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ให้คุณจับสุนัขตัวที่กำลังป่วยเป็นโรคหัดอยู่แยกเลี้ยงดูไว้ต่างหาก ห้ามเลี้ยงรวมกับสุนัขตัวอื่นๆ โดยเด็ดขาดจนกว่าสุนัขตัวนั้นจะหายดี
  • ในกรณีที่ลูกสุนัขป่วยเป็นโรคหัดตั้งแต่ตอนที่พวกมันยังเล็ก หรือมีอายุไม่ครบ 1 ปี หลังจากที่ลูกสุนัขของคุณหายป่วยจากโรคนี้แล้ว มันจะมีผลข้างเคียงบางส่วนในตอนที่สุนัขตัวนี้เข้าสู่วัยชรา
  • มันจะทำให้สุนัขตัวนั้นมีอาการชักกระตุกที่บริเวณส่วนขา กับส่วนของกล้ามเนื้อขึ้นมาได้ เมื่อลูกสุนัขตัวนี้เข้าสู่วัยชรา
วิธีป้องกันโรคหัดในสุนัข

วิธีป้องกันโรคหัดในสุนัข

วิธีป้องกันโรคหัดในสุนัขที่ดีก็คือ การพาสุนัขของคุณในบ้านทุกตัว ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดสุนัขเมื่ออายุถึงกำหนด

หรือคุณสามารถพาลูกสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้ตั้งแต่ตอนที่สุนัขของคุณมีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป

และคุณต้องพาลูกสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนชนิดนี้ซ้ำอีกที เมื่อลูกสุนัขมีอายุครบ 4 กับ 6 เดือนอย่างละครั้ง

แต่ถ้าในกรณีที่สุนัขของคุณโตเป็นผู้ใหญ่แล้วให้คุณพาสุนัขของคุณไปฉีดวัคซีนชนิดนี้ปีละ 1 เข็มต่อปีก็เพียงพอแล้ว

แต่ในกรณีที่คุณไม่มั่นใจว่า สุนัขของคุณควรจะฉีดวัคซีนชนิดนี้ตอนไหนดี คุณก็สามารถโทรไปขอคำแนะนำจากทางสัตวแพทย์ได้ว่าสุนัขของคุณสามารถฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้แล้วหรือยัง