7 สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ

7 สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ

บทนำ

วิธีควบคุมน้ำหนักตัวของสุนัขที่ดีที่สุดคือ การควบคุมอาหาร พร้อมกับการให้สุนัขได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้สุนัขของคุณก็จะมีรูปร่างที่ดูสมส่วน พร้อมทั้งมีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว

แต่ก็จะมีบางสาเหตุเหมือนกัน ที่อยู่ดีๆ น้ำหนักตัวของสุนัขก็เพิ่มขึ้นโดยที่คุณไม่ทราบสาเหตุเหมือนกัน

โดยบทความนี้จะมาบอกว่านอกจากสาเหตุที่สุนัขทานอาหารมากเกินไปจนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้น้ำหนักตัวของสุนัขเพิ่มขึ้นได้อีกบ้าง

ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนกำลังสนใจเรื่องเหล่านี้อยู่ ก็สามารถมาตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

7 สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น

1. สุนัขกำลังตั้งท้องอยู่

เป็นเรื่องปกติทั่วไปเมื่อสุนัขตัวเมียตั้งท้อง น้ำหนักตัวของสุนัขก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คุณสามารถสังเกตได้ว่าสุนัขของคุณตั้งครรภ์หรือไม่

โดยให้คุณดูว่าท้องของสุนัขตัวเมียมีการขยายตัวใหญ่โต หรืออยู่ดีๆ พุงของสุนัขตัวเมียค่อยๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้น

ถ้าคุณพบว่าอยู่ดีๆ ท้องของสุนัขตัวเมียเกิดการขยายตัวใหญ่โต คุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพกับทางสัตวแพทย์ดู ไม่แน่สุนัขของคุณอาจจะกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็เป็นได้

2. มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องท้อง

มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องท้อง หรืออาการท้องมาน (ascites) ในสุนัข เป็นอาการที่มีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่ในช่องท้องของสุนัขเป็นจำนวนมาก จนทำให้ช่องท้องของสุนัขเกิดการขยายใหญ่ขึ้นมา

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการแบบนี้มักจะเกิดจาก

  • หลอดเลือดของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้น
  • โรคช่องท้องอักเสบติดต่อ (feline infectious peritonitis; FIP)

ดังนั้นถ้าสุนัขของคุณมีอาการท้องโตโดยที่คุณไม่ทราบสาเหตุ คุณควรพาสุนัขของคุณไปตรวจร่างกายกับทางสัตวแพทย์จะเป็นการดีกว่า

ผลข้างเคียงจากตัวยาทำให้สุนัขอ้วน

3. ตัวข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด

ตัวยาบางชนิดก็ทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มักจะเกิดจากการที่สุนัขจำเป็นต้องทานยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน

โดยทางสัตวแพทย์จะแจ้งให้คุณทราบก่อนว่า ตัวยาบางชนิดอาจจะมีผลต่อน้ำหนักตัวของสุนัขเมื่อสุนัขทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

แต่คุณไม่ต้องกังวลมากนักเพราะ ทางสัตวแพทย์จะแนะนำให้กับคุณเองว่าต้องทำอย่างไร สุนัขถึงจะมีน้ำหนักตัวอยู่ในระดับคงที่ ถ้าต้องทานยาชนิดนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

4. สุนัขป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับพยาธิบางชนิด

จะมีพยาธิบางชนิดที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อช่องท้องและลำไส้ของสุนัข ซึ่งเมื่อพยาธิเหล่านี้เข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายของสุนัขมากๆ เข้า

ก็จะทำให้สุนัขมีอาการท้องขยายตัวใหญ่จากการมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่ในช่องท้องเป็นจำนวนมาก

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคพยาธิมักจะเกิดกับสุนัขที่มีสุขภาพที่อ่อนแอ รวมถึงสุนัขที่มีภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีพออย่างเช่น ลูกสุนัข กับสุนัขวัยชรา เป็นต้น

สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้คุณสามารถทำได้โดยการ พาสุนัขของคุณไปตรวจหาพยาธิกับทางสัตวแพทย์

เมื่อพบว่าสุนัขของคุณป่วยเป็นโรคพยาธิชนิดไหน ทางสัตวแพทย์ก็จะให้ยาถ่ายพยาธิชนิดนั้นๆ มาให้สุนัขของคุณทาน เพื่อขับถ่ายพยาธิชนิดนั้น ออกมาจากร่างกายของสุนัข

โรคไฮโปไทรอยด์ทำให้สุนัขมีน้ำหนักเพิ่ม

5. สุนัขป่วยเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

โดยปกติแล้วต่อมไทรอยด์ของสุนัขจะมีหน้าที่คอยควบคุมระบบเผาพลาญในร่างกายของสุนัขให้อยู่ในระดับคงที่อยู่เสมอ

แต่เมื่อต่อมไทรอยด์ของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้น มันจะส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญของสุนัขมีความผิดปกติเกิดขึ้นมา ซึ่งมันจะทำให้น้ำหนักตัวของสุนัขค่อยๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ

และถึงแม้ว่าคุณจะจับสุนัขของคุณออกกำลังกาย รวมถึงจะควบคุมอาหารเพียงใดก็ตาม น้ำหนักตัวของสุนัขก็จะยังเพิ่มขึ้นอยู่ดี เพราะระบบเผาผลาญของสุนัขมีความผิดปกติไปแล้ว

สำหรับวิธีรักษานั้นคุณสามารถทำได้โดย การพาสุนัของคุณเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อดูว่าสาเหตุที่ทำให้สุนัขของคุณมีอาการน้ำหนักตัวเพิ่มนั้นเกิดจากสาเหตุใด

แต่เมื่อทางสัตวแพทย์ทราบแล้วว่า สุนัขของคุณป่วยเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ ก็จะทำการรักษาในขั้นตอนต่อๆ ไป

6. สุนัขป่วยเป็นโรคคุชชิ่ง (Cushing disease)

โรคคุชชิ่ง นั้นเป็นโรคที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการควบคุมโปรตีน คาร์โบไฮเดรต รวมถึงระบบเผาผลาญในร่างกายของสุนัข ให้มีความผิดปกติเกิดขึ้น

ซึ่งมันจะส่งผลทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้ โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขวัยชรา หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้โรคคุชชิ่งยังทำให้สุนัขมีอาการ

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีขนหลุดร่วงตามตัว
  • กระหายน้ำอย่างรุนแรง
  • มีความอยากอาหารมากขึ้นกว่าปกติ
  • ช่องท้องค่อยๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ

ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ ให้คุณรีบพาสุนัขของคุณเข้าพบกับทางสัตวแพทย์โดยทันที

โรคคุชชิ่งทำให้สุนัขมีน้ำหนักเพิ่ม

7. อาการท้องอืดในสุนัข

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการท้องอืดในสุนัข มักจะเกิดกับสุนัขที่มีนิสัยชอบทานอาหารอย่างรวดเร็ว หรือที่ภาษาชาวบ้านมักจะเรียกว่า การกินแบบตะกละ (wolfing down)

โดยคุณสามารถสังเกตได้ว่าสุนัขของคุณมีนิสัยชอบกินอาหารแบบตะกละหรือ โดยดูว่าในเวลาที่สุนัขของคุณกำลังกินอาหารอยู่นั้น

สุนัขของคุณมีนิสัยชอบกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยวเลยหรือเปล่า ถ้าคุณพบว่าสุนัขของคุณมีนิสัยชอบกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยวเลย ให้คุณรีบปรับนิสัยการกินอาหารของสุนัขโดยทันที

เพราะการทานอาหารโดยไม่เคี้ยวนั้น มันจะทำให้กระเพาะอาหารของสุนัขต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารของสุนัขเกิดการขยายและบิดตัวลง

ทางการแพทย์เรียกว่าอาการเหล่านี้ว่า “อาการท้องอืดในสุนัข” โดยปกติแล้วอาการท้องอืดในสุนัขไม่ได้เป็นอาการที่รุนแรงมากนัก

แต่ถ้าคุณปล่อยให้สุนัของคุณมีอาการท้องอืดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แล้วก็จะอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของสุนัข จนทำให้สุนัขของคุณมีอาการหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงมีอาการช็อกหมดสติ และเสียชีวิตลงได้ขอให้คุณระวังเรื่องเหล่านี้ เอาไว้ให้ดีๆ

อาการท้องอืดในสุนัขนอกจากนิสัยการกินของสุนัขแล้ว สุนัขบางสายพันธุ์ก็ยังมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงอย่างเช่น

  • สุนัขเกรตเดน (Great Dane)
  • เยอรมันเชเพิร์ด (German Shepherd)
  • พุดเดิ้ล สแตนดาร์ด (Standard Poodle)

ถ้าคุณเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้อยู่ ขอให้คุณระวังเรื่องเหล่านี้เอาไว้ให้ดีๆ